โรคซาร์ส (SARS) หรือ โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (Severe Acute Respiratory Syndrome) เป็นรูปแบบหนึ่งของปอดบวม โรคนี้เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศจีน เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2002 แม้ว่าผู้ที่ติดเชื้อ 9 ใน 10 คน หายจากโรค ในปัจจุบัน ยังไม่มีการรักษาโรคซาร์สให้หายขาด แต่หากไม่เข้ารับการรักษาโดยคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเพื่อประคองอาการให้ดีขึ้นอาจทำให้เสียชีวิตได้
[embed-health-tool-heart-rate]
คำจำกัดความ
โรคซาร์สคืออะไร
โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง (Severe Acute Respiratory Syndrome) หรือโรคซาร์ส (SARS) เป็นรูปแบบหนึ่งของปอดบวม โรคนี้เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศจีน เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2002 ภายในเวลาไม่กี่เดือน นักท่องเที่ยวและชาวจีนที่เดินทางไปต่างประเทศทำให้เกิดการระบาดของโรคใน 29 ประเทศทั่วโลก
แม้ว่าผู้ที่ติดเชื้อ 9 ใน 10 คน หายจากโรค แต่หากผู้ป่วยไม่เข้ารับการรักษา ผู้ป่วยสามารถเสียชีวิตได้ ดังนั้น ภาคส่วนที่มีอำนาจเร่งประชาสัมพันธ์สัญญาณของโรค วิธีการวินิจฉัย และแนะนำให้แยกผู้ป่วยออกมาเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค
ในเดือนกรกฎาคม ปี 2003 การระบาดของโรคซาร์สหยุดลง และไม่มีรายงานการเติดเชื้อโรคอีกตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา
โรคซาร์สพบบ่อยแค่ไหน
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเป็นผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี หากป่วยเป็นโรคเรื้อรังเช่น เบาหวาน โรคหัวใจ หรือระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง และโรคซาร์ส มีความเสี่ยงในการเสียชีวิตอยู่ในอัตราที่สูง
อาการ
อาการของโรคซาร์ส
สัญญาณเบื้องต้นของโรคซาร์สได้แก่ ไข้หวัด ไข้สูง 38 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า ตามด้วยอาการหนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหัว ไอแห้ง และอ่อนเพลีย
อาการที่รุนแรงกว่าประกอบด้วย ปวดบวมรุนแรง และระดับออกซิเจนในเลือดต่ำลง (เลือดขาดออกซิเจน)
อาจมีอาการอื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับอาการของโรค ควรติดต่อแพทย์
ควรพบหมอเมื่อใด
หากพบว่ามีอาการของโรคซาร์ส เช่น มีไข้สูง ปวดกล้ามเนื้อและไอ ควรเข้ารับการดูแลทันที หรือหากเป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตต่ำหรือเบาหวาน และเกิดอาการโรคซาร์ส ควรเข้ารับการรักษาฉุกเฉินเพื่อไม่ให้อาการกำเริบ ทั้งนี้ ร่างกายของแต่ละคนแสดงอาการได้แตกต่างกัน ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อประเมินและวินิจฉัยการรักษาที่เหมาะสมแก่สุขภาพ
สาเหตุ
สาเหตุของโรคซาร์ส
สาเหตุของโรคซาร์สคือเชื้อไวรัสโคโรนาซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกับที่ทำให้เป็นไข้หวัด ค้างคาวและสัตว์สายพันธุ์ชะมดเชื่อว่าเป็นตัวการในการแพร่เชื้อไวรัสผ่านระบบทางเดินหายใจ
คนส่วนใหญ่ติดเชื้อซาร์สหากสัมผัสเชื้อโดยตรง เช่น จับของที่เปื้อนน้ำลาย น้ำตา ปัสสาวะ และอุจจาระของผู้ป่วยโรคซาร์ส การกอด จูบหรือการรับประทานอาหารร่วมกับผู้ป่วย การจับสิ่งของต่างๆ เช่น ลูกบิดประตู โทรศัพท์ และปุ่มในลิฟต์ที่มีเชื้อซาร์ส อาจะทำให้เกิดการแพร่เชื้อได้
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคซาร์ส
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคซาร์ส มีดังนี้
- อยู่ร่วมกับคนหรือสัตว์ที่มีเชื้อไวรัสโคโรนา
- เดินทางไปยังพื้นที่หรือประเทศที่มีการระบาดของโรค
- ไม่ล้างมือก่อนและหลังรับประทานอาหาร อาหารไม่สะอาด
การวินิจฉัยและการรักษาโรค
ข้อมูลเหล่านี้ไม่สามารถแทนคำปรึกษาทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
การวินิจฉัยโรคซาร์ส
คุณหมอจะวินิจฉัยโรคซาร์ส และซักถามสาเหตุของการติดเชื้อ เช่น สถานที่ที่เคยเดินทางไป หรือบุคคลที่ใช้ชีวิตอยู่ด้วย
การตรวจเลือดและอุจจาระเป็นวิธีการในการตรวจดูว่า เลือดและอุจจาระมีเชื้อไวรัสโคโรนา หรือแอนติเจนท์ที่ต่อต้านเชื้อไวรัสอยู่หรือไม่
การถ่ายภาพรังสีและการเอกซเรย์ (CT) เป็นวิธีที่จำเป็น หากแพทย์สงสัยว่าเชื้อซาร์สลุกลามทำให้เกิดปัญหาที่หลอดลมและปอดบวม
การรักษาโรคซาร์ส
ในปัจจุบัน ยังไม่มีการรักษาโรคซาร์สให้หายขาด หากเป็นโรคซาร์ส คุณหมอจะสั่งยารวมถึงการรักษาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การใช้เครื่องช่วยหายใจ ออกซิเจน นักกายภาพบำบัด ยาปฏิชีวนะและยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการเกิดโรคอื่น ๆ ยาต้านไวรัสไม่สามารถรักษาโรคซาร์สได้ แต่ป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าสู่ร่างกาย หากมีอาการปอดบวม หมออาจสั่งยาสเตียรอยด์ต้านการติดเชื้อเพิ่มเติม
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง
การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือการเยียวยาตนเองที่ช่วยจัดการกับโรคซารส์
ในปัจจุบัน ยังไม่มีการรักษาโรคซาร์สให้หายขาด หากเป็นโรคซาร์ส คุณหมอจะสั่งยารวมถึงการรักษาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การใช้เครื่องช่วยหายใจ ออกซิเจน นักกายภาพบำบัด ยาปฏิชีวนะและยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการเกิดโรคอื่นๆ ยาต้านไวรัสไม่สามารถรักษาโรคซาร์สได้ แต่ป้องกันไม่ให้เชื้อเข้าสู่ร่างกาย หากคุณมีอาการปอดบวม หมออาจสั่งยาสเตียรอยด์ต้านการติดเชื้อเพิ่มเติม
หากมีคำถาม ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อทำความเข้าใจและหาวิธีการักษาที่ดีที่สุด