สมอง เป็นอวัยวะสำคัญที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของส่วนต่าง ๆ ในร่างกาย รวมไปถึง กระบวนการคิดและกักเก็บความทรงจำ การดูแลสมองให้สมบูรณ์แข็งแรงจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ
“คาร์โนซีน” (Carnosine) เป็นหนึ่งในสารอาหารสำคัญที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ชะลอการเสื่อมของเซลล์ เพิ่มประสิทธิภาพในการคิดวิเคราะห์ รวมถึงยังช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
คาร์โนซีนคืออะไร?
คาร์โนซีน (Carnosine) คือโปรตีนไดเปบไทด์ขนาดเล็ก (Dipeptide) ที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ ขึ้นได้เองตามธรรมชาติ จากกรดอะมิโนจำเป็น 2 ชนิด คือ อะลานีน (Alanine) และฮีสทิดีน (Histidine) และสามารถพบเป็นองค์ประกอบในเนื้อเยื่อหลายชนิด เช่น สมอง หัวใจ กล้ามเนื้อ
โดยสามารถแบ่งคาร์โนซีนออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
- คาร์โนซีนที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นได้เอง
- คาร์โนซีนที่ได้รับเข้าสู่ร่างกายผ่านทางการรับประทาน
อย่างไรก็ตาม ปริมาณของคาร์โนซีนที่พบได้ในร่างกายนั้นจะลดลงเรื่อย ๆ ตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การจะได้รับคาร์โนซีนเข้าสู่ร่างกายจึงเป็นในรูปแบบของการรับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์เท่านั้น รวมไปถึงการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสารสกัดคาร์โนซีนโดยเฉพาะ
คาร์โนซีนพบได้ในไหนบ้าง
คาร์โนซีน (Carnosine) สามารถพบได้ในองค์ประกอบของส่วนต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ เช่น กระเพาะ ไต สมอง หัวใจ และกล้ามเนื้อ โดยกล้ามเนื้อลายและสมองจะเป็นส่วนที่พบคาร์โนซีนได้มากที่สุด
รวมไปถึงคาร์โนซีนที่ได้จากอาหารจำพวกโปรตีนที่เป็นเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อสัตว์ปีก และปลาบางชนิด ซึ่งคาร์โนซีนไม่สามารถพบได้ในอาหารประเภทพืชและผักต่าง ๆ และยังสามารถพบคาร์โนซีนในรูปแบบเข้มเข้นจากอาหาร ที่ผ่านการตุ๋นหรือสกัดมากจากเนื้อสัตว์ เช่น ซุปไก่สกัด เนื่องจากความร้อนและความดัน ช่วยดึงคาร์โนซีนออกมาได้เยอะกว่าและดูดซึมไปใช้ได้เร็วขึ้น และพบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้อีกด้วย
ประโยชน์ของคาร์โนซีน
-
ทำให้มีสมาธิ
คาร์โนซีน มีสรรพคุณเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ รวมไปถึงเซลล์สมอง จึงอาจช่วยทำให้สมองมีการทำงานที่ดีขึ้น เพิ่มสมาธิและการจดจ่อ ทำให้สนใจในสิ่งนั้น ๆ ได้นานยิ่งขึ้น และอาจช่วยทำให้ประสิทธิภาพในการทำงาน โดยรวมของสมองเพิ่มมากขึ้น
-
เพิ่มความจำระยะยาว
การบริโภคคาร์โนซีนในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอ อาจช่วยบำรุงสมอง เพิ่มความจำระยะยาว และอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้
จากงานวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่าง ซีรั่ม β-Alanine และความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม ที่ตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Epidemiology เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562 พบว่า ระดับของซีรั่ม β-alanine ที่เพิ่มสูงขึ้นมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับความเสี่ยงที่ลดลงของภาวะสมอง เสื่อมทุกสาเหตุและโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งการบริโภคคาร์โนซีนอาจช่วยเพิ่มระดับของซีรั่ม β-alanine ได้ ดังนั้น การบริโภคคาร์โนซีนจึงอาจมีประโยชน์ต่อการป้องกันภาวะสมองเสื่อม
-
เพิ่มความสามารถในการคิดวิเคราะห์
การรับประทานคาร์โนซีนอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองส่วนหน้า ที่มีความเกี่ยวข้องกับการควบคุมและสั่งการกระบวนการทางความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม ส่งผลให้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
การรับประทานคาร์โนซีนอย่างต่อเนื่อง
การรับประทานคาร์โนซีนอย่างต่อเนื่องในปริมาณที่เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย อาจช่วยบำรุงสมองและระบบประสาท ซึ่งอาจส่งผลให้การทำงานของสมองเต็มประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย
จากงานวิจัยเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการรับประทานคาร์โนซีนในการลดการอักเสบในเซลล์เม็ดเลือดขาว peripheral blood mononuclear cells ในผู้สูงอายุ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nutrients เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งทำการทดลองในกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดี 60 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ให้กลุ่มหนึ่งรับประทานอาหารเสริมคาร์โนซีน ขนาด 1 กรัม เป็นเวลา 3 เดือนติดต่อกัน และอีกกลุ่มให้ยาหลอก พบว่า ในกลุ่มที่รับประทานอาหารเสริมคาร์โนซีน เซลล์เม็ดเลือดขาว peripheral blood mononuclear cells มีการอักเสบลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไป นั่นหมายความว่า การรับประทานคาร์โนซีนอาจมีส่วนช่วยในการคงรักษาความจำอาศัย เหตุการณ์ในผู้สูงอายุได้นั่นเอง
ช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการรับประทานคาร์โนซีน
ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการรับประทานคาร์โนซีน คือช่วงเวลาที่ร่างกายมีการเคลื่อนไหว ทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งโดยปกติคือในช่วงเวลาเช้า โดยเฉพาะเมื่อเพิ่งตื่นนอน การรับประทานคาร์โนซีนใน ช่วงนี้อาจจะทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมคาร์โนซีนได้เร็วและดีกว่าช่วงเวลาอื่นที่ไม่ค่อยมีการเคลื่อนไหว
อย่างไรก็ตาม ปริมาณของคาร์โนซีนที่ร่างกายต้องการอาจแตกต่างกันออกไปโดยขึ้น อยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น อายุ สุขภาพ ดังนั้น จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอเพื่อให้มั่นใจว่าจะ ได้รับคาร์โนซีนในปริมาณที่เหมาะสม โดยเฉพาะหากต้องการรับประทานคาร์โนซีน ในรูปแบบผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
[embed-health-tool-bmr]