backup og meta

ความลับที่ไม่ลับ เกี่ยวกับ สัญญาณเตือนมะเร็งต่อมลูกหมาก

ความลับที่ไม่ลับ เกี่ยวกับ สัญญาณเตือนมะเร็งต่อมลูกหมาก

ต่อมลูกหมาก เป็นต่อมที่อยู่รอบท่อปัสสาวะส่วนต้นบริเวณปากทางออกของกระเพาะปัสสาวะ มีรูปร่างลักษณะคล้ายเม็ดเกาลัด ทำหน้าที่ผลิตน้ำเมือกและน้ำหล่อเลี้ยงตัวอสุจิที่มีความสำคัญต่อระบบสืบพันธุ์เพศชาย แต่ถ้าหากมีความผิดปกติบางอย่าง อาจเป็น สัญญาณเตือนมะเร็งต่อมลูกหมาก ก็เป็นได้ ซึ่งสัญญาณเตือนที่เกิดขึ้นนั้นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ดังนั้น เหล่าคุณผู้ชายควรรู้สัญญาณเตือนเอาไว้ เพื่อจะได้ระมัดระวังและสังเกตตัวเองให้มากขึ้น

มะเร็งต่อมลูกหมาก คือ

มะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer) เป็นมะเร็งชนิดหนึ่งที่พบได้บ่อยในผู้ชาย  โดยเกิดจากเซลล์ต่อมลูกหมากเจริญเติบโตผิดปกติ และรวดเร็วจนกลายเป็นก้อนมะเร็งอุดตันทางเดินปัสสาวะ โดยเซลล์มะเร็งเหล่านี้สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น ไต ตับ และปอด ทำให้อวัยวะเหล่านั้นเสียหายได้

สัญญาณเตือนมะเร็งต่อมลูกหมาก มีอะไรบ้าง

เหล่าคุณผู้ชายสามารถสังเกตสัญญาณเตือนมะเร็งต่อมลูกหมากเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง โดยสัญญาณเตือนมะเร็งต่อมลูกหมากมีดังนี้

  • เวลาปัสสาวะรู้สึกลำบาก
  • รู้สึกเหมือนปัสสาวะยังไม่สุด
  • ปัสสาวะบ่อยในช่วงกลางคืน หรือตอนดึก
  • ปัสสาวะไม่พุ่ง หรือปัสสาวะแล้วเลอะเท้า
  • ปวดและรู้สึกแสบร้อนเวลาปัสสาวะ
  • มีเลือดผสมปนมากับปัสสาวะ หรือในน้ำอสุจิ
  • รู้สึกไม่สบายหรือปวด เวลานั่งเนื่องจากต่อมลูกหมากโต
  • เริ่มมีอาการของการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

สัญญาณเตือนมะเร็งต่อมลูกหมากอื่น ๆ ที่สามารถพบเจอ

  • ปวดหลัง สะโพก ต้นขา ไหล่ หรือกระดูก
  • น้ำหนักลดลงอย่างไม่ทราบสาเหตุ
  • อาการบวมที่ขา หรือเท้า (บวมน้ำ)
  • รู้สึกเหนื่อยง่าย เมื่อยล้า

อาการเหล่านี้อาจเกิดจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่มะเร็งต่อมลูกหมากก็ได้ แต่อาการที่กล่าวมาข้างต้นนั้นอาจเป็นเพียง อาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก เบื้องต้น ดังนั้น หากคุณรู้สึกมีอาการผิดปกติตามที่กล่าวมาข้างต้น หรือไม่แน่ใจในอาการที่เกิดขึ้น การไปพบคุณหมอเพื่อขอรับการวินิจแันและรับคำแนะนำเพิ่มเติม จึงเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างยิ่ง

ใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก

แม้ว่าผู้ชายบางคนอาจจะไม่มี สัญญาณเตือนมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่ก็ควรเข้ารับการตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยผู้ที่ควรเข้ารับการตรวจมะเร็งต่อมลูกหมาก ได้แก่

  • ผู้ชายที่มีอายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีอาการดังกล่าวเบื้องต้น
  • คนในครอบครัวมีประวัติการเป็นมะเร็ง
  • ผู้ที่เป็นโรคอ้วนอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก
  • ผู้ที่รับประทานเนื้อสัตว์ หรืออาหารที่มีไขมันสูงเป็นประจำ
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ภาวะแทรกซ้อนมะเร็งต่อมลูกหมาก

โรคนี้เป็นโรคที่เกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ เมื่อเซลล์มะเร็งเกิดการกระจายและแพร่เข้าไปในอวัยวะใกล้เคียงจะทำให้เกิดผลแทรกซ้อนตามมา เช่น

  • การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ อาจเกิดจากมะเร็งต่อมลูกหมากหรือการรักษา เช่น การผ่าตัด การฉายรังสี หรือการรักษาด้วยฮอร์โมน
  • การแพร่กระจายของมะเร็ง อาจเกิดการแพร่กระจายไปยังอวัยวะบริเวณใกล้ เช่น กระเพาะปัสสาวะ หรือแพร่กระจายผ่านทางกระแสเลือดหรือระบบต่อมน้ำเหลืองไปยังกระดูกและอวัยวะอื่น ๆ มะเร็งต่อมลูกหมากที่แพร่กระจายไปยังกระดูกอาจทำให้เกิดอาการปวด และอาจทำให้กระดูกหักได้
  • ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคและผลข้างเคียงของการรักษา เนื่องจาก อยู่ติดกับเส้นประสาทและกล้ามเนื้อที่ควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะ

เนื่องจาก มะเร็งต่อมลูกหมากดำเนินไปอย่างช้า ๆ ทำให้คุณสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานหลายสิบปี โดยที่ไม่มีอาการหรือต้องเข้ารับการรักษา อย่างไรก็ตาม มะเร็งต่อมลูกหมากก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคุณ เช่นเดียวกับผลข้างเคียงที่จะรักษาโรค เพราะฉะนั้น เหล่าคุณผู้ชายควรหมั่นสังเกตสุขภาพร่างกายอย่างสม่ำเสมอ หากพบความผิดปกติจะได้รีบปรึกษาแพทย์และรักษาได้อย่างทันท่วงที

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Prostate cancer. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/prostate-cancer/symptoms-causes/syc-20353087. Accessed July 19, 2021

Prostate Cancer: Symptoms and Signs. https://www.cancer.net/cancer-types/prostate-cancer/symptoms-and-signs. Accessed July 19, 2021

Prostate cancer. https://www.nhs.uk/conditions/prostate-cancer/. Accessed July 19, 2021

What to know about prostate cancer. https://www.medicalnewstoday.com/articles/150086#1. Accessed July 19, 2021

What Are the Symptoms of Prostate Cancer?. https://www.cdc.gov/cancer/prostate/basic_info/symptoms.htm. Accessed July 19, 2021

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

20/07/2021

เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ค่า psa คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับมะเร็งต่อมลูกหมาก

ความเครียด ส่งผลต่อโรคต่อมลูกหมากโต ได้อย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย นนทกร บัณฑิตสินทรัพย์ · แก้ไขล่าสุด 20/07/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา