backup og meta

การทดสอบ PCA3 เทคนิคการตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากที่ควรรู้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 02/04/2021

    การทดสอบ PCA3 เทคนิคการตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมากที่ควรรู้

    ส่วนใหญ่มะเร็งต่อมลูกหมากมักพบได้บ่อยในผู้ชาย โดยเกิดจากเซลล์ต่อมลูกหมากมีการแบ่งตัว และเจริญเติบโตผิดปกติจนมีลักษณะเป็นก้อนมะเร็งอยู่ภายใน อีกทั้งยังสามารถแพร่กระจายผ่านกระแสเลือดที่อาจไปทำลายระบบการทำงานอื่น ๆ ให้เสียหายได้ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำความรู้เกี่ยวกับเทคนนิค การทดสอบ PCA3 เพื่อ ตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก มาฝากคุณผู้ชายทุก ๆ คนให้ได้ทราบกันค่ะ

    การทดสอบ PCA3 คืออะไร

    การตรวจแอนติเจนในมะเร็งต่อมลูกหมาก 3 หรือที่เรียกกันว่า “The prostate cancer antigen 3 gene (PCA3)’ เป็นเทคนิคที่ใช้ทดสอบ หรือคัดกรองโปรตีนผิดปกติที่สามารถบ่งชี้ว่า คุณมีเซลล์มะเร็งอยู่หรือไม่ หากกรณีคุณมีระดับที่ต่ำกว่า 35 ก็หมายความได้ว่าคุณกำลังมีความเสี่ยงต่ำที่ และแพทย์อาจไม่แนะนำให้มีการนำชิ้นเนื้อไปตรวจเพิ่ม แต่อาจหาเทคนิคอื่นเข้ามาทดแทน ส่วนผู้ที่มีในระดับ 35 ขึ้นไป สามารถเป็นไปได้ว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะเผชิญกับมะเร็งต่อมลูกหมากสูง อีกทั้งแพทย์อาจต้องขอให้คุณเข้ารับการตรวจชิ้นเนื้อเพิ่ม  เพื่อแสดงถึงผลลัพธ์ที่แม่นยำมากขึ้น

    ขั้นตอน ตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก ด้วยการทดสอบ PCA3

    ในการ ตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก แพทย์อาจใช้วิธีทดสอบทั้ง 2 รูปแบบ ดังต่อไปนี้

    • การตรวจทางทวารหนัก

    แพทย์อาจมีการค้นหาก้อนแข็ง หรือความผิดปกติอื่น ๆ รอบทวารหนัก พร้อมมีการนวดต่อมลูกหมากเล็กน้อย เพื่อให้กระตุ้นโปรตีน PCA3 เข้าสู่ปัสสาวะ

    • การทดสอบปัสสาวะ

    เป็นการทดสอบหลังจากขั้นตอนแรก โดยแพทย์จะนำปัสสาวะเข้าไปตรวจในห้องปฏิบัติการเฉพาะทาง เพื่อการวิเคราะห์ผล โดยคุณสามารถทราบได้ภายใน 2-3 วัน

    บางครั้งแพทย์อาจมีการทดสอบเพิ่มด้วยการตรวจชิ้นเนื้อ หรือนำเซลล์บางส่วนเข้าห้องปฏิบัติการอีกรอบ และมีการอัลตร้าซาวด์เซลล์ต่อมลูกหมากเพิ่ม เพื่อให้เห็นภาพของเซลล์มะเร็งได้ชัดมากยิ่งขึ้น

    ปัจจัยใดบ้างที่ควรระวัง

    การ ตรวจหามะเร็งต้อมลูกหมาก ด้วยเทคนิคนี้ เป็นการวัดระดับ PSA โดยการตรวจหาแอนติเจนบริเวณต่อมลูกหมาก หากผลออกมาอยู่ในระดับสูง โดยพบว่า มีการเพิ่มระดับขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็สามารถส่งผลให้คุณเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้ โดยอาจมาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ร่วมด้วย

    หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เพิ่มเติม หรือมีอาการผิดปกติอย่าง ปัสสาวะไม่สุด ปัสสาวะบ่อยในเวลากลางคืน และมีอาการแสบเจ็บปวดขณะปัสสาวะ โปรดเข้าขอรับการตรวจอย่างละเอียดจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ เพื่อทำการวินิจฉัย และประเมิน วางแผนการรักษาได้อย่างทันท่วงที

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 02/04/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา