backup og meta

รู้หรือไม่ ไวรัสโควิด-19 อาจทำร้ายภูมิคุ้มกันของคุณได้เหมือนกับ HIV

รู้หรือไม่ ไวรัสโควิด-19 อาจทำร้ายภูมิคุ้มกันของคุณได้เหมือนกับ HIV

เป็นที่ทราบกันว่าเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 หรือที่เรียกกันว่า โรคโควิด-19 เป็นเชื้อไวรัสที่เมื่อติดเชื้อแล้ว เชื้อไวรัสนี้จะสามารถทำลายระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง แต่ในงานวิจัยล่าสุดเผยว่า โควิด 19 อาจ ทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ของร่างกายเรา ได้เช่นเดียวกับเชื้อ HIV มาติดตามรายละเอียดไปพร้อมกับ Hello คุณหมอ

โควิด 19 ทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ได้จริงเหรอ

เราต่างก็รู้กันดีว่า ระบบภูมิคุ้มกันมีหน้าที่ในการช่วยปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่อาจจะมาทำร้ายร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย สารเคมี หรือฝุ่นละอองต่าง ๆ และหากระบบภูมิคุ้มกันของเราอ่อนแอ ก็จะทำให้มีโอกาสป่วยได้ง่ายกว่าปกติ ดังนั้นแพทย์หลายคนจึงได้พยายามให้คำแนะนำในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อที่จะลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 หรือเพื่อให้อาการของโรคโควิด-19 นั้นไม่รุนแรงมากเกินไป

แต่ในการวิจัยล่าสุดพบว่า เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 หรือที่เรียกกันว่า COVID-19 อาจสามารถทำลายระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้ร่างกายของเราอ่อนแอลง และทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบภูมิคุ้มกันได้ คล้ายคลึงกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัส HIV

นักวิจัยพบว่า โครงสร้างพิเศษของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีลักษณะเป็นหนามนั้น สามารถกระตุ้นให้เกิดการรวมตัวกันของไวรัสและเยื่อหุ้มเซลล์อวัยวะเมื่อมีการสัมผัสกัน ยีนของเชื้อไวรัสนั้นจะทำการแทรกแซงเข้าสู่ T-lymphocytes หรือที่เรียกว่า T-cell ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เป็นส่วนหนึ่งในระบบภูมิคุ้มกัน และทำหน้าที่ช่วยปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อและสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ยีนของเชื้อไวรัสโควิด-19 นี้จะเข้าควบคุม และปิดกั้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเราอ่อนแอลง

นอกจากนี้ ยังมีรายงานพบว่าผู้ที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะมีจำนวนของ T-cell ลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยวิกฤตที่มีอาการรุนแรง และเมื่อยิ่งมีจำนวน T-cell ลดลง ก็จะยิ่งมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

ยีนที่ทำให้เกิดการรวมตัวกันของไวรัสและเยื่อหุ้มเซลล์อวัยวะ ที่สามารถพบได้ในเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น ไม่สามารถพบได้ในเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุอื่น ๆ ทั้งในมนุษย์และในสัตว์ แต่สามารถพบได้ในเชื้อไวรัสที่ก่อโรคร้ายแรงในมนุษย์ประเภทอื่น ๆ อย่าง HIV และ Ebola

แต่ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดอย่างหนึ่ง ระหว่างการทำลายระบบภูมิคุ้มกันของเชื้อไวรัสโควิด-19 และ HIV ก็คือ เชื้อไวรัส HIV นั้นสามารถเพิ่มจำนวนภายใน T-cell และแพร่กระจายไปรุกรานเซลล์อื่น ๆ ได้ ในขณะที่เชื้อไวรัสโควิด-19 นั้นจะเข้าแทรกแซง T-cell และจะตายไปพร้อมกันกับ T-cell ไม่เพิ่มจำนวนแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

SARS-CoV-2 infects T lymphocytes through its spike protein-mediated membrane fusion. https://www.nature.com/articles/s41423-020-0424-9.pdf. Accessed April 13, 2020.

Coronavirus could attack immune system like HIV by targeting protective cells, warn scientists. https://www.scmp.com/news/china/society/article/3079443/coronavirus-could-target-immune-system-targeting-protective?fbclid=IwAR0xAZOzeSYgMWnudWBh0g8jCrBRCEcAVIS-dW90zm8356VSfbKCYbTX_Tc.. Accessed April 13, 2020.

ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย. http://www.nsm.or.th/other-service/1757-online-science/knowledge-inventory/sci-article/science-article-nsm/2846-%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2.html.. Accessed April 13, 2020.

The COVID Virus May Prompt the Body to Attack Itself. https://www.webmd.com/lung/news/20210129/covid-virus-may-prompt-body-to-attack-itself. Accessed May 19, 2021.

Antibodies Attack the Body In Some COVID Cases. https://www.webmd.com/lung/news/20201029/antibodies-attack-the-body-in-some-covid-cases. Accessed May 19, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

21/05/2021

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ระบบภูมิคุ้มกัน กับ การติดเชื้อไวรัสโคโรนา

สิงห์นักสูบโปรดทราบ! สูบบุหรี่ ยิ่งเสี่ยง ติดเชื้อโควิด-19 แถมอาการอาจทรุดหนัก


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 21/05/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา