การตรวจหาเชื้อโควิด-19 นั้นถือว่าเป็นวิธีที่สำคัญมาก ๆ ในการเริ่มต้นป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัส COVID-19 การที่มีชุดตรวจแบบ Antigen ที่สามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลา สะดวก รวดเร็วและมีคุณภาพนั้น จึงเป็นอีกหนึ่งก้าวใหญ่ของการควบคุมสถานการณ์ในครั้งนี้
อาการลองโควิด (Long COVID) หรือ “Post-COVID Conditions” เป็นภาวะที่สามารถพบได้ทั่วไปในผู้ป่วยที่เคยเป็นโควิด-19 มาก่อน และรักษาจนหายขาดแล้ว แต่กลับพบว่ายังคงมีอาการผิดปกติหลงเหลืออยู่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้มีภูมิคุ้มกันต่ำ ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการค่อนข้างหนัก พบว่าร้อยละ 30-50 มักมีอาการลองโควิดตามมา ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นหลังได้รับเชื้อนาน 4-12 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งลองโควิดอาจมีความหลากหลายในแต่ละบุคคล จึงควรหมั่นสังเกตสุขภาพของตัวเองอยู่เสมอว่ามีภาวะของอาการลองโควิดเหล่านี้หรือไม่
- อาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
- หายใจสั้น หายใจไม่อิ่ม
- เจ็บแน่นหน้าอก
- มีภาวะไอเรื้อรัง
- จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส
- นอนไม่ค่อยหลับ
- รู้สึกว่าความจำสั้นลง
- ปวดเมื่อยตัว ปวดเมื่อยข้อ
- ปวดหัว วิงเวียนศีรษะ
- มีภาวะซึมเศร้า รู้สึกวิตกกังวล
- ระบบย่อยอาหารมีปัญหา เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ
ผู้ที่หายป่วยจากโควิด-19 แล้ว แต่ยังมีอาการข้างต้นก็เป็นไปได้ว่าอาจมี ‘อาการลองโควิด’ (Long COVID) แต่ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะสามารถรักษาให้หายขาดและกลับมาเป็นปกติได้ ส่วนจะใช้ระยะเวลานานแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับการฟื้นฟูร่างกายของแต่ละคน ดังนั้น หลังหายจากโควิด-19 แล้ว เราจึงควรดูแลตัวเองให้ถูกวิธีและเตรียมพร้อมรับมือกับภาวะลองโควิดที่อาจเกิดขึ้นตามมาได้ ด้วย 7 วิธีดังต่อไปนี้
1. รับประทานอาหารช่วยฟื้นฟูปอด
เลือกรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเสริมด้วยสารอาหารที่มีคุณสมบัติช่วยบำรุงปอด เช่น ‘รังนกแท้’ ซึ่งเป็นหนึ่งในอาหารที่ช่วยบำรุงและฟื้นฟูปอดให้แข็งแรง ถือเป็นทางเลือกในการดูแลสุขภาพช่วง Long COVID เนื่องจาก…
รังนกแท้มีส่วนประกอบหลักเป็นโปรตีนมากกว่า 50% โดยเฉพาะสารอาหารสำคัญในรังนกแท้อย่าง ‘NANA’ (นานะ หรือ N-Acetyl-Neuraminic Acid) ซึ่งทำหน้าที่เสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน มีส่วนช่วยในการบำรุงปอด และยับยั้งไม่ให้ไวรัสเข้าสู่เซลล์ร่างกายได้
นอกจากนี้ ในรังนกแท้ยังมี ‘ไกลโคโปรตีน’ และ ‘โกรทแฟคเตอร์’ ที่ช่วยต่อต้านแบคทีเรียและไวรัส เพราะมีกลไกในการขัดขวางการจับตัวระหว่างเชื้อไวรัสกับเซลล์เม็ดเลือดแดงโดยตรง อีกทั้งยังช่วยฟอกบำรุงปอด บรรเทาอาการไอเรื้อรัง ช่วยซ่อมแซมผิว เสริมให้ร่างกายแข็งแรงและฟื้นฟูได้เร็วขึ้นในช่วงที่มีภาวะลองโควิด
2. ฝึกหายใจบริหารปอด
โควิด-19 เป็นเชื้อที่ส่งผลกระทบต่อปอด หลายคนที่มีอาการลองโควิดจึงมักจะรู้สึกหอบเหนื่อย ไอแห้งและหายใจไม่เต็มอิ่ม เพราะสมรรถภาพของปอดมีผลต่อระบบหายใจโดยตรง แต่เราสามารถฝึกหายใจเพื่อบริหารปอด ป้องกันภาวะปอดแฟบได้ด้วยการพัฒนากล้ามเนื้อในการหายใจ ทั้งปอด ทรวงอก และกระบังลม โดยให้วางมือทั้ง 2 ข้างที่บริเวณชายโครงใต้ทรวงอก แล้วหายใจเข้าช้า ๆ เพื่อให้ทรวงอกและซี่โครงขยาย และหายใจออกช้า ๆ เพื่อให้ทรวงอกและซี่โครงหุบเข้า ทำวันละประมาณ 5-10 ครั้ง โดยให้สังเกตมือว่าขยับตามการหายใจหรือไม่ เพื่อบริหารปอดและฝึกสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นขณะหายใจเข้า-ออก
3. ยืดกล้ามเนื้อลดอาการปวดข้อ
อาการลองโควิด (Long COVID) ที่หลายคนต้องเจอก็คือ อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะการปวดข้อที่อาจสร้างความรำคาญใจและส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน แต่เราสามารถฟื้นฟูได้ด้วยการเพิ่มความยืดหยุ่นให้แก่กล้ามเนื้อวันละประมาณ 30 นาที หรืออาจจะยืดกล้ามเนื้อสัปดาห์ละ 3-5 วันก็ได้ เช่น การเดินเร็วรอบบ้าน ย่ำเท้าอยู่กับที่ เต้นแอโรบิก หรือเล่นโยคะ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด บรรเทาอาการปวดเมื่อยตัวและปวดข้อได้ดี อีกทั้งยังเสริมการทำงานของปอดและหัวใจให้กลับแข็งแรงอีกครั้ง ลดอาการเหนื่อยง่าย ทำให้หายใจเต็มอิ่มมากขึ้น
4. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน
แม้ว่าการดื่มชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีนอื่น ๆ ในชีวิตประจำวัน อาจช่วยให้หลายคนรู้สึกกระปรี้กระเปร่าและไม่ง่วงนอน แต่ในภาวะลองโควิดขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มคาเฟอีนไปก่อน เพราะในช่วงที่ร่างกายยังฟื้นฟูไม่เต็มที่ การดื่มคาเฟอีนจะไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางและการหลั่งอะดรีนาลีน (Adrenaline) ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะในผู้ที่ได้รับปริมาณคาเฟอีนมากเกินไป ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคไขมันในเลือดสูง ทางที่ดีควรดื่มน้ำเปล่าสะอาดวันละประมาณ 6-8 แก้ว เพื่อช่วยให้ปอดชุ่มชื้น และเสริมระบบไหลเวียนโลหิตในร่างกายให้ดีขึ้น
5. งดอาหารมื้อดึก
ผู้ที่อยู่ในภาวะลองโควิด (Long COVID) อาจมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย ทำให้มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย จึงควรใส่ใจดูแลตัวเองด้วยการรับประทานอาหารให้ตรงเวลา ควรเลือกอาหารที่ย่อยง่าย และควรงดอาหารมื้อดึก แนะนำให้รับประทานอาหารให้เสร็จก่อนเข้านอนประมาณ 4 ชั่วโมง หลังมื้ออาหารไม่ควรเอนตัวลงนอนเลย เพราะอาจส่งผลให้เกิดโรคกรดไหลย้อน ทั้งยังอาจส่งผลให้นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท หรือนอนหลับ ๆ ตื่น ๆ ทำให้สุขภาพการนอนไม่มีคุณภาพ เนื่องจากขณะที่เรานอนหลับนั้นกระเพาะอาหารยังทำหน้าที่ไม่เสร็จนั่นเอง
6. รักษาระดับจิตใจไม่ให้เครียด
ผู้ป่วยที่หายจากโควิด-19 แล้ว แต่ยังมีอาการลองโควิด มักตกอยู่ในภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล จิตใจไม่แจ่มใส สมาธิสั้นลง เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องอยู่กระบวนการรักษาที่ยาวนานหลายสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงในแต่ละคน นั่นย่อมทำให้รู้สึกเครียด รู้สึกอาการฟื้นตัวช้า เพราะต้องแยกกักตัวคนเดียว รู้สึกโดดเดี่ยว มีความกังวลหลายเรื่อง เมื่อรักษาหายแล้วก็ยังต้องเผชิญกับภาวะลองโควิดอีก การตรวจสอบภาวะจิตใจของตัวเองจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ อย่าปล่อยให้ตัวเองเครียดจนเกินไป ควรหากิจกรรมผ่อนคลายทำ พักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อรักษาสุขภาพอารมณ์ของตัวเอง
7. อย่าลืมฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19
การฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 จะช่วยลดความรุนแรงของอาการต่าง ๆ ได้ องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ลดอัตราการป่วยหนัก และอัตราการเสียชีวิต สำหรับคนที่หายจากการติดเชื้อโควิด-19 แล้ว ก็ยังจำเป็นต้องได้รับวัคซีนเพราะอาจมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้อีก สำหรับผู้ที่ได้รับการรักษาจนหายแล้ว เมื่อครบระยะเวลา 3 เดือน หลังจากวันที่พบเชื้อ ควรไปควรฉีดวัคซีน 1 เข็ม เพื่อกระตุ้นภูมิต้านทานให้สูงขึ้น และอย่าลืมสวมหน้ากากอนามัย ใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ และเว้นระยะห่างทางสังคมเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ
หากพบว่าตนเองมีอาการลองโควิดรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน หรืออยู่ในภาวะลองโควิดเป็นเวลานานแล้ว แต่อาการยังไม่ดีขึ้น ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด