backup og meta

ไอมีเสมหะ ไม่หายซะที! วิธีไหนทำให้หายไวที่สุด

ไอมีเสมหะ ไม่หายซะที! วิธีไหนทำให้หายไวที่สุด

แม้ว่าดูเหมือนเป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ก็ต้องยอมรับว่าบางครั้งอาการไอก็เป็นสิ่งที่สร้างความทรมาน น่าอึดอัด และความรำคาญใจให้แก่ผู้ป่วย และบางครั้งก็รบกวนคนรอบข้างอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมีอาการ ไอมีเสมหะ ที่บางครั้งทำให้รู้สึกหายใจลำบากและรบกวนการทำกิจกรรมตามปกติในชีวิตประจำวัน หากปล่อยให้ไอต่อไปเรื่อย ๆ คงไม่ดีแน่ ดังนั้น เราจึงขอนำเสนอวิธีการกำจัดเสมหะ ซึ่งจะช่วยให้อาการไอหายไปโดยเร็วที่สุด

[embed-health-tool-bmr]

วิธีจัดการกับอาการ ไอมีเสมหะ แบบเร่งด่วน

1. พยายามขจัดเสมหะในลำคอออกมา

เมื่อรู้สึกว่ามีเสมหะติดอยู่ในลำคอให้พยายามไอหรือขากเสลดออกมา ไม่ควรกลืนกลับเข้าไป เพราะนั่นคือเชื้อโรคที่ร่างกายพยายามกำจัดทิ้ง การกลืนเข้าไปก็เท่ากับกลืนเชื้อโรคกลับเข้าไปใหม่นั่นเอง และควรบ้วนเสมหะทิ้งในที่ที่เหมาะสมด้วย

2. ดื่มน้ำมาก ๆ

ภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งได้แก่ โรคหวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ มักส่งผลให้มีปริมาณเมือกหรือเสมหะมากขึ้นจนทำให้เสมหะไหลลงคอ ซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองและกระตุ้นให้เกิดการไอ การดื่มน้ำปริมาณมากจะช่วยให้เสมหะไม่จับตัวจนข้นเหนียวมากเกินไป ทำให้ร่างกายสามารถขับเสมหะออกมาได้โดยง่าย และยังช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้เนื้อเยื่อในระบบทางเดินหายใจไม่ให้แห้งเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดอาการไอได้เช่นกัน

3. เลือกเครื่องดื่มร้อน เลี่ยงเครื่องดื่มเย็น

เมื่อเกิดอาการไอแบบมีเสมหะควรเลือกเครื่องดื่มร้อน หรือน้ำเปล่าที่อุณหภูมิห้อง หรืออาจเป็นน้ำซุปหรือแกงจืดร้อน ๆ เพื่อช่วยละลายเสมหะ และช่วยบรรเทาการระคายคอได้

4. หายใจผ่านผ้าชุบน้ำอุ่น

ใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นแล้วปิดหน้าไว้ พร้อมกับหายใจผ่านผ้าเปียก ซึ่งนี่เป็นวิธีสร้างความชุ่มชื้นให้แก่โพรงจมูกและลำคอแบบรวดเร็ว โดยความร้อนจากผ้าจะนำพาความชุ่มชื้นเข้าไปในระบบทางเดินหายใจและช่วยบรรเทาความเจ็บปวด รวมทั้ง ลดความดันภายในทางเดินหายใจได้ นอกจากนี้ วิธีนี้ยังช่วยลดอาการปวดหัวจากไซนัสอักเสบอย่างได้ผลอีกด้วย

5. ใช้น้ำเกลือสำหรับล้างจมูก

การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือถือเป็นวิธีขจัดเสมหะที่ได้ผลดี เนื่องจากเป็นการทำความสะอาดชำระล้างเอาสิ่งสกปรกที่ทำให้เกิดการอักเสบในโพรงจมูกและไซนัสออกไป อย่างไรก็ตาม ควรมองหาน้ำเกลือที่มีส่วนผสมของโซเดียมคลอไรด์และเป็นแบบ Sterile คือ ชนิดที่ทำให้ปราศจากเชื้อด้วยความร้อน และต้องมีฉลากระบุข้างขวดด้วยว่า “For irrigation” คือ “ใช้สำหรับชะล้าง”

6. กลั้วคอด้วยน้ำผสมเกลือ

วิธีนี้จะช่วยลดความระคายเคืองในลำคอ และช่วยกำจัดเสมหะที่เกาะติดอยู่ตามผนังหลอดลมออกไป โดยใช้เกลือ 1 ช้อนชาละลายกับน้ำอุ่น 1 แก้ว แล้วนำมากลั้วคอ สามารถทำได้หลายครั้งต่อวัน

7. หลีกเลี่ยงอากาศแห้งและอากาศเย็น

อากาศแห้งและเย็น เป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดความระคายเคืองในจมูกและลำคอ โดยจะไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเสมหะออกมามากขึ้น ทำให้อึดอัดและหายใจลำบาก หากอยู่ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ ควรปรับอุณหภูมิที่ 25 องศาเซลเซียส เพื่อไม่ให้อาการเย็นและแห้งเกินไป หรือถ้าใช้พัดลมก็ไม่ควรเปิดพัดลมเบอร์แรงหรือเปิดจ่อใส่ตัวโดยตรง

8. งดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการได้รับควันบุหรี่มือสอง

การสูบบุหรี่ และการได้รับควันบุหรี่จะไปกระตุ้นให้ร่างกายผลิตเสมหะมากขึ้น เพราะฉะนั้น ในผู้ที่สูบบุหรี่แล้วเกิดอาการไอ ควรงดสูบบุหรี่ หรือทางที่ดีควรเลิกสูบบุหรี่ ส่วนคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่ก็ควรหลีกเลี่ยงควันบุหรี่จากผู้อื่น เพื่อป้องกันการเกิดการระคายเคืองซึ่งจะทำให้อาการไอกำเริบ

9. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน

หากได้รับแอลกอฮอล์และคาเฟอีนในปริมาณมากเกินไปจะส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำ ซึ่งจะทำให้การขับเสมหะของร่างกายเป็นไปได้ยากขึ้น หากคุณต้องการกำจัดเสมหะ ก็ควรเลือกดื่มเครื่องดื่มร้อนที่ปราศจากคาเฟอีน จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

10. ลดการใช้ยาบรรเทาอาการคัดจมูก

ยาบรรเทาอาการคัดจมูก ส่งผลให้มีน้ำมูกมากขึ้น แต่จะทำให้เสมหะแห้ง ซึ่งก็จะส่งผลให้ร่างกายขับเสมหะออกมาได้ยากขึ้นนั่นเอง เพราะฉะนั้น หากคุณมีอาการไอแบบมีเสมหะ ควรลดปริมาณการใช้ยาประเภทนี้ลง

11. ใช้ยาแก้ไอสำหรับอาการไอแบบมีเสมหะ

การเลือกยาที่ถูกต้องกับอาการเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการกำจัดเสมหะ และบรรเทาอาการไออย่างมีประสิทธิภาพ ถ้ามีเสมหะก็ควรใช้ยาขับเสมหะ หรือ ยาละลายเสมหะ ที่ออกฤทธิ์กับเสมหะโดยตรง โดยยาประเภทนี้ จะมีตัวยาสำคัญที่เข้าไปทำให้เสมหะคลายความข้นเหนียวลง ส่งผลให้ร่างกายสามารถขับเสมหะได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ควรตรวจสอบส่วนประกอบด้วยว่า ยาขับเสมหะหรือยาละลายเสมหะที่คุณเลือกนั้น ไม่มีส่วนผสมของตัวยาในกลุ่มยาบรรเทาอาการคัดจมูกอยู่ด้วย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

19 Tips on How to Stop a Cough. https://www.medicinenet.com/how_to_stop_coughing/article.htm. Accessed 15 Feb 2019

Home remedies for phlegm and mucus. https://www.medicalnewstoday.com/articles/321134.php. Accessed 15 Feb 2019

Cough (2). http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=328. Accessed 15 Feb 2019

Ben-Joseph, E. P. (2015, September). Coughing. kidshealth.org/en/parents/childs-cough.html#. Accessed May 07, 2021

Cockroach allergy. (n.d.). acaai.org/allergies/types/cockroach-allergy. Accessed May 07, 2021

Cockroach allergy. (2015, October). aafa.org/page/cockroach-allergy.aspx. Accessed May 07, 2021

Dust allergy. (n.d.). acaai.org/allergies/types/dust-allergy. Accessed May 07, 2021

Mayo Clinic Staff. (2016, April 9). Common cold: Overview. mayoclinic.org/diseases-conditions/common-cold/home/ovc-20199807. Accessed May 07, 2021

Mayo Clinic Staff. (2016, April 9). Common cold: Treatment. mayoclinic.org/diseases-conditions/common-cold/diagnosis-treatment/treatment/txc-20199829. Accessed May 07, 2021

Mayo Clinic Staff. (2016, April 26). Coughing: Causes. mayoclinic.org/symptoms/cough/basics/causes/sym-20050846. Accessed May 07, 2021

Mayo Clinic Staff. (2016, April 26). Coughing: When to see a doctor. mayoclinic.org/symptoms/cough/basics/when-to-see-doctor/sym-20050846. Accessed May 07, 2021

Mayo Clinic Staff. (2014, July 31). GERD: Lifestyle and home remedies. mayoclinic.org/diseases-conditions/gerd/basics/lifestyle-home-remedies/con-20025201. Accessed May 07, 2021

Mayo Clinic Staff. (2014, July 31). GERD: Symptoms. mayoclinic.org/diseases-conditions/gerd/basics/symptoms/con-20025201. Accessed May 07, 2021

Steckelberg, J. M., M.D. (2015, June 5). Is it true that honey calms coughs better than cough medicine does? Retrieved from. mayoclinic.org/diseases-conditions/common-cold/expert-answers/honey/FAQ-20058031. Accessed May 07, 2021

What is asthma? (2014, August 4). nhlbi.nih.gov/health/health-topics/topics/asthma/. Accessed May 07, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/11/2022

เขียนโดย แวววิกา ศรีบ้าน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาแก้ไอ ยาขับเสมหะ ยาละลายเสมหะ สงสัยมั้ย ต่างกันอย่างไร

เสมหะ บอกอะไร เรียนรู้การถอดรหัสสุขภาพจากสีของเสมหะด้วยตนเอง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย แวววิกา ศรีบ้าน · แก้ไขล่าสุด 03/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา