backup og meta

โอเมก้า 3 จากพืช ต่างจากโอเมก้า 3 จากปลาอย่างไร

โอเมก้า 3 จากพืช ต่างจากโอเมก้า 3 จากปลาอย่างไร

โอเมก้า 3 เป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย พบมากในสัตว์น้ำ เช่น แซลมอน ทูน่า แมกเคอเรล รวมถึงสัตว์น้ำอย่างปู กุ้ง และหอยชนิดต่าง ๆ นอกจากนั้น ยังมีโอเมก้า 3 จากพืช ที่พบได้ในชีวิตประจำวัน  เช่น ถั่วเหลือง เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดเจีย สาหร่าย

[embed-health-tool-bmi]

โอเมก้า 3 สำคัญอย่างไร

โอเมก้า 3 (Omega-3) เป็นกรดไขมันอิ่มตัวเชิงซ้อนชนิดหนึ่ง ซึ่งจำเป็นต่อการทำงานของร่างกาย แต่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ จึงต้องรับประทานอาหารหลาย ๆ ชนิดที่เป็นแหล่งโอเมก้า 3

ทั้งนี้ โอเมก้า 3 นั้นมีความสำคัญต่อร่างกายหลายประการ ดังนี้

  • เป็นองค์ประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์ทั่วทั้งร่างกาย
  • สัมพันธ์กับการสร้างฮอร์โมนเพื่อควบคุมการแข็งตัวของเลือด รวมถึงการหดหรือคลายตัวของผนังหลอดเลือดแดง
  • เป็นแหล่งพลังงานและช่วยให้หัวใจ ปอด และระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ตามปกติ
  • เป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างสมองและจอประสาทตาของทารกในครรภ์
  • ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • อาจช่วยควบคุมอาการของโรคลูปัส (Lupus) โรคผื่นผิวหนังอักเสบ หรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

โอเมก้า 3 จากพืช

เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่า อาหารที่เป็นแหล่งของโอเมก้า 3 คือปลาอย่างแซลมอน ทูน่า หรือแมกเคอเรล รวมถึงสัตว์น้ำอย่างปู กุ้ง และหอยชนิดต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม โอเมก้า 3 ยังพบหรือได้รับจากพืชบางชนิดด้วย เช่น

  • ถั่วเหลือง รวมถึงถั่วเหลืองอ่อนหรือเอดามาเมะ (Edamame)
  • เมล็ดเจีย
  • สาหร่ายทะเล
  • เมล็ดกัญชง
  • เมล็ดแฟลกซ์
  • วอลนัต หรือที่บางครั้งเรียกว่ามันฮ่อ

โอเมก้า 3 จากพืช ต่างจากที่ได้จากสัตว์หรือไม่

โอเมก้า 3 ที่พบในพืชแตกต่างจากที่พบในสัตว์ จะเป็นกรดอัลฟาไลโนเลนิก (Alpha-Linolenic Acid หรือ ALA) ส่วนโอเมก้า 3 ที่พบในสัตว์น้ำคือกรดโดโคซะเฮกซะอีโนอิก (Docosahexaenoic Acid หรือ DHA) และกรดอีโคซะเพนตะอีโนอิก (Eicosapentaenoic Acid หรือ EPA)

อย่างไรก็ตาม หลังบริโภคเข้าสู่ร่างกาย กรดอัลฟาไลโนเลนิกจะเปลี่ยนเป็นกรดโดโคซะเฮกซะอีโนอิกและกรดอีโคซะเพนตะอีโนอิก ดังนั้น ผู้ที่รับประทานอาหารมังสวิรัติหรือเป็นวีแกน จึงยังคงได้รับสารอาหารโอเมก้า 3 เช่นเดียวกันกับผู้ที่รับประทานเนื้อปลา

รับประทานแต่พืช จะได้รับโอเมก้า 3 เพียงพอไหม

การบริโภคแต่พืชทำให้ร่างกายยังคงได้รับโอเกม้า 3 เพียงพอ แต่อาจทำให้ได้รับสารอาหารอื่น ๆ ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงควรบริโภคด้วยความระมัดระวัง

นักวิจัยได้ศึกษาระดับโอเมก้า 3 ในเลือดของอาสาสมัครในหลาย ๆ กลุ่มที่รับประทานอาหารแตกต่างกัน ได้แก่ กลุ่มที่รับประทานปลา กลุ่มที่ไม่รับประทานปลา  กลุ่มที่รับประทานเนื้อ กลุ่มที่รับประทานมังสวิรัติ และกลุ่มที่เป็นวีแกน

ผลการวิจัยพบว่า ระดับโอเมก้า 3 ในร่างกายของกลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่มนั้น มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย โดยนักวิจัยอธิบายว่าอาจเป็นเพราะกลุ่มที่ไม่บริโภคปลาอาจบริโภคอาหารชนิดอื่นที่เป็นกรดอัลฟาไลโนเลนิกในปริมาณมาก และกรดไขมันดังกล่าวเมื่อรับประทานสู่ร่างกายจึงเปลี่ยนเป็นโอเมก้า 3

ร่างกายขาดแคลนโอเมก้า 3 เป็นไปได้หรือไม่

แม้โอเมก้า 3 จะพบได้ในอาหารหลาย ๆ ชนิด แต่หากไม่บริโภคอาหารที่มีโอเมก้า 3 เลยเป็นเวลานาน อาจทำให้ร่างกายขาดแคลนโอเมก้า 3 ได้

หากร่างกายขาดแคลนโอเมก้า 3 จะส่งผลต่อร่างกาย ดังนี้

  • อ่อนเพลีย
  • ความทรงจำแย่ลง
  • ผิวแห้ง
  • มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพหัวใจ
  • อารมณ์แปรปรวนหรือซึมเศร้า
  • เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี

ทั้งนี้ ในแต่ละช่วงอายุ ร่างกายควรได้รับโอเมก้า 3 จากพืชในแต่ละวัน ในปริมาณดังต่อไปนี้

  • อายุ 0-12 เดือน ควรได้รับโอเมก้า 3 วันละ 5 กรัม
  • อายุ 1-3 ปี ควรได้รับโอเมก้า 3 วันละ 7 กรัม
  • อายุ 4-8 ปี ควรได้รับโอเมก้า 3 วันละ 9 กรัม
  • อายุ 9-13 ปี ควรได้รับโอเมก้า 3 วันละ 2 กรัมสำหรับผู้ชายและ 1.0 กรัมสำหรับผู้หญิง
  • อายุ 14 ปี ขึ้นไป ควรได้รับโอเมก้า 3 วันละ 6 กรัมสำหรับผู้ชายและ 1.1 กรัมสำหรับผู้หญิง

นอกจากนี้ หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร ควรได้รับโอเมก้า 3 จากพืช 1.4 และ 1.3 กรัม/วัน ตามลำดับ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Omega-3 Fatty Acids and Plant-Based Diets. https://www.pcrm.org/good-nutrition/nutrition-information/omega-3#:~:text=Omega%2D3%20fatty%20acids%20are%20readily%20available%20in%20a%20wide,beans%20also%20contain%20small%20amounts. Accessed January 24, 2023

Omega-3 Fatty Acids: An Essential Contribution. https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/what-should-you-eat/fats-and-cholesterol/types-of-fat/omega-3-fats/#:~:text=Omega%2D3%20fats%20are%20a,sometimes%20called%20marine%20omega%2D3s. Accessed January 24, 2023

The Facts on Omega-3 Fatty Acids. https://www.webmd.com/healthy-aging/omega-3-fatty-acids-fact-sheet. Accessed January 24, 2023

Potential Health Benefits of Plant vs. Marine Omega-3 Fatty Acids. https://med.stanford.edu/nutrition/research/completed-studies/plant-vs-marine-omega-3s.html. Accessed January 24, 2023

Omega-3 fatty acids. https://www.mountsinai.org/health-library/supplement/omega-3-fatty-acids. Accessed January 24, 2023

Dietary intake and status of n-3 polyunsaturated fatty acids in a population of fish-eating and non-fish-eating meat-eaters, vegetarians, and vegans and the product-precursor ratio [corrected] of α-linolenic acid to long-chain n-3 polyunsaturated fatty acids: results from the EPIC-Norfolk cohort. https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20861171/. Accessed January 24, 2023

 

https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20861171/

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/02/2023

เขียนโดย Duangkamon Junnet

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

รวมสุดยอด แหล่งของโอเมก้า 3 จากพืช สำหรับผู้ที่กินมังสวิรัติ แต่ไม่อยากขาดสารอาหาร

กินโอเมก้า 3 มากเกินไป แทนที่จะดีต่อใจ แต่กลับนำภัยร้ายมาสู่ร่างกาย


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย Duangkamon Junnet · แก้ไขล่าสุด 27/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา