backup og meta

ทำไมสายพันธุ์โอมิครอนจึงทำให้เห็นความสำคัญของชุดตรวจโควิดด้วยตัวเองมากขึ้น?

ทำไมสายพันธุ์โอมิครอนจึงทำให้เห็นความสำคัญของชุดตรวจโควิดด้วยตัวเองมากขึ้น?

แม้ว่าจะมีการประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคระบาดแต่สิ่งที่รู้เกี่ยวกับไวรัสโควิด-19 ดูเหมือนจะเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สายพันธุ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลให้เกิดความท้าทายใหม่ ๆ สำหรับผู้เชี่ยวชาญมากยิ่งขึ้น การทราบถึงอาการของตัวเองตลอดเวลาจึงกลายมาเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาความปลอดภัยให้ตัวเองและคนรอบข้าง การเรียนรู้ว่า โอมิครอนมีความร้ายแรงแค่ไหน เมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น ๆ และการตรวจโควิดด้วยชุดตรวจโควิดด้วยตัวเองช่วยได้หรือไม่ ถือเป็นสิ่งสำคัญ ที่อาจช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคได้

[embed-health-tool-vaccination-tool]

โอมิครอนคือตัวบ่งบอกว่าการแพร่ระบาดสิ้นสุดลงแล้วจริงหรือ

การแพร่ระบาดของสายพันธุ์เดลตาที่รุนแรงมากทำให้ทั่วโลกเตรียมพร้อมรับมือกับการแพร่ระบาดครั้งใหม่ที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่หากถามว่าโอมิครอนมีความร้ายแรงแค่ไหน ก็กล่าวได้ว่า โอมิครอนเป็นสายพันธุ์ที่แพร่กระจายได้รวดเร็ว แต่กลับมีอาการที่ไม่ค่อยรุนแรงเมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์อื่น ๆ

ในขณะที่หลาย ๆ คนกล่าวว่า โอมิครอนไม่รุนแรงและอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าการแพร่ระบาดได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดกลับเชื่อว่า อาการป่วยและไวรัสโควิด-19 นั้นจะคงอยู่ตลอดไป และจะกลายเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้ตามปกติเช่นเดียวกับไข้หวัดธรรมดาและไข้หวัดใหญ่ ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถกล่าวได้ว่า อาจมีการ กลายพันธุ์อีกครั้ง เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่มีรูปแบบเฉพาะตัว

แม้ว่าโอมิครอนจะรุนแรงน้อย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะระมัดระวังตัวน้อยลงได้ แต่ควรจะเพิ่มการดูแลตัวเองให้มากขึ้น เพราะโอมิครอนเป็นสายพันธุ์ที่สามารถแพร่กระจายและติดต่อได้อย่างรวดเร็ว แค่การสัมผัสหรือใกล้ชิดกับผู้ป่วยในระยะเวลาสั้น ๆ ก็อาจติดเชื้อดังกล่าวได้

แม้อาการจะไม่รุนแรงและใช้ระยะเวลาฟื้นตัวน้อย แต่โอมิครอนก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ จากงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า การที่มีผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีจำนวนผู้เสียชีวิตเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคแทรกซ้อน ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ

อย่างไรก็ตาม นี่ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะต้องใช้ชีวิตอยู่ภายใต้ความหวาดกลัว แต่ควรใช้ชีวิตด้วยความระมัดระวังมากยิ่งขึ้น และตรวจสอบสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะหลังจากอยู่ในพื้นที่เสี่ยง การตรวจโควิดด้วยตัวเองไม่เพียงแต่จะช่วยปกป้องตัวเองเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ผู้คนรอบข้างปลอดภัยจากการแพร่กระจายของเชื้อ รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดการสูญเสียที่ร้ายแรงอีกด้วย

การตรวจโควิด-19 ด้วยตัวเองเป็นประจำในยุค New Normal

เทียบกับอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ เช่น ไข้หวัดธรรมดา ไข้หวัดใหญ่ แล้ว การติดเชื้อโควิด-19 ถือว่าสามารถตรวจพบได้อย่างง่ายดายด้วยชุดทดสอบที่ใช้งานได้ง่าย แม้การตรวจโควิด-19 แบบ RT-PCR จะเป็นวิธีที่ดีและแม่นยำที่สุด แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนจะเข้าถึงได้ โดยเฉพาะในด้านของราคาที่อยู่ระหว่าง 2,500 – 4,000 บาทขึ้นอยู่กับแต่ละโรงพยาบาล ซึ่งถือว่ามีราคาค่อนข้างสูง

โชคดีที่ในปัจจุบันมีชุดตรวจโควิด-19 แบบ ATK ออกมาวางจำหน่ายมากมาย การใช้ชุดตรวจด้วยตัวเองโดยการเก็บสารคัดหลั่งทางจมูกถือเป็นการตรวจในเบื้องต้น หากไม่เคยได้รับการตรวจโควิด-19 มาก่อน การเลือกใช้ชุดตรวจโควิด-19 แบบ ATK นี้ถือว่าเป็นวิธีที่ดี แน่นอนว่าการใช้ชุดตรวจด้วยตัวเองครั้งแรกทำให้สับสนเกี่ยวกับวิธีการใช้งานและไม่ชินกับการเก็บตัวอย่าง แต่เมื่อผ่านไปหลาย ๆ ครั้งก็จะพบว่า วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกมาก

ในไม่ช้า โควิด-19 จะกลายมาเป็นโรคประจำถิ่น หรือเรียกง่าย ๆ ว่าเป็นโรคที่สามารถพบเจอได้ทั่วไป ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า ในที่สุดแล้วผู้คนทั่วโลกน่าจะต้องได้รับเชื้อโควิดสายพันธุ์ที่แพร่กระจายได้ง่ายอย่างโอมิครอนอย่างน้อยสักครั้งในชีวิต การมีชุดตรวจATK ติดที่บ้านไว้จึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ ดร. Michael Mina หัวหน้าเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ที่ EMed กล่าวว่า ชุดตรวจโควิด-19 แบบเร่งด่วนหรือ ATK นั้น ควรถูกใช้เพื่อช่วยในการตัดสินใจว่าจำเป็นต้องแยกตัว หรือสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้แล้ว เนื่องจากการทดสอบ PCR จะยังคงแสดงผลบวกเป็นเวลานานหลังจากระยะการติดเชื้อ การเลือกใช้ ATK นั้นให้ผลลัพธ์ภายในไม่กี่นาที ช่วยให้สามารถตัดสินใจได้อย่างปลอดภัย เพื่อปกป้องตัวเองและคนรอบข้าง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What you need to know about the Delta variant. UNICEF. (2021, September 23). https://www.unicef.org/coronavirus/what-you-need-know-about-delta-variant. Accessed March 8, 2022

Centers for Disease Control and Prevention. (2022, January 27). Trends in disease severity and health care utilization during the early Omicron variant period compared with previous SARS-COV-2 high transmission periods – United States, December 2020–January 2022. Centers for Disease Control and Prevention. https://www.cdc.gov/mmwr/volumes/71/wr/mm7104e4.htm?s_cid=mm7104e4_w. Accessed March 8, 2022

Katzourakis, A. (2022). Covid-19: Endemic doesn’t mean harmless. Nature, 601(7894), 485–485. https://doi.org/10.1038/d41586-022-00155-x. Accessed March 8, 2022

Iacobucci, G. (2022). Covid-19: Unravelling the conundrum of Omicron and deaths. BMJ. https://doi.org/10.1136/bmj.o254. Accessed March 8, 2022

Centers for Disease Control and Prevention. (2022, February 25). People with certain medical conditions. Centers for Disease Control and Prevention. Retrieved March 8, 2022, from https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/need-extra-precautions/people-with-medical-conditions.html. Accessed March 8, 2022

Epidemiologist Dr. Michael Mina on CDC COVID isolation guidelines and at-home tests (2022). Viewed on March 30, 2022 at https://www.youtube.com/watch?v=63H1ts8iMQU. Accessed March 8, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

19/10/2022

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

วัคซีนที่ควรฉีดช่วงโควิดระบาด ช่วยเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน

เครียดเรื่องโรคโควิด-19 จนไม่เป็นอันทำอะไร ลองใช้ เทคนิคการผ่อนคลาย เหล่านี้สิ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 19/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา