backup og meta

หลีกเลี่ยงการติดเชื้อในโรงพยาบาล ด้วยแนวทางปฏิบัติเหล่านี้

หลีกเลี่ยงการติดเชื้อในโรงพยาบาล ด้วยแนวทางปฏิบัติเหล่านี้

หลายคนได้รับการช่วยเหลือจากโรงพยาบาล แต่หลายคนก็ยังมีความกังวลว่าโรงพยาบาลก็อาจทำให้ป่วยจากการติดเชื้อโรคในโรงพยาบาลได้เช่นกัน ดังนั้น ควรจะต้องทำอย่างไร เพื่อ หลีกเลี่ยงการติดเชื้อในโรงพยาบาล ได้บ้าง เพื่อเวลาไปโรงพยายามแล้วจะได้ไม่ต้องรับโรคต่าง ๆ ที่อาจแพร่กระจายอยู่ ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน

วิธี หลีกเลี่ยงการติดเชื้อในโรงพยาบาล

การติดเชื้อในโรงพยาบาลนั้นเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน แต่ไม่เคยได้รับการแก้ไข จนกระทั่งเมื่อ 30 ปีก่อน ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศแรกที่มีการจัดกิจกรรมควบคุมโรคอย่างจริงจัง และเป็นประเทศที่มีประสบการณ์ในการควบคุมโรคติดเชื้อมากที่สุด ซึ่งวิธีหลีกเลี่ยงการติดเชื้อในโรงพยาบาล สามารถทำได้ดังนี้

ล้างมือ

การล้างมือด้วยสบู่ น้ำ หรือเจลทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์อย่างน้อย 60 เปอร์เซ็นต์ สามารถช่วยลดการแพร่กระจาย หรือการติดเชื้อ ซึ่งควรล้างมือทั้งก่อนและหลังที่พบผู้ป่วย การล้างมือถือเป็นวิธีหลีกเลี่ยงการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่ง่ายมาก แต่ก็เป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนลืมง่ายเช่นกัน

อย่าสัมผัสใบหน้าของคุณ

รู้หรือไม่ว่าคนเรานั้นสัมผัสใบหน้าของเราบ่อยมาก อาจจะ 15 ครั้งต่อชั่วโมง ซึ่งการสัมผัสใบหน้านั้นสามารถแพร่กระจายเชื้อโรคจากมือเราไปยังจมูก ปาก และทางเดินทายใจ ซึ่งทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงไปจนถึงหวัด

การฉีดวัคซีน

ผู้ป่วยที่เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลก็ด้วยเหตุผลว่า ระบบภูมิคุ้มกันอาจไม่สามารถรับมือกับการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ บางครั้งสิ่งที่สัมผัสอาจเป็นแหล่งที่มาของการเป็นไข้หวัด ซึ่งระบบภูมิคุ้มกัน ณ ตอนนั้นอาจไม่สามารถต่อสู้ได้ บางครั้งเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าที่ในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วย ก็อาจเป็นผู้แพร่กระจายการติดเชื้อไวรัสให้กับผู้ป่วยเสียเอง ดังนั้น การฉีดวัคซีนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพื่อป้องกันผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

หากป่วยควรอยู่บ้าน

หลีกเลี่ยงการไปเยี่ยมผู้ป่วยหากตัวคุณเองก็กำลังป่วยอยู่ หากรู้สึกว่าจะจามควรใช้ทิชชู่หรือแขนเสื้อด้านบนในการปิดจมูกและปาก นอกจากนั้น พยายามอย่าสัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ ที่อาจทำให้คุณติดเชื้อได้

หลีกเลี่ยงการติดเชื้อในโรงพยาบาล สำหรับบุคคลทั่วไปและบุคลากรทางการแพทย์

ในประเทศไทยนั้น ทางสถาบันบำราศนราดูร ได้จัดทำคู่มือปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลเอาไว้ เพื่อเป็นแนวทางในปฏิบัติ ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้

การเฝ้าระวังการติดเชื้อในโรงพยาบาล

  • สำรวจว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ โดยใช้ข้อมูลต่อไปนี้
    • ไข้ (อุณหภูมิร่างกาย 38 องศาเซลเซียส หรือมากกว่า)
    • อาการอื่น ๆ เช่น ไอ อุจจาระร่วง มีหนองไหล เป็นต้น
    • การติดเชื้อในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี ประกอบด้วย ไข้ (อุณหภูมิร่างกายวัดทางทวารหนัก 38 องศาเซลเซียส หรือสูงกว่า) หรือตัวเย็น (อุณหภูมิร่างกายวัดทางทวารหนักต่ำกว่า 37 องศาเซลเซียส) หยุดหายใจ หัวใจเต้นช้า ซึม อาเจียน เป็นต้น
    • เม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติ
    • ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการอื่น ๆ เช่น การย้อมเชื้อ การเพาะเชื้อ ภาพถ่ายรังสี อัลตราซาวด์การตรวจทางวิทยาอิมมูน เป็นต้น
  • ถ้ามีการติดเชื้อ เป็นการติดเชื้อที่อวัยวะใดและเชื้อก่อโรคเป็นเชื้ออะไร
  • จากการติดเชื้อที่อวัยวะใดและเชื้อก่อโรคเป็นเชื้ออะไร จะทำให้ทราบระยะฟักตัวของการติดเชื้อนั้น ๆ ถ้าผู้ป่วยมีอาการภายในระยะฟักตัวของการติดเชื้อ (ระยะเวลาตั้งแต่เข้าโรงพยาบาลจนถึงมีอาการ) ให้ถือว่าเป็นการติดเชื้อนอกโรงพยาบาล ถ้าพ้นระยะนี้แล้วอาจะเป็นการติดเชื้อในโรงพยาบาล ซึ่งกรณีที่โรงพยาบาลรับย้ายผู้ป่วยจากโรงพยาบาลอื่น ให้ใช้เกณฑ์ในการวินิจฉัยเช่นเดียวกัน

คำแนะนำทั่วไปสำหรับการวินิจฉัยการติดเชื้อในโรงพยาบาล

  • อาศัยเกณฑ์หรือคำจำกัดความของการติดเชื้อแต่ละอวัยวะของร่างกาย
  • ในกรณีที่มีข้อมูลจำกัดหรือมีความสงสัยว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ แพทย์ผู้รักษาจะเป็นผู้ให้ความเห็น เพื่อเป็นการชี้ขาดว่ามีการติดเชื้อหรือไม่ เนื่องจากบางกรณีไม่มีข้อมูลอื่นพิสูจน์ได้ นอกจากแพทย์ผู้ให้การรักษา เช่น ผ่าตัดพบหนอง หรือฝีในช่องท้อง เป็นต้น
  • การแปลผลเชื้อที่ตรวจพบว่าเป็นเชื้อก่อโรคจริงหรือไม่ ซึ่งต้องอาศัยความรู้เรื่องเชื้อประจำถิ่น การปนเปื้อนเชื้อ เชื้อก่อโรคในอวัยวะต่าง ๆ ว่า พบเชื้ออะไรเป็นส่วนใหญ่ ถ้ามีข้อสงสัยให้ซักถามแพทย์หรือห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาว่า เชื้อที่พบนั้นเป็นเชื้อก่อโรคหรือเป็นเชื้อที่ปนเปื้อน

วิธีการควบคุมการระบาดของการติดเชื้อในโรงพยาบาล

  • แยกผู้ป่วย
  • ให้การรักษา
  • ตรวจสอบและจัดการปัจจัยที่เป็นแหล่งของเชื้อ
  • ให้แนวทางปฏิบัติแก่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อควบคุมการระบาดและป้องกันการเกิดซ้ำ

ข้อปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาดมือ

  • การล้างมือด้วยน้ำกับสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ เมื่อมือเปื้อนสิ่งสกปรกที่เห็นได้อย่างชัดเจน
  • การถูมือด้วยแอลกอฮอล์ เนื่องจากการล้างมือด้วยน้ำ อาจทำให้บุคลากรทางสุขภาพต้องเสียเวลาในการทำงานไปกับการทำความสะอาดมือ
  • การใส่ถุงมือของบุคลากรสุขภาพช่วยลดการปนเปื้อนเชื้อจุลชีพจากผู้ป่วยได้ นอกจากนี้ถุงมือยังป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจุลชีพประจำถิ่นบนมือของบุคลากรสุขภาพไปสู่ผู้ป่วย และลดการปนเปื้อนเชื้อจากผู้ป่วยรายหนึ่งแพร่กระจายไปยังผู้ป่วยอีกรายหนึ่ง
  • การใส่แหวนขณะปฏิบัติงาน ทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อจุลชีพบนมือมากขึ้นและล้างออกไม่หมด นอกจากนี้ยังอาจทำให้ถุงมือรั่วและฉีกขาดได้ง่ายขึ้น
  • เล็บที่ยาวเป็นแหล่งสะสมสิ่งสกปรกและเชื้อจุลชีพ การลอกของสีทาเล็บจะทำให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อจุลชีพ นอกจากนี้การต่อเล็บปลอมยังพบว่า ทำให้มีเชื้อจุลชีพปนเปื้อนมากกว่าเล็บธรรมชาติ ทั้งยังทำให้บุคลากรล้างมือน้อยลงและทำให้ถุงมือขาดได้ง่าย
  • ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการทำความสะอาดมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ อาจส่งผลให้ไขมันในผิวหนังลดลง ทั้งยังทำให้ผิวแห้ง และอักเสบ ดังนั้น บุคลากรที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดผิวหนังแห้ง ควรทาโลชั่นเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง

ข้อแนะนำทั้งหมดที่กล่าวมานั้น เป็นข้อปฏิบัติที่จะทำให้คุณ และบุคลากรทางการแพทย์ สามารถหลีกเลี่ยงการติดเชื้อในโรงพยาบาลได้ ทั้งยังปกป้องคนรอบตัวที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ไม่ให้ได้รับการแพร่กระจายของการติดเชื้อในโรงพยาบาลอีกด้วย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Tips to Avoid Hospital Infections. https://www.verywellhealth.com/how-to-stay-safe-in-the-hospital-1958881. Accessed December 03, 2020

CDC Telebriefing – New Vital Signs Report: How can we prevent norovirus outbreaks from contaminated food?. https://www.cdc.gov/media/releases/2014/t0603-norovirus.html. Accessed December 03, 2020

Face touching: A frequent habit that has implications for hand hygiene. https://www.ajicjournal.org/article/S0196-6553(14)01281-4/fulltext. Accessed December 03, 2020

Recommended Vaccines for Healthcare Workers. https://www.cdc.gov/vaccines/adults/rec-vac/hcw.html.

Improving Antibiotic Prescribing in Hospitals Can Make Health Care Safer. https://www.cdc.gov/media/releases/2014/p0304-poor-antibiotic-prescribing.html. Accessed December 03, 2020

คู่มือปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. http://bamras.ddc.moph.go.th/userfiles/1(81).pdf. Accessed December 03, 2020

คู่มือปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล. http://bamras.ddc.moph.go.th/userfiles/4(23).pdf. Accessed December 03, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/12/2020

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ความแตกต่างและข้อควรรู้เกี่ยวกับ การติดเชื้อไวรัส กับ การติดเชื้อแบคทีเรีย

ขอบเล็บอักเสบ ประเภท อาการ และการรักษา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 09/12/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา