backup og meta

ไวรัสซิก้า อาการ และการป้องกัน

ไวรัสซิก้า อาการ และการป้องกัน

ไวรัสซิก้า (Zika Virus) คือเชื้อไวรัสที่สามารถเข้าสู่ร่างกายของคนได้ผ่านทางยุงที่เป็นพาหะนำเชื้อโรค ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสซิก้าอาจมีอาการต่าง ๆ เช่น มีไข้ ผื่น ตาแดง ปวดหัว นอกจากนี้ หากหญิงตั้งครรภ์ติดไวรัสซิก้า อาจส่งผลที่อันตรายต่อทารกในครรภ์ และอาจทำให้ทารกในครรภ์พิการแต่กำเนิดหรือเสียชีวิตได้อีกด้วย

[embed-health-tool-vaccination-tool]

ไวรัสซิก้า คืออะไร

ไวรัสซิก้า สามารถติดต่อเข้าสู่ร่างกายของคนเป็นหลัก หลังจากถูกยุงลายที่ติดเชื้อกัด ซึ่งยุงลายชนิดหลัก ๆ คือ ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) ในพื้นที่เขตร้อน เพราะยุงลายจะชุกชุมมากที่สุดในช่วงเวลากลางวัน ยุงชนิดนี้เป็นชนิดเดียวกับที่แพร่เชื้อ ไข้เลือดออก (Dengue) ชิคุนกุนยา (Chikungunya) และไข้เหลือง (Yellow fever) นอกจากจะเข้าสู่กระแสเลือดจากการถูกกัดโดยตรงแล้ว ยังสามารถติดต่อกันในรูปแบบของการมีเพศสัมพันธ์ได้อีกด้วย

ระยะฟักตัว ช่วงเวลาตั้งแต่การสัมผัสเชื้อจนถึงการเกิดอาการ ของโรคไวรัสซิก้ายังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่เหมือนจะใช้เวลาเพียงแค่ไม่กี่วันไวรัสซิก้า โรคร้ายจากยุง ชนิดนี้จะเริ่มออกอาการเบื้องต้นที่สังเกตกันง่าย คือ

  • มีไข้
  • ผื่นบนผิวหนัง
  • เยื่อบุตาอักเสบ หรือตาแดง
  • เจ็บกล้ามเนื้อ และข้อต่อ
  • ปวดหัว

จากการรีวิวบทความต่างๆ ในช่วงเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมา องค์กรอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า อาการติดเชื้อไวรัสซิก้าระหว่างช่วงตั้งครรภ์ เป็นสาเหตุของการเกิดความพิการทางสมองตั้งแต่กำเนิด (Congenital brain abnormalities) อย่างเช่น ภาวะศีรษะเล็ก (Microcephaly) และไวรัสซิก้ายังเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคกิลแลง-บาร์เร (Guillain-Barré) ถึงอย่างไรนักวิจัยยังคงพยายามอย่างต่อเนื่อง เพื่อสืบหาความเชื่อมโยงระหว่างไวรัสซิก้า ที่อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางระบบประสาทเพิ่มเติม เพื่อที่จะหาแนวทางการรักษาในอนาคตต่อไป

การติดเชื้อไวรัสซิก้าจากการมีเพศสัมพันธ์

เคยมีนักวิจัยท่านหนึ่งได้ค้นพบถึงเชื้อไวรัสที่ปะปนอยู่ในน้ำอสุจิ หากเมื่อเพศชายปล่อยสารคัดหลั่งนี้เข้าสู่ร่างกายของเพศหญิงในขณะมีเซ็กส์อยู่แล้วละก็ ก็อาจเป็นไปได้ที่จะสามารถรับไวรัสซิสก้าเข้าสู่ร่างกายได้นั่นเอง และอาจมีอาการแรกเริ่มเหมือนข้างต้นหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ไปแล้วประมาณ 40วัน

ผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน และไม่อยากตั้งครรภ์ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับการติดเชื้อไวรัสซิก้าควรพร้อมเข้ารับการบริการคุมกำเนิดฉุกเฉินและการให้คำปรึกษา ผู้หญิงตั้งครรภ์ควรมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย (การใช้ถุงยางอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง) หรืองดกิจกรรมทางเพศอย่างน้อยตลอดช่วงการตั้งครรภ์

สำหรับพื้นที่ซึ่งไม่มีการติดต่อของไวรัสซิก้า องค์การอนามัยโลก WHO แนะนำให้มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยหรืองดกิจกรรมทางเพศเป็นเวลา 6 เดือนสำหรับผู้ชายและผู้หญิง ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่ซึ่งมีการติดต่อของไวรัส เพื่อป้องกันการติดเชื้อของไวรัสซิก้าผ่านการมีเพศสัมพันธ์

การป้องกันไวรัสซิก้า

การป้องกันไม่ให้ยุงกัด เป็นมาตรการหลักในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสซิก้า ซึ่งมีวิธีง่าย ๆ ดังนี้

  • สวมเสื้อผ้า ที่มีสีค่อนข้างอ่อน และปกปิดร่างกายให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • อยู่ภายในมุ้งลวด ในขณะที่จำเป็นต้องพักผ่อนในขณะเดินทางในพื้นเสี่ยง เช่น ป่า เขา บริเวณใกล้แม่น้ำลำคลอง
  • ปิดประตูและหน้าต่างภายในบ้านให้สนิท
  • ใช้ยากันยุงที่มีสาร DEET สาร IR3535 หรือ สารอิคาริดิน (Icaridin) เป็นหลักซึ่งดูได้จากคำแนะนำบนฉลากของผลิตภัณฑ์
  • ทำความสะอาดในบริเวณที่มีน้ำขัง หากเป็นในชุมชนควรขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำยามาฉีดพ่นให้ทั่วจะเป็นการดี

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Zika Virus http://www.who.int/mediacentre/factsheets/zika/en/ Accessed November 17, 2016

Prevention of Sexual Transmission of Zika Virus https://www.cdc.gov/zika/hc-providers/clinical-guidance/sexualtransmission.html Accessed November 17, 2016

Zika Virus https://www.medicinenet.com/zika_virus/article.htm Accessed November 17, 2016

Zika virus. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/zika-virus/symptoms-causes/syc-20353639. Accessed April 30, 2022.

Zika virus. https://www.nhs.uk/conditions/zika/. Accessed April 30, 2022.

Zika Virus. https://www.niaid.nih.gov/diseases-conditions/zika-virus. Accessed April 30, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/12/2022

เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เพิ่มขนาด อวัยวะเพศชาย ให้ใหญ่ขึ้น ได้จริงหรือ

ข้อควรรู้เกี่ยวกับ วัคซีน HPV ตัวช่วยป้องกันมะเร็งปากมดลูก เท่านั้นหรือ?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา