backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

วัณโรค (Tuberculosis)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 21/02/2022

วัณโรค (Tuberculosis)

วัณโรค เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่จู่โจมและทำลายเนื้อเยื่อ แบคทีเรียชนิดนี้ติดต่อผ่านอากาศ และทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับสภาวะสุขภาพของผู้ป่วย

คำจำกัดความ

วัณโรค คืออะไร

วัณโรค (Tuberculosis: TB) เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่จู่โจมและทำลายเนื้อเยื่อ แบคทีเรียประเภทนี้เรียกว่า ไมโคแบคทีเรียม ทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis: MTB) และติดต่อผ่านอากาศ ผู้ป่วยหลายรายเจ็บป่วยจากการฟักตัวของเชื้อวัณโรคที่เรียกว่า วัณโรคระยะแฝง (latent tuberculosis) หลังจากนั้นเชื้อวัณโรคเริ่มทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับสภาวะสุขภาพของผู้ป่วย โดยใช้ระยะเวลาประมาณหลายสัปดาห์หรือนับปี

โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ป่วยมีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เช่น ติดเชื้อเอชไอวี มะเร็ง หรือได้รับเคมีบำบัด อาการของโรคจะลุกลามเร็วขึ้น โรคนี้มักส่งผลกระทบต่อปอดแต่สามารถลุกลามไปถึงกระดูก ต่อมน้ำเหลือง ระบบประสาทส่วนกลาง หัวใจ และอวัยะอื่น ๆ

วัณโรคพบบ่อยแค่ไหน

ในบางกรณี ระยะฟักตัวจะสั้นกว่าในผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง จากระยะของโรคที่พัฒนาขึ้น วัณโรคสามารถติดต่อได้โดยง่าย กลุ่มบุคคลดังต่อไปนี้มักป่วยหรือมีความเสี่ยงสูงในการเกิด โรควัณโรค

  • ติดเชื้อเอชไอวี หรือระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • อยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นวัณโรค
  • เป็นผู้ดูแลผู้ป่วยวัณโรค เช่น แพทย์ พยาบาล
  • อาศัยหรือทำงานในบริเวณที่มีผู้ป่วยวัณโรค เช่น ค่ายผู้อพยพ คลินิก
  • ผู้ที่อาศัยในพื้นที่ที่มีสุขอนามัยไม่ดี
  • ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้สารเสพติดมากเกินไป
  • ผู้ที่เดินทางไปยังสถานที่ที่วัณโรคระบาด ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น ประเทศแถบละตินอเมริกา แอฟริกา เอเชีย ยุโรปตะวันออก รัสเซีย

อาการ

อาการของ โรควัณโรค

ในระยะฟักตัวของเชื้อวัณโรค อาจไม่มีการแสดงอาการ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่มีอาการในขั้นนี้และไม่มีการแพร่เชื้อ เมื่อโรคพัฒนาขึ้น อาการจะเริ่มปรากฏ อาการต่าง ๆ อาจประกอบด้วยไอเรื้อรังนานอย่างน้อยสามสัปดาห์ มีเสมหะ หรือไอปนเลือด มีไข้ เหงื่อออกตอนกลางคืน ขึ้นอยู่กับว่าอวัยวะใดได้รับผลกระทบ

อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น ดังนั้น หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการ ควรปรึกษาแพทย์

ควรพบหมอเมื่อใด

ควรเข้าพบหมอหากมีไข้ น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุและเหงื่อออกตอนกลางคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดอาการไอเรื้อรังนานกว่า 3 สัปดาห์ คุณอาจมีความเสี่ยงเป็นวันโรค อาการที่กล่าวมาเป็นอาการทั่วไปของ โรควัณโรค แต่อาจเป็นอาการของโรคอื่น ๆ ได้ด้วยเช่นกัน แพทย์จะทำการตรวจเพื่อระบุถึงสาเหตุ

หากคุณมีสัญญาณหรืออาการที่ระบุไว้ข้างต้น หรือมีคำถาม ควรปรึกษาแพทย์ การเข้าพบแพทย์เพื่อพูดคุยถึงวิธีการรักษาที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ แต่ละคนอาจเกิดอาการแตกต่างกัน จึงควรพบหมอเพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับอาการ

สาเหตุ

สาเหตุของ โรควัณโรค

โรควัณโรค เกิดจากเชื้อแบคทีเรียทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium tuberculosis: MTB) ซึ่งแพร่ในอากาศ นั่นหมายความว่า คุณสามารถหายใจเอาเชื้อแบคที่เรียเข้าไปได้ เนื่องจากการอยู่ในบริเวณที่เชื้อโรคแพร่ผ่านการไอ

หลังจากที่เชื้อเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะไม่แสดงปฏิกิริยาใด ๆ ที่เรียกว่าระยะฟักตัว จึงไม่มีการแสดงอาการใดๆ และไม่มีการแพร่ของโรคในระยะนี้ หากคุณเข้ารับการตรวจ ผลอาจเป็นบวก เนื่องจากตรวจพบเชื้อ แม้ว่าจะไม่มีอาการก็ตาม ความเสี่ยงของวัณโรคสามารถลดลงได้ หากตรวจพบตั้งแต่ในขั้นนี้

อย่างไรก็ตาม ในผู้ติดเชื้อวัณโรคสิบคน มีหนึ่งคนที่โรคลุกลาม เชื้อจะส่งผลเสียต่อร่างกายเมื่อระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือเชื้ออาจรอจนกว่าระบบภูมิคุ้มกันจะอ่อนแอลง เช่น ในผู้สูงอายุ ผู้ที่อยู่ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี ดังนั้น ระยะฟักตัวอาจแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน เมื่อพ้นระยะนี้ เชื้อโรคจะแพร่เข้าสู่ปอด เส้นเลือดและส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงการเกิดวัณโรค

ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงของการเกิด โรควัณโรค ร่วมกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่อ่อนแอลง มีดังต่อไปนี้

  • เชื้อเอชไอวี เอดส์
  • โรคเบาหวาน
  • ภาวะไตวายขั้นสุดท้าย
  • มะเร็งบางชนิด
  • ขาดสารอาหาร
  • รับการรักษาโรคมะเร็ง เช่น เคมีบำบัด
  • อยู่ระหว่างการใช้ยารักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคโครห์น และสะเก็ดเงิน

หากไม่มีปัจจัยเสี่ยง ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่มีโอกาสเป็นโรค สัญญาณต่าง ๆ เป็นเพียงข้อมูลอ้างอิงเท่านั้น ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลนี้ไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำทางการแพทย์ได้ ควรปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัยวัณโรค

หากคุณเกิดอาการไอเรื้อรัง น้ำหนักลดหรือมีไข้ โดยไม่ทราบสาเหตุ คุณอาจเป็น โรควัณโรค  แพทย์จะซักถามถึงบริเวณที่อยู่ ที่ทำงานและผู้ที่คุณใกล้ชิดเพื่อระบุถึงสาเหตุของการติดเชื้อวัณโรค

แพทย์อาจดูประวัติการตรวจวัณโรคทางผิวหนัง ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อเอชไอวี การเดินทางต่างประเทศ และการทำงานในที่แจ้ง) เป็นหนึ่งในข้อบ่งชี้ของการตรวจวินิจฉัย

นอกจากนี้ แพทย์อาจทำการตรวจปฏิกิริยาทางผิวหนังต่อองค์ประกอบของวัณโรค โดยจะฉีดเชื้อแบคทีเรียที่มีโปรตีนประกอบอยู่ปริมาณเล็กน้อย เข้าสู่ผิวหนังใต้แขน จุดที่บวมขึ้นจะได้รับการตรวจหลังจากการฉีด 48-72 ชั่วโมง ขนาดของจุดที่บวมบริเวณที่ได้รับฉีด จะบ่งชี้ว่ามีเชื้อวัณโรคหรือไม่ หากผลเป็นบวก ปกติจะหมายความว่าผู้ที่รับการตรวจมีการติดเชื้อวัณโรค

หมออาจตรวจเพิ่มเติมด้วยการเอ็กซเรย์และตรวจเสมหะ ตรวจเลือดหรือปัสสาวะ เพื่อหาเชื้อวัณโรค รวมถึงอาจตรวจหาเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย

การรักษาวัณโรค

การรักษา โรควัณโรค สามารถทำได้ค่อนข้างง่าย โดยปกติ คุณต้องใช้ยาเป็นระยะเวลานาน 6 เดือนหรือมากกว่า วิธีการรักษาที่เหมาะสมประกอบด้วย การใช้ยาปฏิชีวนะ 3 -4 ครั้งต่อวัน อาการจะดีขึ้นภายในหนึ่งสัปดาห์

แต่เชื้อโรคอาจยังคงอยู่ สิ่งสำคัญคือการใช้ยาให้ครบแม้ว่าจะไม่มีอาการแล้วก็ตาม หากหยุดใช้ยาก่อนกำหนด เชื้อแบคทีเรียอาจยังคงอยู่ในร่างกาย และอาจเป็นวัณโรคซ้ำ และแพร่ไปยังส่วนอื่นๆของร่างกาย สมาชิกในครอบครัวและผู้ที่ใกล้ชิดกับคุณ ควรได้รับการตรวจคัดกรองด้วยเช่นกัน

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตนเองที่อาจช่วยจัดการกับวัณโรค

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการเยียวยาตนเอง ที่อาจช่วยรับมือกับ วัณโรค ได้แก่

  • ใช้ยาตามที่แพทย์สั่ง
  • ใช้กล่องยาเพื่อใช้ยาตามตารางเวลา
  • ปรึกษาแพทย์ถึงผลข้างเคียงของยา
  • รับการตรวจซ้ำตามกำหนด
  • ไม่แพร่เชื้อแก่ผู้อื่น
  • ปฏิบัติตามคำแนะนของแพทย์เกี่ยวกับความสะอาด
  • ปรึกษาแพทย์ หากเกิดอาการไข้หรือหนาวสั่น มีความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยา มีอาการเรื้อรังหรือรุนแรงขึ้นแม้ว่าอยู่ระหว่างการใช้ยา มีอาการไอร่วมกับเสมหะหรือมีเลือดปน

หากคุณมีคำถาม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อความเข้าใจการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 21/02/2022

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา