backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

โรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย (Bacterial Pneumonia)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/08/2021

โรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย (Bacterial Pneumonia)

โรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย หรือโรคปอดบวมจากแบคทีเรีย เป็นโรคที่สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงขึ้นได้ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเกี่ยวข้องกับโรคเรื้อรัง ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดฝีในปอด หายใจลำบาก รวมถึงเกิดการสะสมของแบคทีเรียภายในกระแสเลือดจนลุกลามไปทำลายอวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

คำจำกัดความ

โรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย คืออะไร

โรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย คือการอักเสบของปอดที่ติดเชื้อ ซึ่งเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยที่สุดมีชื่อเรียกว่านิวโมคอคคัส (Streptococcus pneumoniae) หากพื้นฐานสุขภาพค่อนข้างแข็งแรงเชื้อแบคทีเรียดังกล่าวนี้อาจจะอยู่เพียงบริเวณระบบทางเดินหายใจส่วนบน หรือลำคอ และไม่ก่อให้เกิดอันตรายรุนแรงใด ๆ แต่หากผู้ที่ได้รับเชื้อมีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอ แบคทีเรียก็อาจลงไปยังระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง คือบริเวณปอดได้

อาการ

อาการของ โรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย

ตามที่สมาคมโรคปอดแห่งสหรัฐอเมริกา (American Lung Association) ได้ระบุอาการทั่วไปของโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย ได้แก่

  • มีไข้สูง หนาวสั่น
  • อาการไอ และเสมหะสีเหลือง สีเขียว หรือเสมหะปะปนกับเลือด
  • รู้สึกเหนื่อยมากกว่าปกติ
  • ความอยากอาหารลดลง หรือเบื่ออาหาร
  • หายใจลำบาก โดยเฉพาะเวลาเคลื่อนไหวบ่อย ๆ
  • เจ็บหน้าอกรุนแรง หรือรู้สึกเหมือนมีอะไรทิ่มหน้าอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอาการไอร่วม

อาการข้างต้นสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ จากข้อมูลของสถาบันกุมารเวชศาสตร์แห่งอเมริกา (American Academy of Pediatrics) ระบุเพิ่มเติมว่าทารก และเด็กช่วงวัยหัดเดินอาจมีอาการร้องไห้กว่าปกติ มีสีผิวที่ซีด หากพบอาการดังกล่าวควรเข้ารับการรักษาจากคุณหมอในทันที เพื่อความปลอดภัย

สาเหตุ

สาเหตุของ โรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย

นสาเหตุที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคปอดอักเสบ เนื่องจากปอดมีการติดเชื้อแบคทีเรียส่งผลให้ถุงลมในปอดเกิดการติดเชื้อ จนได้รับความเสียหายทำให้การทำงานของปอด และถุงลมผิดปกติ จนกระทบต่อการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิจนเข้าสู่กระแสเลือดไปหล่อเลี้ยงตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงของ โรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย

ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงเสี่ยงเป็นโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย มีดังต่อไปนี้

  • ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
  • เป็นโรคหอบหืด โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคปอดบวมจากไวรัส โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคไต
  • อยู่ในช่วงรักษาตัวระหว่างการผ่าตัด
  • ร่างกายขาดวิตามิน และแร่ธาตุ
  • ผู้ที่สูดควันพิษเข้าไปในร่างกาย
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก
  • มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ
  • ติดเอชไอวี

ภาวะแทรกซ้อน

ภาวะแทรกซ้อนของโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเป็นโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย ได้แก่

  • ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว ซึ่งอาจเกิดขึ้นต่อเมื่อระดับออกซิเจนในปอดต่ำลง หรือมีระดับคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้นทำให้ปอดมีประสิทธิภาพการทำงานชะลอลง และอาจหยุดทำงานได้อย่างสมบูรณ์
  • การติดเชื้อของแบคทีเรียสะสมจำนวนมากจนส่งผลให้การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลว
  • ฝีในปอด ภาวะนี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีกลุ่มหนองก่อตัวอยู่ภายในปอด
  • ภาวะมีหนองในโพรงเยื่อหุ้มปอด เป็นการสะสมของหนองที่อยู่ในเยื่อหุ้มปอดบริเวณด้านนอกของปอด
  • การวินิจฉัยและการรักษา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย

    คุณหมออาจเริ่มการวินิจฉัยโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรียด้วยการสอบถามประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วยอย่างละเอียด และตรวจเสียงการทำงานของปอดว่ามีความปิดปกติหรือไม่ ผู้ป่วยยางรายอาจได้รับการเอ็กซ์เรย์ทรวงอก ซีทีแสกน (CT Scan) และวัดระดับปริมาณออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดเพิ่มเติม เพื่อเช็กประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนก๊าซขณะหายใจ

    การรักษาโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย

    การรักษาโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย อาจมุ่งเป้าไปที่การใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อไปยับยั้งการติดเชื้อแบคทีเรีย และบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ยาแก้ไอ ยาลดไข้ และยาแก้ปวด หากพบว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อจากแบคทีเรียในปอดอย่างรุนแรง แพทย์อาจต้องให้นอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เพื่อตรวจดูอาการอย่างใกล้ชิด และอาจจำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยหายใจร่วม

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตนเอง

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย

    หนึ่งในวิธีการป้องกันโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรียที่ควรปฏิบัติตาม คือการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดบวม โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

    • PCV13 เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และผู้ที่จัดอยู่ในเกณฑ์มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย
    • PPSV23 เหมาะสำกรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปีที่มีความเสี่ยงสูงเป็นโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีอายุระหว่าง 19-64 ปี ที่เป็นโรคหอบหืด แบะมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่

    นอกจากนี้ควรเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพเน้นผัก และผลไม้ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย งดสูบบุหรี่ และหมั่นล้างมือ หรือรักษาสุขอนามัยสม่ำเสมอ เพื่อลดการสัมผัสจากเชื้อแบคทีเรีย

    การวินิจฉัยและการรักษา

    ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

    การวินิจฉัยโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย

    คุณหมออาจเริ่มการวินิจฉัยโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรียด้วยการสอบถามประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วยอย่างละเอียด และตรวจเสียงการทำงานของปอดว่ามีความปิดปกติหรือไม่ ผู้ป่วยยางรายอาจได้รับการเอ็กซ์เรย์ทรวงอก ซีทีแสกน (CT Scan) และวัดระดับปริมาณออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดเพิ่มเติม เพื่อเช็กประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนก๊าซขณะหายใจ

    การรักษาโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย

    การรักษาโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย คุณหมออาจมุ่งเป้าไปที่การยับยั้งการติดเชื้อแบคทีเรีย ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น ยาแก้ไอ ยาลดไข้ และยาแก้ปวด หากพบว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อจากแบคทีเรียในปอดอย่างรุนแรง แพทย์อาจต้องให้นอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล เพื่อตรวจดูอาการอย่างใกล้ชิด และอาจจำเป็นต้องใส่เครื่องช่วยหายใจร่วม

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลตัวเอง

    การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หรือดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย

    หนึ่งในวิธีการป้องกันโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรียที่ควรปฏิบัติตาม คือการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดบวม โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

    • PCV13 เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และผู้ที่จัดอยู่ในเกณฑ์มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย
    • PPSV23 เหมาะสำกรับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ปีที่มีความเสี่ยงสูงเป็นโรคปอดอักเสบจากแบคทีเรีย ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีอายุระหว่าง 19-64 ปี ที่เป็นโรคหอบหืด แบะมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่

    นอกจากนี้ควรเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพเน้นผัก และผลไม้ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย งดสูบบุหรี่ และหมั่นล้างมือ หรือรักษาสุขอนามัยสม่ำเสมอ เพื่อลดการสัมผัสจากเชื้อแบคทีเรีย

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 31/08/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา