backup og meta

ยาสูดพ่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ใช้ยังไงให้ถูกวิธี

ยาสูดพ่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ใช้ยังไงให้ถูกวิธี

เมื่อต้องใช้ชีวิตอยู่กับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หรือ COPD คุณอาจจะคุ้นเคยกับตัวช่วยรับมือกับโรคนี้อย่าง ยาสูดพ่น แต่คุณรู้ไหมว่า วิธีใช้ ยาสูดพ่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร จริง ๆ แล้วยาสูดพ่นมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท คุณอาจจำเป็นต้องเพิ่มขนาดยา หรือศึกษาวิธีใช้ยาสูดพ่นใหม่ เพื่อประสิทธิภาพที่สูงสุดในการช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น

เคล็ดลับในการใช้ ยาสูดพ่น สำหรับ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อย่างถูกต้อง

  • หากคุณจำเป็นต้องพ่นยามากกว่า 1 ครั้งต่อขนาดยา ควรเว้นระยะเวลาระหว่างการพ่นยาแต่ละครั้ง อย่าพ่นยาติด ๆ กัน หรือพ่นยาถี่เกินไป หรือพ่นยาในขนาดยาที่เยอะเกินไปในแต่ละครั้ง
  • ขณะใช้ยาสูดพ่นควรนั่งหลังตรงหรือยืนตัวตรง
  • เมื่อกดพ่นยาก็หายใจเข้าทันที
  • กลั้นหายใจไว้ประมาณ 10 วินาทีหลังจากหายใจเข้า
  • ทำความสะอาดเครื่องพ่นยาเดือนละครั้ง ทำความสะอาดส่วนที่ใช้ปากเป่าหลังจากการใช้แต่ละครั้ง ทิ้งไว้ให้แห้งเองโดยไม่ใช้ผ้าเช็ด

ยาสูดพ่นมีอยู่ด้วยกันสองประเภทได้แก่

  1. Metered-dose inhalers (MDI)
  2. breath-activated inhalers หรือ dry powdered inhalers

การใช้ยาสูดพ่นประเภท Metered-dose inhaler (MDI) อย่างเหมาะสม

ยาสูดพ่นประเภท Metered-dose inhaler เป็นยาสูดพ่นชนิดที่พบได้ทั่วไป ทำงานโดยการส่งยาผ่านไปกับแก๊สอัดแรงดัน ที่ผลักเอายาให้ไปถึงยังปอด นี่เป็นหนึ่งในวิธีการใช้งานยาสูดพ่นประเภท MDI อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ก็ยังจำเป็นต้องร่วมกับการทำงานร่วมกันของส่วนอื่นอีก บางคนอาจจะมีปัญหากับการใช้ยาสูดพ่นประเภทนี้ ความผิดพลาดสามารถเกิดขึ้นได้จากการไม่เขย่าขวดก่อนใช้ หรือหายใจเข้าเร็วเกินไป หรือกลั้นหายใจหลังจากสูดเข้าไปไม่นานพอ

การใช้ยาสูดพ่นประเภท Breath-activated Inhaler อย่างเหมาะสม

Breath-activated inhaler หรือที่รู้จักในชื่อยาสูดพ่นชนิดผง จัดเป็นประเภทยาสูดพ่นที่ใช้งานง่ายกว่า เนื่องจากไม่จำเป็นต้องกดก่อนใช้งานหรือไม่มีการทำงานร่วมกับขั้นตอนอื่น ๆ ที่ยุ่งยาก โดยยาสูดพ่นประเภทนี้ยังคงอาศัยหลักการอัดแรงดันแก๊ส แต่ยาจะถูกส่งไปยังปอด คุณจำเป็นต้องหายใจเข้าไปยังส่วนที่ใช้ปากเป่าเต็มแรง เพื่อกระตุ้นให้ยาทำงาน และถูกส่งไปยังปอด

การใช้ยาสูดพ่นที่มาพร้อมกับสเปเซอร์ (Spacer) อย่างเหมาะสม

หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ยาสูดพ่น คุณอาจจำเป็นต้องใช้สเปเซอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทำให้คุณใช้งานยาสูดพ่นได้สะดวกขึ้น สเปเซอร์เป็นส่วนที่ต่อจากส่วนที่ใช้ปากเป่าเพื่อช่วยให้ยาเดินทางอย่างช้า ๆ มายังปาก เด็กและผู้สูงอายุส่วนมากอาจจำเป็นต้องใช้สเปเซอร์เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของยาสูดพ่น หากคิดว่าคุณอาจได้รับประโยชน์จากการใช้สเปเซอร์ ควรแจ้งให้เภสัชกรทราบ เครื่องพ่นยานี้สามารถรักษาความสะอาดโดยการใช้น้ำอุ่นแล้วปล่อยทิ้งไว้ค้างคืนให้แห้งและไม่ควรใช้ผ้าเช็ด

ขั้นตอนในการทำความสะอาดยาสูดพ่นของคุณ

การทำความสะอาดยาสูดพ่นนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะบริเวณส่วนที่ใช้ปากเป่า ขั้นตอนการทำความสะอาดมีดังนี้

  1. แยกส่วนถังโลหะจากยาสูดพ่น (หากยาสูดพ่นเป็นประเภท MDI)
  2. ตรวจให้แน่ใจว่าไม่มีวัตถุใดอุดตันอยู่ในเครื่อง
  3. ล้างส่วนที่ใช้ปากเป่าและฝาด้วยน้ำอุ่น
  4. ทิ้งให้แห้งข้ามคืน (ห้ามใช้ผ้าเช็ด)
  5. ในตอนเช้าให้นำส่วนถังโลหะกลับเข้าที่เดิม ปิดฝากลับเข้าที่เดิม
  6. ห้ามล้างส่วนอื่น ๆ ของยาสูดพ่น

เคล็ดลับเหล่านี้อาจช่วยให้คุณได้รับตัวยาจากการใช้ยาสูดพ่นมากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้คุณหายใจสะดวกขึ้น และลดอาการที่อาจเกิดขึ้นกะทันหัน อย่างไรก็ตาม หมั่นปรึกษาแพทย์และเภสัชกร ก่อนเปลี่ยนขนาดยา หรือประเภทยาสูดพ่น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Using your inhaler. http://www.nationalasthma.org.au/how-to-videos/using-your-inhaler. Accessed January 17, 2017.

How to Use Inhalers. http://www.upmc.com/patients-visitors/education/breathing/pages/use-inhalers.aspx/. Accessed January 17, 2017.

How to use an inhaler – no spacer. https://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000041.htm . Accessed January 17, 2017.

Inhalers – what are they and what do they do?. http://patient.info/blogs/sarah-says/2013/04/inhalers—what-are-they-and-what-do-they-do. Accessed January 17, 2017.

How to Use Your Inhaler. http://www.asthma.ca/adults/treatment/spacers.php . Accessed January 17, 2017.

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/06/2021

เขียนโดย วรภพ ไกยเดช

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ทุกสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง และผลกระทบต่อปอด

กินอย่างไรดี ถ้าหายใจลำบาก จากโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย วรภพ ไกยเดช · แก้ไขล่าสุด 18/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา