backup og meta

ชุดตรวจ ATK VS PCR: เลือกการตรวจโควิด-19 แบบไหนดี?

ชุดตรวจ ATK VS PCR: เลือกการตรวจโควิด-19 แบบไหนดี?

กว่าสองปีที่ผ่านมา ผู้คนทั่วทั้งโลกต้องเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งยังมีการตรวจพบไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ๆ และการแพร่ระบาดที่เพิ่มขึ้นอย่างเช่นโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ในขณะเดียวกัน ผู้คนก็มีการรับรู้ที่มากขึ้นเกี่ยวกับการดูแลและป้องกันตัวเองจากการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งการตรวจด้วย ชุดตรวจแบบแอนติเจน หรือ ชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) และการตรวจโควิด-19 แบบ PCR (Polymerase Chain Reaction)

การตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยการใช้ชุดตรวจแบบแอนติเจนหรือ ATK ทำให้การตรวจหาเชื้อเป็นไปได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการตรวจแบบนี้ยังมีความสำคัญต่อการอัปเดตจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจแบบแอนติเจนจะกลายมาเป็นวิธีที่หลาย ๆ คนเลือกใช้ มีหลากหลายแบรนด์ที่ผลิตชุดตรวจที่ได้รับมาตรฐานออกมาวางจำหน่าย แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ PCR นั้นก็ยังเป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นกัน ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับจุดเด่นและข้อดีของชุดตรวจแบบแอนติเจนและการตรวจแบบ PCR จึงสามารถช่วยให้เลือกใช้การตรวจที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับตัวเองได้ 

[embed-health-tool-vaccination-tool]

ชุดตรวจ ATK หรือ Rapid Antigen Test: ความสำคัญของการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง

จากการที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังพยายามทำให้สถานการณ์กลับมาเป็นปกติ การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเอง โดยการใช้ชุดตรวจ ATK จึงกลายมาเป็นวิธีที่ถูกใช้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากชุดตรวจประเภทนี้ทำงานด้วยการตรวจหาโปรตีน (แอนติเจน) จากเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยตรง จากการเก็บตัวอย่างทางโพรงจมูกและน้ำลาย ให้ผลตรวจที่ชัดเจนภายใน 15 นาที โดยเฉพาะการใช้ชุดตรวจโควิด-19 ด้วยการเก็บตัวอย่างทางจมูก ถือว่าถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายที่สุด

การที่มีชุดตรวจโควิด-19 ด้วยตัวเองติดบ้านไว้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากในปัจจุบัน เพราะเมื่อสมาชิกภายในครอบครัวมีอาการที่ใกล้เคียง หรือใกล้ชิดกับผู้ที่ได้รับเชื้อโควิด-19 ก็สามารถใช้ชุดตรวจ ATK ตรวจหาเชื้อได้เองที่บ้าน หากมีผลเป็นบวก (มีเชื้อโควิด-19) จะได้เข้ารับการรักษาได้ทันที ผลตรวจที่ได้สามารถช่วยให้ผู้ให้บริการทางด้านสาธารณสุขสามารถตัดสินใจและวางแผนการรักษาให้ผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งการตรวจเจอเชื้อได้ด้วยตัวเองตั้งแต่ช่วงแรก ยังทำให้สามารถแยกตัวออกจากกลุ่มเสี่ยงภายในครอบครัว เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ ได้เร็วยิ่งขึ้น จึงช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อได้อย่างดี หากผลตรวจโควิด-19 ขึ้นว่าผลเป็นลบ (ไม่พบเชื้อโควิด-19) ก็จะได้ใช้ชีวิตตามปกติได้อย่างสบายใจ

ข้อแตกต่างระหว่างการตรวจแบบ ARTs และ PCR

การตรวจด้วยชุดตรวจ Antigen การตรวจแบบ PCR
ตรวจจับนิวคลีโอแคปซิด (nucleocapsid)
โปรตีนแอนติเจนของไวรัส SARS-CoV-2
ตรวจจับสารพันธุกรรมของไวรัส SARS-CoV-2
สามารถตรวจหาเชื้อได้ด้วยตัวเองตลอดเวลา รวมถึงที่บ้าน ต้องทำภายในสถานพยาบาลหรือห้องปฏิบัติการเท่านั้น
สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง แม้จะเป็นเด็กโตก็ตาม (ด้วยคำแนะนำของผู้ใหญ่)  ต้องรับบริการจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
ได้รับผลตรวจทันทีภายใน 15 นาที ได้รับผลเร็วที่สุดภายใน 24 ชั่วโมง หรือใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน
สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยา ซูเปอร์มาร์เก็ต หรือสั่งซื้อจากช่องทางออนไลน์ สามารถใช้บริการได้ที่สถานพยาบาลเท่านั้น เช่น โรงพยาบาล คลินิก
ปกติแล้วจะมีราคาไม่แพง  อาจมีราคาสูง ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ และประเภทของสถานพยาบาล (รัฐบาล/ เอกชน)
หากในตัวอย่างสารคัดหลั่งมีปริมาณของเชื้อโควิด-19 น้อย ก็อาจทำให้ตรวจไม่พบเชื้อได้ แต่หากมีเชื้อโควิด-19 ค่อนข้างเยอะ ก็จะตรวจพบได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
สามารถตรวจเจอเชื้อโควิด-19 ได้ แม้ว่าจะมีปริมาณไวรัสต่ำ และอาจจะขึ้นผลเป็นบวก (พบเชื้อโควิด-19) ได้หากเคยได้รับเชื้อโควิด-19 เมื่อนานมาแล้ว
อาจได้รับผลลัพธ์ที่ไม่แม่นยำ หากตรวจไม่ถูกวิธี โดยปกติแล้วจะได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำเพราะดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ
สามารถเลือกใช้ชุดตรวจโควิด-19 แอนติเจนแบบเก็บตัวอย่างทางจมูกก้านสั้นได้ เพื่อให้สะดวกยิ่งขึ้น และใช้งานถูกวิธี อาจทำให้รู้สึกอึดอัดหรือเจ็บเล็กน้อยตรวจหาเชื้อโควิด-19 

ข้อดีของชุดตรวจ ATK (ARTs)

Rapid Antigen Tests (ARTs) หรือชุดตรวจ ATK ถือว่ามีข้อดีมากกว่าการตรวจแบบ PCR ทั้งในด้านความสะดวก การหาซื้อ ราคา และระยะเวลาในการรับผลตรวจ ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าชุดตรวจโควิด-19 แบบ ATK บางชนิดมีความแม่นยำมากพอที่จะสามารถใช้ทดแทนการตรวจหาเชื้อแบบ PCR ได้ เมื่อใช้กับผู้ป่วยที่แสดงอาการ ชุดตรวจ ATK แบบเก็บตัวอย่างจากโพรงจมูกบางประเภทสามารถตรวจเชื้อ SARS-CoV-2 ได้แม่นยำสูงถึง 100% 

การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ได้ด้วยตัวเองที่บ้านโดยไม่ต้องเดินทางไปยังสถานพยาบาลต่าง ๆ สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อในวงกว้าง (รวมถึงการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19) ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังเป็นวิธีที่สะดวกสำหรับครอบครัวที่มีเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ซึ่งอาจรู้สึกกังวลหรือเครียดได้เมื่อต้องเดินทางไปยังโรงพยาบาลหรือสถานที่ที่มีคนเยอะ ๆ

การตรวจหาเชื้อโควิด-19 ถือว่าเป็นวิธีที่สำคัญมากในการเริ่มต้นป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัส COVID-19 การที่มีชุดตรวจแบบ Antigen หรือ ชุดตรวจ ATK ที่สามารถใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา สะดวก รวดเร็วและมีคุณภาพ จึงเป็นอีกหนึ่งก้าวใหญ่ของการควบคุมสถานการณ์ในครั้งนี้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Corman, V. et al. Comparison of seven commercial SARS-CoV-2 rapid point-of-care antigen tests: a single-centre laboratory evaluation study. https://www.thelancet.com/journals/lanmic/article/PIIS2666-5247(21)00056-2/fulltext. Accessed March 6, 2022

Australian Government, Department of Health. Rapid Antigen Tests. https://www.health.gov.au/news/rapid-antigen-tests. Accessed March 6, 2022

Cleveland Clinic. COVID-19 and PCR Testing. https://my.clevelandclinic.org/health/diagnostics/21462-covid-19-and-pcr-testing. Accessed March 6, 2022

World Health Organization. Antigen-detection in the diagnosis of SARS-CoV-2

Infection. https://www.who.int/publications/i/item/antigen-detection-in-the-diagnosis-of-sars-cov-2infection-using-rapid-immunoassays. Accessed March 6, 2022

Dinnes, J. How accurate are rapid tests for diagnosing COVID-19? Cochrane Review. https://www.cochrane.org/CD013705/INFECTN_how-accurate-are-rapid-tests-diagnosing-covid-19. Accessed March 6, 2022

Gremmels, H. et al. Real-life validation of the Panbio™ COVID-19 antigen rapid test (Abbott) in community-dwelling subjects with symptoms of potential SARS-CoV-2 infection. eClinicalMedicine. https://www.thelancet.com/journals/eclinm/article/PIIS2589-5370(20)30421-1/fulltext#:~:text=Our%20findings%20show%20that%20the,of%20this%20test%20was%20100%25. Accessed March 6, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

19/10/2022

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัยเผย หายห่วง ตู้น้ำหยอดเหรียญสาธารณะ ยังไม่มีการค้นพบเชื้อโควิด-19

อาการเบื่อบ้าน (Cabin Fever) อีกหนึ่งอาการที่อาจเกิดขึ้นในช่วงที่ต้องกักตัวอยู่บ้าน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 19/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา