โรคบาดทะยัก จัดเป็นอีกโรคหนึ่ง ที่คนทั้งในอดีตและปัจจุบันยังไม่ค่อยรู้จักดีนัก เราจึงอยากชวนคุณมาทำความรู้จักกับโรคบาดทะยัก เพื่อให้คุณทราบข้อมูลเบื้องต้นว่าโรคบาดทะยักมีอาการและสาเหตุอย่างไรบ้าง เพื่อคุณจะได้รับมือกับบาดทะยัก ได้ทันท่วงที
โรคบาดทะยัก คืออะไร
โรคบาดทะยัก (Tetanus) คือ การติดเชื้อซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า คลอสตริเดียมทีตานี (Clostridium tetani) เมื่อเชื้อนี้แทรกซึมเข้าสู่ร่างกาย แบคทีเรียนี้จะสร้างสารพิษที่รุนแรงเรียกว่า เตตาโนสะปาสมิน (Tetanospasmin) ซึ่งจะไปทำลายเส้นประสาทที่ทำหน้าที่ในการควบคุมกล้ามเนื้อ หรือที่เรียกว่าเซลล์ประสาทสั่งการ (motor neurons) จนเสียหาย
อาการของโรคบาดทะยัก
หลังจากที่เชื้อแบคทีเรียบาดทะยักเข้าสู่ร่างกายผ่านบาดแผลลึก อาจต้องใช้เวลาไม่กี่วันจนถึงหลายสัปดาห์ กว่าสัญญาณและอาการของโรคบาดทะยักจะแสดงออกมา ซึ่งระยะฟักตัวของการติดเชื้อโดยเฉลี่ย คือ 7 ถึง 10 วัน
สัญญาณและอาการที่พบได้บ่อยของโรคบาดทะยัก ก็คือ อาการชักกระตุกและแข็งเกร็งที่อวัยวะหลายส่วน นอกจากนี้ โรคบาดทะยักยังสามารถทำให้เป็นไข้ เหงื่อออก ความดันโลหิตเพิ่มสูง และเร่งอัตราการเต้นของหัวใจได้
ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด
หากคุณมีบาดแผลลึกหรือสกปรก ควรรีบไปพบคุณหมอ เพื่อเข้ารับการรักษาและฉีดวัคซีนกระตุ้นภูมิคุ้มกันบาดทะยัก หากคุณยังไม่ได้ฉีดวัคซีนบาดทะยักภายใน 5 ปี หรือจำไม่ได้ว่าเคยฉีดกระตุ้นบาดทะยักไปแล้วหรือยัง ควรฉีดใหม่อีกครั้งในทันที
สาเหตุของโรคบาดทะยัก
เชื้อคลอสตริเดียมทีตานีหรือที่รู้จักกันว่า สปอร์ของแบคทีเรีย คือ สาเหตุของบาดทะยัก สามารถพบได้ในฝุ่นละออง ดิน และมูลสัตว์ หากคุณบาดเจ็บ และมีบาดแผลลึก เชื้อบาดทะยักจะสร้างพิษเตตาโนสะปาสมินและทำลายเซลล์ประสาทสั่งการ หลังจากนั้นกล้ามเนื้อของคุณจะเริ่มรู้สึกแข็ง และชักกระตุก ซึ่งเป็นสัญญาณที่สำคัญของบาดทะยัก
คนส่วนใหญ่ที่เป็นบาดทะยัก คือ คนที่ไม่เคยได้รับวัคซีนบาดทะยัก หรือไม่ได้รับการฉีดกระตุ้นภุมิคุ้มกันบาดทะยักในรอบ 10 ปี อย่างไรก็ตาม บาดทะยักไม่ใช่โรคระบาด คุณจึงไม่ติดโรคนี้จากผู้ป่วย
อาการแทรกซ้อน
เมื่อพิษจากเชื้อบาดทะยักไปผูกติดกับปลายประสาทแล้ว ก็ไม่มีทางที่เราจะกำจัดเชื้อบาดทะยักออกไปได้ ร่างกายจะสามารถฟื้นตัวจากการติดเชื้อบาดทะยักได้เต็มที่ ก็ต่อเมื่อปลายประสาทใหม่เกิดและเจริญเติบโต ซึ่งอาจต้องใช้เวลานานหลายเดือน
อาการแทรกซ้อนที่มาจากบาดทะยัก มีดังนี้
- กระดูกหัก ยิ่งคุณมีอาการชักกระตุกรุนแรงมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเสี่ยงเกิดอาการกระดูกสันหลัง หรือกระดูกส่วนอื่นๆ หักได้มากขึ้นเท่านั้น
- การอุดตันของหลอดเลือดแดงในปอด หรือที่รู้จักกันว่าโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary Embolism) จากลิ่มเลือดที่มาจากบริเวณอื่นในร่างกาย
- การเหนี่ยวนำบาดทะยักขั้นรุนแรง หรือกล้ามเนื้อหดรัดตัวไม่คลาย (tetanic) อาการกล้ามเนื้อกระตุก อาจทำให้คุณหายใจได้ลำบากขึ้น และทำให้เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น จนอาจนำไปสู่ภาวะขาดออกซิเจน ซึ่งเป็นสาเหตุการตายที่พบได้บ่อย นอกจากนี้ ยังอาจทำให้เสียชีวิตด้วยโรคปอดบวม (pneumonia) ได้อีกด้วย
หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำความเข้าใจให้ดีขึ้น ถึงทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณในการช่วยดูแลรักษาอย่างถูกต้อง
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด