backup og meta

มะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย พร้อมวิธีการดูแลผู้ป่วย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 31/08/2021

    มะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย พร้อมวิธีการดูแลผู้ป่วย

    มาทำความรู้จักกับ มะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย หรือระยะที่ 4 ซึ่งอาจสามารถส่งผลกระทบต่าง ๆ ของคุณผู้ชายได้ โดยเฉพาะกิจวัตรประจำวันที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง แล้วสามารถสังเกตอาการได้จากอะไรบ้าง ไปดูกันเลย

    มะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย คืออะไร

    มะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้ายคือ มะเร็งได้พัฒนาตัวออกจากต่อมลูกหมากไปสู่อวัยวะอื่น ซึ่งมะเร็งต่อมลูกหมากนั่นมีโอกาสที่จะลุกลามไปเป็นมะเร็งกระดูกและต่อมน้ำเหลืองได้ รวมไปถึงยังสามารถแพร่กระจายไปในบริเวณใกล้เคียง โดยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย หรือระยะที่ 4 ยังสามารถแบ่งออกเป็น ระยะที่ 4A และ 4B ซึ่งสามารถวัดได้จากค่า PSA และ Gleason score

    อาการมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย

    โดยผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย มักจะมีอาการดังต่อไปนี้

  • ปัสสาวะลำบากมากยิ่งขึ้น
  • เวลาปัสสาวะมีอาการเจ็บ
  • มีเลือดในน้ำอสุจิ
  • แขน ขาไม่มีแรง อ่อนเพลียง่ายผิดปกติ
  • ขาบวม เท้าบวม ในบางรายอาจถึงขั้นเดินไม่ได้
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
  • น้ำหนักลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
  • ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป แต่อาการเหล่านี้ถือเป็นสัญญาณที่ให้เหล่าคุณผู้ชายลองสังเกตตนเองได้

    การรักษา มะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย

    หากตรวจพบมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย แสดงว่ามะเร็งได้แพร่กระจายออกนอกต่อมลูกหมากแล้ว ซึ่งมีการรักษา แต่ก็ไม่อาจสามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็ถือเป็นอีกทางเลือกที่ดีที่ช่วยบรรเทาอาการและให้ผู้ป่วยมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น ได้แก่

    • การรักษาด้วยรังสี โดยใช้รังสีเอกซ์พลังงานสูงเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง ซึ่งสามารถช่วยลดเนื้องอกและบรรเทาอาการ การฉายรังสีอาจใช้ร่วมกับการรักษาด้วยฮอร์โมน หรืออาจใช้หลังการผ่าตัดเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งที่อาจหลงเหลือ
    • การผ่าตัด มักไม่ค่อยใช้เพื่อรักษามะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย แต่อาจแนะนำผู้ป่วยในบางสถานการณ์
    • เคมีบำบัด ช่วยชะลอการเติบโตของเซลล์มะเร็ง บรรเทาอาการของโรคมะเร็ง และยืดอายุของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย
    • ฮอร์โมนบำบัด เพื่อหยุดให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศชาย หรือเพื่อป้องกันผลกระทบของฮอร์โมนเพศชายในมะเร็ง เนื่องจากเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากพึ่งพาฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนเพื่อช่วยให้พวกมันเติบโต
    • การดูแลแบบประคับประคอง เป็นการดูแลของแพทย์เฉพาะทางที่เน้นการบรรเทาความเจ็บปวดและอาการอื่น ๆ โดยทำงานร่วมกับผู้ป่วย ครอบครัว และแพทย์คนอื่น ๆ ซึ่งสามารถใช้ในขณะที่ทำการรักษาแบบอื่น ๆ เช่น การผ่าตัด เคมีบำบัด การฉายรังสี

    การดูแลผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย

    เมื่อรู้ว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากระยะสุดท้าย ผู้ป่วยอาจมีความวิตกกังวลและความเครียดได้ แต่สิ่งเหล่านี้อาจช่วยให้ผู้ป่วยบรรเทาอาการเหล่านั้นได้มากขึ้น ได้แก่

    • การเรียนรู้เกี่ยวกับมะเร็งต่อมลูกหมาก เพื่อศึกษาให้เข้าใจมากขึ้น และอาจช่วยให้สามารถต่อสู้กับโรคนี้ได้อย่างไม่เครียดจนเกินไป
    • การสอบถามข้อมูลกับแพทย์ เกี่ยวกับอาการและวิธีการรักษาเพื่อเยียวยาและประกอบการตัดสินใจในการรักษา
    • หาผู้ฟังที่ดี ไม่ว่าจะเป็นเพื่อน หรือสมาชิกในครอบครัวที่พร้อมจะเข้าใจ และแสดงความห่วงใยจากใจจริง
    • ไม่พูดอะไรที่บั่นทอนหรือกระทบจิตใจของผู้ป่วย
    • รับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เน้นทานผักผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่มีคุณประโยชน์
    • พักผ่อนให้เพียงพอ พร้อมปล่อยวาง เพื่อลดอาการที่อาจก่อให้เกิดความเครียดเพิ่มขึ้น
    • การออกไปข้างนอกบ้าง ไม่ควรอยู่ในที่เดิม ๆ

    และที่สำคัญ คือ การปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอที่ให้การรักษาอย่างเคร่งครัด เพื่อประคับประคองอาการไม่ให้เป็นหนักมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งทางที่ดีเหล่าคุณผู้ชายทั้งหลายควรหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายอย่างเป็นประจำ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 31/08/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา