backup og meta

รอดชีวิตจากมะเร็งปอด ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้!

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 08/02/2021

    รอดชีวิตจากมะเร็งปอด ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้!

    การ รอดชีวิตจากมะเร็งปอด ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่ขึ้นอยู่ว่าคุณเป็นมะเร็งระยะใดแล้ว ถึงแม้สถิติของการมีชีวิตรอดจากมะเร็งปอดอาจดูต่ำ จนทำให้คุณหมดกำลังใจ แต่ตัวเลขเหล่านั้นก็เป็นเพียงการประมาณการณ์เท่านั้น ตัวคุณเองสามารถที่จะชะลอการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็งได้ ด้วยการดูแลสุขภาพของตัวเองและป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับปอด สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง Hello คุณหมอ มีวิธีการที่จะช่วยให้คุณเป็นผู้รอดชีวิตจากมะเร็งปอดได้มาฝาก ดังต่อไปนี้

    วิธีที่ช่วยเพิ่มโอกาส รอดชีวิตจากมะเร็งปอด

    1. เข้ารับการรักษาและการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง

    ในระหว่างการรักษา คุณอาจได้รับผลข้างเคียงทั้งระยะสั้น เช่น คลื่นไส้ ไม่อยากอาหาร ผมร่วง อ่อนเพลีย และผลข้างเคียงระยะยาวที่อาจกินเวลาเป็นปี หลังจากเข้ารับการรักษา ผลข้างเคียงเหล่านี้อาจส่งผลทั้งทางร่างกายและอารมณ์ หากคุณมีอาการเกี่ยวกับผลข้างเคียงระยะยาวของการรักษา ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีการในการหลีกเลี่ยง

    การดูแลติดตามผลการรักษา มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการรักษา เพราะช่วยลดความเสี่ยงในการกลับมาเป็นมะเร็งปอดอีกครั้ง คุณและแพทย์ควรช่วยกันวางแผนการดูแลติดตามผล ซึ่งประกอบด้วย การเข้ารับการตรวจทางการแพทย์ และการตรวจร่างกาย เพื่อติดตามการฟื้นฟูร่างกายของคุณอย่างใกล้ชิดต่อไป

    แพทย์สามารถช่วยให้คุณกลับไปมีชีวิตตามปกติได้ แต่คุณควรสังเกตร่างกายของตนเองขณะอยู่บ้านอยู่เป็นประจำ เพื่อเฝ้าระวังสัญญาณที่ผิดปกติกับร่างกาย และรีบแจ้งแพทย์ทันที

    2. คิดบวกอยู่เสมอ ก็ช่วยให้ รอดชีวิตจากมะเร็งปอด ได้

    คุณอาจเคยได้ยินถึงพลังของความคิดที่ส่งผลต่อร่างกาย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์รับรองแล้วว่าเป็นเรื่องจริง นั่นหมายความว่า ความคิดในแง่ลบและความเครียด เป็นอุปสรรคต่อการรักษาโรคมะเร็งปอด จากการศึกษาพบว่า เมื่อผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลามที่เครียดเข้ารับการรักษาเคมีบำบัด พวกเขาสามารถมีชีวิตอยู่ได้เพียงครึ่งหนึ่ง ของช่วงเวลาซึ่งผู้ป่วยที่ไม่เครียดสามารถอยู่ได้

    งานวิจัยที่เกี่ยวกับค่ามัธยฐานระยะปลอดเหตุการณ์ (ซึ่งหมายถึงจำนวนเวลาหลังจากที่ร้อยละ 50 ของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ และอีกร้อยละ 50 ของผู้ที่เสียชีวิตไป) มีค่าสั้นกว่าเป็น 4 เท่า ในกลุ่มผู้ที่มีความเครียด

    อย่าให้อัตราการมีชีวิตรอดจากมะเร็งปอดในระดับต่ำทำให้คุณหมดกำลังใจ เพราะอัตราดังกล่าวเป็นเพียงการคาดการณ์ที่อ้างอิงจากผู้ป่วยมะเร็งโดยเฉลี่ย คุณควรคิดบวกเพื่อสร้างกำลังใจในการต่อสู้กับมะเร็งปอด และเอาตัวรอดจากโรคร้ายนี้ไปให้ได้

    3. มีวินัยในการกินและออกกำลังกายสม่ำเสมอ

    หากแพทย์ไม่ได้แนะนำวิธีการอื่นๆ สิ่งที่คุณต้องทำ ก็คือ การทำให้เลือดไหลเวียนเข้าสู่ปอดอย่างสม่ำเสมอ ควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เมื่อเลือดไหลเวียนได้ดี ออกซิเจนเข้าสู่ปอดได้มาก ทำให้คุณหายใจได้สะดวกขึ้น

    การทำให้เลือดไหลเวียนไม่ได้หมายความว่าคุณต้องเข้ายิม แต่เพียงคุณออกกำลังกายอย่างน้อย 15 นาทีสัปดาห์ละ 3 ครั้ง อย่าหักโหมมากเกินไป ร่างกายจะส่งสัญญาณบอกขีดจำกัดของคุณเอง และคุณควรเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตัวเอง โดยใช้ระยะเวลาการออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ

    การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ จำเป็นทั้งในระหว่างการรักษาและหลังการรักษา อาหารที่มีประโยชน์จะช่วยให้ร่างกายได้สารอาหารที่จำเป็น เพื่อช่วยให้ปอดฟื้นฟูได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นมะเร็งปอดอีกด้วย

    4. เข้ารับการสนับสนุนในสิ่งที่คุณต้องการ

    การศึกษาเปิดเผยว่า ผู้ที่มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมากกว่า มีแนวโน้มที่จะรอดชีวิตจากโรคต่าง ๆ รวมถึงโรคมะเร็ง ได้ถึงร้อยละ 50 งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งพบว่า แรงสนับสนุนที่เหมาะสมช่วยลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตได้ถึงร้อยละ 25

    การได้รับแรงสนับสนุนจากเพื่อนและครอบครัวเป็นสิ่งที่สำคัญ การพูดคุยกับผู้อื่นเพื่อบอกเล่าความรู้สึกของคุณ จะช่วยให้คุณจัดการกับอารมณ์และเผชิญหน้ากับปัญหาจากโรคมะเร็งปอดได้ กลุ่มสนับสนุนทำให้คุณเชื่อมโยงตัวคุณเองกับผู้ที่ประสบปัญหาเดียวกัน โรคมะเร็งปอดส่งผลกระทบต่อทั้งตัวผู้ป่วยและคนรอบข้าง ดังนั้น การสร้างเครือข่ายสนับสนุนจึงเป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งในการดูแลการรักษาโรค

    ถึงแม้ว่าผู้ป่วยมะเร็งปอดส่วนใหญ่ มักพึ่งการรักษาด้วยยา แต่แท้ที่จริงแล้ว ยังมีอีกหลายวิธีที่จะช่วยให้คุณเพิ่มโอกาสในการมีชีวิตอยู่ต่อไปจากโรคมะเร็งปอดได้ โดยที่ไม่ต้องใช้รังสีหรือเคมีใด ๆ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ฤทธิศักดิ์ วงศ์วุฒิพงษ์ · แก้ไขล่าสุด 08/02/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา