backup og meta

อันตราย! โควิดสายพันธุ์อินเดีย ยอดผู้เสียชีวิตพุ่งขึ้นราวติดจรวด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 31/05/2021

    อันตราย! โควิดสายพันธุ์อินเดีย ยอดผู้เสียชีวิตพุ่งขึ้นราวติดจรวด

    โควิดสายพันธุ์อินเดีย ได้แพร่ระบาดเข้าสู่ประเทศไทยอย่างรวดเร็ว โดยถูกค้นพบครั้งแรก จากแคมป์คนงานก่อสร้างในเขตหลักสี่ จังหวัดกรงเทพมหานคร จำนวน 36 ราย ซึ่งในปัจจุบันยังพบผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์อินเดียอย่างต่อเนื่องตามภูมิภาคต่าง ๆ ในประเทศไทย เนื่องจากเชื้อไวรัสชนิดนี้แพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดิมถึง 20% ดังนั้นเราจึงต้องป้องกันตนเองเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์อินเดีย บทความนี้ Hello คุณหมอ จึงนำข้อมูลของเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์อินดีย มาให้ทุกคนได้ทำความรู้จักกันมากขึ้น เพื่อที่จะได้เข้าใจและป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี 

    ทำความรู้จัก โควิดสายพันธุ์อินเดีย 

    โควิดสายพันธุ์อินเดียมีชื่อทางการว่า สายพันธุ์ B.1.6.7  ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อต้นเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2563 ในเมืองนาคปารุระ รัฐมหาราษฎระ ประเทศอินเดีย โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้

  • ลักษณะการกลายพันธุ์ โควิดสายพันธุ์อินเดีย มีเชื้อการกลายพันธุ์แบบ “Double Mutant” ซึ่งการกลายพันธุ์ 2 ตำแหน่ง โดยตำแหน่งแรกที่ E484Q มีลักษณะคล้ายกับที่พบในประเทศแอฟริกาใต้และประเทศบลาซิล และตำแหน่งที่สองที่ L452R คล้ายกับที่พบในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา  
  • ความรุนแรงของการแพร่กระจายเชื้อโรค เชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์อินเดียสามารถแพร่กระจายเชื้อโรคได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดิมและสามารถต้านทานวัคซีนบางชนิดได้ ส่งผลให้ผู้ที่ติดเชื้อมีอาการแย่ลงอย่างรวดเร็ว
  • เชื้อโควิคสายพันธุ์อินเดีย รุนแรงมากแค่ไหน?

    ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานการยืนยันที่ชัดเจนถึงความรุนแรงของเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์อินเดีย แต่จากผลการศึกษาการวิจัยพบว่า เชื้อโควิคสายพันธุ์อินเดียสามารแพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็ว และสามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้ ส่งผลให้เกิดการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว เพิ่มโอกาสในการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น

    วัคซีนป้องกัน เชื้อโควิดสายพันธุ์อินเดีย 

    ในปัจจุบันพบว่า วัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิดสายพันธุ์อินเดีย มีดังต่อไปนี้

  • วัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) อูเกอร์ ชาฮิน ( Ugur Sahin) ประธานบริหารของบริษัท BioNTech กล่าวว่า วัคซีนไฟเซอร์ มีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์อินเดียได้ถึง 70-75% ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ใกล้กับสายพันธุ์แอฟริกาใต้ นอกจากนี้ยังได้ทำการทดสอบกับเชื้อไวรัสมากกว่า 30 สายพันธุ์ พบว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพในการต่อต้านการกลายพันธุ์
  • วัคซีนโควาซิน (Covaxin) และวัคซีนแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) วัคซีนโควาซิน เป็นวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสโควิดที่ถูกผลิตโดยบริษัท Bharat Biotech International ในประเทศอินเดีย และวัคซีนโควิชิลด์ (Covishield)หรือที่คนมักเรียกว่าวัคซีนแอสตราเซเนกามีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อโควิดสายพันธุ์อินเดียได้เช่นกัน
  • ดูแลสุขอนามัย ป้องกันความเสี่ยงโควิดสายพันธุ์อินเดีย

    เราสามารถลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์อินเดีย ได้ด้วยการปฏิบัติดังต่อไปนี้ 

    • สวมหน้ากากอนามัยปิดจมูกและปากทุกครั้งเมื่อออกนอกบ้าน
    • หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ 
    • เมื่อออกนอกบ้านให้ยืนในที่อากาศถ่ายเทสะดวก และเว้นระยะห่างทางสังคมประมาณ 6 ฟุต หรือ 2 เมตร 
    • หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัส ตา จมูก ปาก โดยที่ยังไม่ได้ล้างมือให้สะอาด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 31/05/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา