backup og meta

การให้ยาเคมีบำบัด หนึ่งทางเลือกรักษาโรคมะเร็ง

การให้ยาเคมีบำบัด หนึ่งทางเลือกรักษาโรคมะเร็ง

การให้ยาเคมีบำบัด เป็นหนึ่งทางเลือกของผู้ป่วยมะเร็งที่จะช่วยเยียวยา รักษามะเร็งไม่ให้ลุกลามไปไกล แล้วยาเคมีบำบัดมีอะไรบ้าง ออกฤทธิ์อย่างไรกับมะเร็ง วันนี้ Hello คุณหมอ มีความรู้ดี ๆ มาแบ่งปันไว้ที่นี่แล้วค่ะ

ประเภทของยาเคมีบำบัดมีอะไรบ้าง

การให้ยาเคมีบำบัดเป็นยาที่มักใช้เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งในร่างกาย หรืออาจใช้เพื่อเตรียมความพร้อมในการักษาอื่น ๆ เช่น การฉายรังสีหรือการผ่าตัด ซึ่งยาเคมีบำบัดที่ใช้ในการรักษามีหลายประเภทขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วยหรือระยะของมะเร็ง  โดยยาเคมีบำบัดจะแบ่งตามการออกฤทธิ์ ได้แก่

สารทำให้เป็นด่าง

สารทำให้เป็นด่างจะเข้าทำลาย DNA ของเซลล์มะเร็งและป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจาย สามารถใช้รักษามะเร็งที่เติบโตช้า ได้แก่

  • chlorambucil
  • cyclophosphamide
  • thiotepa
  • busulfan

อัลคาลอยด์จากพืช (plant alkaloids)

เป็นยาที่ได้จากพืชมีคุณสมบัติในการต่อต้านเนื้องอกที่ก่อให้เกิดเซลล์มะเร็ง แบ่งเป็นหมวดหมู่ ดังนี้

สารยับยั้ง Topoisomerase     

เป็นสารที่เข้าไปรบกวนเอนไซม์ Topoisomerase เพื่อป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งเกิดการแบ่งตัวและแพร่กระจาย ได้แก่

  • irinotecan
  • topotecan
  • teniposide

สารยับยั้ง Mitotic

เป็นสารที่เข้าไปยับยั้งเอนไซม์ที่เซลล์ต้องการใช้ในการสร้างโปรตีนบางชนิด ได้แก่

  • cabazitaxel
  • docetaxel
  • vinorelbine

ต่อต้านการเผาผลาญ

เป็นการเข้าไปแทนที่โครงสร้าง DNA ของเซลล์มะเร็งและเปลี่ยนแปลงการทำงานของเอนไซม์ ได้แก่

  • azacitidine
  • clofarabine
  • floxuridine

ยาปฏิชีวนะต่อต้านเนื้องอก

เป็นสารเคมีที่เข้าไปทำลายเซลล์มะเร็งโดยการคลายสาย DNA และป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ ได้แก่

  • doxorubicin
  • bleomycin
  • mitoxantrone

Corticosteroids

เป็นยาที่ใช้ในระหว่างการให้ยาเคมีบำบัดเพื่อรักษามะเร็งหรือป้องกันผลข้างเคียงต่าง ๆ ซึ่งยา Corticosteroids ก็อาจมาพร้อมกับผมข้างเคียงได้เช่นกัน ดังนี้

  • น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
  • เพิ่มความอยากอาหาร
  • อารมณ์แปรปรวน
  • ปัญหาการนอนหลับ
  • ท้องเสีย
  • ความดันโลหิตสูง

ยาอื่น ๆ

ยังมียาชนิดอื่น ๆ ที่ใช้เป็นเคมีบำบัดอีกมากมาย ได้แก่

  • hydroxyurea
  • mitotane
  • pegaspargase
  • estramustine
  • bexarotene

ผลข้างเคียงระหว่างการให้ยาเคมีบำบัด

ผลข้างเคียงที่พบบ่อยระหว่างการให้ยาเคมีบำบัด ได้แก่

  • คลื่นไส้/อาเจียน,ท้องผูก/ท้องร่วง เป็นอาการที่น่าเป็นห่วงแต่ปัจจุบันมียาที่ป้องกันอาการเหล่านี้ที่มักให้พร้อมกับเคมีบำบัด
  • ความไวต่อแสง ยาเคมีบำบัดบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการไวต่อแสงแดดจึงควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสง
  • ผมร่วง อาการผมร่วงอาจเกิดขึ้นในช่วงแรกของการให้เคมีบำบัด โดยจะงอกขึ้นใหม่เมื่อเสร็จสิ้นการรักษา
  • เกิดความเหนื่อยล้า เป็นผลข้างเคียงจากการได้รับเคมีบำบัดที่ให้ร่างกายเกิดความเหนื่อยล้า
  • เกิดแผลในปาก ในผู้ป่วยส่วนน้อยอาจเกิดแผลในปากซึ่งเป็นผลข้างเคียงจากการให้ยา
  • ปลายประสาทอักเสบ อาจมีอาการชา หรือเจ็บปวดบริเวณมือและเท้า

วิธีการให้ยาเคมีบำบัด

การฉีดยาเคมีบำบัด เป็นการให้ยาโดยการสอดเข็มเข้าไปในเส้นเลือดดำ บริเวณที่ฉีดอาจเป็นแขนหรือหน้าอกขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์

ยาเคมีบำบัดแบบเม็ด ยาเคมีบำบัดบางชนิดสามารถรับประทานเข้าร่างกายได้ในรูปแบบเม็ดหรือแคปซูล

ยาเคมีบำบัดชนิดครีม ยาเคมีบำบัดบางชนิดมาในรูปแบบครีมหรือเจล ใช้รักษามะเร็งผิวหนังบางชนิด

ยาเคมีบำบัดที่ใช้เฉพาะส่วน เป็นการให้ยาเคมีบำบัดเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยตรง

การให้ยาเคมีบำบัดโดยตรงกับมะเร็ง เป็นยาเคมีบำบัดที่สามารถรักษามะเร็งได้โดยตรงหรืออาจให้ยาหลังผ่าตัดในส่วนที่เป็นมะเร็งได้โดยตรง

การให้ยาเคมีบำบัด เป็นหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ป่วยมะเร็งแต่ขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายและระยะมะเร็งของผู้ป่วย จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อการรักษาอย่างถูกวิธี

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Chemotherapy. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/chemotherapy/about/pac-20385033. Accessed May 19. 2021

Chemotherapy to Treat Cancer. https://www.cancer.gov/about-cancer/treatment/types/chemotherapy. Accessed May 19. 2021

Hofman M, Ryan JL, Figueroa-moseley CD, Jean-pierre P, Morrow GR. Cancer-related fatigue: the scale of the problem. Oncologist. 2007;12 Suppl 1:4-10. doi:10.1634/theoncologist.12-S1-4. Accessed May 19. 2021

Weeks JC, Catalano PJ, Cronin A, et al. Patients’ expectations about effects of chemotherapy for advanced cancer. N Engl J Med. 2012;367(17):1616-25. doi:10.1056/NEJMoa1204410. Accessed May 19. 2021

Types of chemotherapy drugs. (n.d.).
training.seer.cancer.gov/treatment/chemotherapy/types.html. Accessed May 19. 2021

Chemotherapy: Risks and side effects. (n.d.).
marshfieldclinic.org/specialties/cancer-care/cancer-chemotherapy-side-effects. Accessed May 19. 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/05/2021

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ในช่วงทำเคมีบำบัด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 31/05/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา