backup og meta

โรคหอบหืดตอนกลางคืน มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง ที่คุณควรสังเกต

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 17/06/2021

    โรคหอบหืดตอนกลางคืน มีสัญญาณเตือนอย่างไรบ้าง ที่คุณควรสังเกต

    หากขณะที่คุณกำลังนอนพักผ่อนอย่างสบายอารมณ์ในยามดึก จู่ ๆ กลับมาอาการหายใจไม่ออกแทรกขึ้นมา จนขัดขวางการนอนหลับของคุณ นั่งอาจเป็นสัญญาณของ โรคหอบหืดตอนกลางคืน ได้ แต่นอกจากอาการหายใจไม่ออกแล้ว จะมีสัญญาณเตือนอื่น ๆ อย่างไรอีกบ้างนั้น ติดตามในบทความ Hello คุณหมอ นี้ไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

    โรคหอบหืดตอนกลางคืน คืออะไร

    หอบหืดตอนกลางคืน (Nighttime Asthma) เป็นภาวะที่เกิดจากระบบทางเดินหายใจอักเสบ เนื่องจากสารก่อภูมิแพ้ และปัจจัยต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิที่หนาวเย็น ไรฝุ่น ขนสัตว์ หรืออาจเป็นอาการของผู้เป็น โรคหอบหืด มาแต่เดิม โรคหอบหืดในตอนกลางคืนนี้จะส่งผลเสียต่อการทำงานของปอด และทำให้ประสิทธิภาพการนอนหลับของคุณแย่ลง ทำให้มีอาการพักผ่อนไม่เพียงพอ และอ่อนแรงในยามเช้า

    มีงานวิจัยหนึ่งที่พบว่า หนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตในผู้ป่วย โรคหอบหืด อาจความเกี่ยวข้องกับหอบหืดตอนกลางคืน เนื่องจากโรคนี้อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจลำบากในขณะนอนหลับ จนสุดท้ายก็อาจหยุดหายใจขณะหลับได้โดยไม่รู้ตัว

    สัญญาณเตือนของโรคหอบหืดตอนกลางคืน

    อาการของโรคหอบหืดตอนกลางคืน เหล่านี้ อาจคล้ายคลึงกับ โรคหอบหืด ทั่วไป แต่อาจมีอาการแย่ลงเมื่อเข้าสู่ช่วงยามดึก

  • อาการไอ
  • หายใจไม่ออก
  • หายใจถี่
  • เจ็บหน้าอก
  • แต่หากมีสัญญาณ เช่น อาการละเมอ หยุดหายใจขณะหลับ และรู้สึกถึงพฤติกกรรมการนอนผิดปกติอื่น ๆ ที่ต่างจากเดิม ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพเบื้องต้น พร้อมแจ้งให้แพทย์ทราบในทันที เพื่อให้แพทย์หาวิธีรักษาอย่างเหมาะสมลำดับถัดไป

    วิธีป้องกันการเกิดโรคหอบหืดตอนกลางคืน

    นอกจากรับประทานยาบรรเทาอาการตามที่แพทย์กำหนดแล้ว วิธีป้องกันดังต่อไปนี้อาจสามารถช่วยลดอาการของ โรคหอบหืด ในตอนกลางคืนได้อีกขั้น เพื่อให้การนอนหลับพักผ่อนของคุณนั้นเป็นไปได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น

    • หมั่นทำความสะอาดห้องนอน ทุกซอกทุกมุม
    • เปลี่ยนและซักปลอกหมอน ผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน หรือดูดฝุ่นอย่างเป็นประจำ
    • หลีกเลี่ยงการนอนคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยง หรือจำกัดพื้นที่ให้กับสัตว์เลี้ยงอย่างเหมาะสม
    • หากคุณรู้สึกหายใจไม่ออก ให้ปรับเป็นท่านั่งตัวตรงสักพัก ก่อนโน้มตัวลงนอนอีกครั้ง
    • ใช้น้ำเกลือล้างโพรงจมูกเป็นประจำ
    • ดื่มน้ำเพิ่มความชุ่มชื้นให้ร่างกาย
    • ฝึกหายใจลึก ๆ เพื่อลดอาการหอบหืด
    • หาเครื่องเทำความชื้นมาติดห้องไว้ เนื่องจากอาการที่หนาวเย็นยามการคืนส่งผลให้สภาพอากาศภายในห้องคุณแห้งจนเกินไป
    • นอนหมอนสูงกว่าเดิมเล็กน้อย เพราะการนอนราบอาจทำให้มีอาการ โรคหอบหืด กำเริบได้

    ในกรณีที่คุณมีประวัติภาวะหยุดหายใจขณะหลับ อาจต้องมีเครื่อง และอุปกรณ์ที่ทำให้หายใจดวกขึ้น แต่อาจต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์เสียก่อนนำมาใช้ด้วยตนเอง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 17/06/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา