มะเร็งปอด

จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) เผยว่า มะเร็งปอด เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด โรคมะเร็งปอดทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมและนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ย่ำแย่ได้ แต่หากคุณรู้เท่าทันโรคมะเร็งปอด ก็จะช่วยให้คุณสามารถรับมือกับโรคนี้ได้ดีขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

มะเร็งปอด

การรักษามะเร็งปอด มีกี่วิธี แล้วมีผลข้างเคียงหรือไม่อย่างไร

ในปัจจุบัน โรคมะเร็งถือเป็นอีกหนึ่งโรคที่คร่าชีวิตคนที่เรารัก รวมไปถึงโรคมะเร็งปอดด้วย เนื่องจากการกว่าจะเจออาการ มะเร็งก็อาจลุกลามไปส่วนอื่น ๆ แต่ใช่ว่าจะไม่มีวิธีการรักษา ดังนั้นมาดู การรักษามะเร็งปอด และผลข้างเคียงของการรักษา ประเภทของมะเร็งปอด มีอะไรบ้าง มะเร็งปอดแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ 2 ประเภท คือ ชนิดเซลล์ขนาดเล็ก (small cell lung cancer) และชนิดเซลล์ไม่ใช่เซลล์เล็ก (non-small cell lung cancer) ซึ่งในกลุ่มหลังนี้พบได้ 85% ของมะเร็งปอดทั้งหมด และในกลุ่มนี้ยังมีแยกย่อยออกเป็นชนิดต่างๆ อีกหลายชนิด เช่น เซลล์สความัส มะเร็งเซลล์ขนาดใหญ่ มะเร็งต่อมน้ำเหลือง ส่วนชนิดเซลล์ขนาดเล็กแบ่งออกเป็น มะเร็งเซลล์ขนาดเล็ก และมะเร็งเซลล์ขนาดเล็กร่วม การรักษามะเร็งปอด มีวิธีใดบ้าง การรักษามะเร็งปอดนั้น แพทย์จะพิจารณาการรักษาเฉพาะสำหรับมะเร็งปอด โดยอาจพิจารณาจาก อายุ สุขภาพของผู้ป่วย ประวัติการรักษาต่าง ๆ ชนิดของมะเร็งปอด ระยะของโรค โดยแผนการรักษาที่แพทย์อาจจะแนะนำขึ้นอยู่กับว่าเป็นมะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก หรือมะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก ซึ่งการตัดสินใจเลือกวิธีการรักษาที่ดีอาจเป็นเรื่องยาก ดังนั้นมาดูวิธีการรักษาว่ามีวิธีใดบ้าง การรักษามะเร็งปอด :การผ่าตัด การผ่าตัดมะเร็งปอดแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่ Pneumonectomy คือ […]

สำรวจ มะเร็งปอด

มะเร็งปอด

ความเชื่อเกี่ยวกับมะเร็งปอด 7 เรื่องนี้ อันไหนจริง อันไหนหลอก มาดูกัน

โรคมะเร็งปอด เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบได้มากเป็นอันดับต้น ๆ ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย แต่ถึงแม้จะเป็นโรคที่พบได้บ่อย และเราได้ยินชื่อกันมานาน แต่เราเชื่อว่าหลาย ๆ คนก็ยังคงเข้าใจโรคนี้ผิดอยู่ในหลายเรื่อง วันนี้ Hello คุณหมอ มี 7 ความเชื่อเกี่ยวกับมะเร็งปอด พร้อมข้อเท็จจริงมาฝาก คุณจะได้เข้าใจโรคมะเร็งปอดกระจ่างขึ้น 7 ความเชื่อเกี่ยวกับมะเร็งปอด ที่ควรรู้ให้กระจ่าง ความเชื่อ เกี่ยวกับมะเร็งปอดข้อที่ 1 สูบบุหรี่มาตั้งหลายปี เลิกตอนนี้ก็คงไม่ทันแล้ว ข้อเท็จจริง ไม่ว่าคุณจะสูบบุหรี่มานานแค่ไหน แต่เมื่อคุณเลิกบุหรี่ ร่างกายของคุณก็จะได้รับผลดีจากการเลิกบุหรี่แทบจะทันที เมื่อคุณเลิกสูบบุหรี่ เลือดจะไหลเวียนได้ดีขึ้น ปอดทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แถมความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปอดของคุณก็จะค่อย ๆ ลดลงด้วย โดยผู้เชี่ยวชาญเผยว่า หากคุณเลิกบุหรี่ติดต่อกันได้เกิน 10 ปี ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดจะลดลงไปถึง 50% เมื่อเทียบกับคนที่ยังสูบบุหรี่อยู่ ความเชื่อ เกี่ยวกับมะเร็งปอดข้อที่ 2 เป็นมะเร็งปอดแล้ว เลิกบุหรี่ไปก็ไร้ประโยชน์ ข้อเท็จจริง อย่างที่เราบอกไปแล้วว่า ถ้าคุณเลิกบุหรี่ได้ คุณก็จะได้รับผลดีของการเลิกบุหรี่แทบจะทันที และถึงแม้คุณจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งปอดแล้ว การเลิกบุหรี่ก็ยังคงส่งผลดีต่อร่างกายของคุณเช่นกัน เพราะการเลิกบุหรี่ นอกจากจะดีต่อระบบการไหลเวียนเลือดและการทำงานของปอดแล้ว ยังอาจช่วยให้การรักษามะเร็งปอดของคุณได้ผลดีขึ้น และช่วยลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย และหากจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด ร่างกายของคนที่เลิกบุหรี่แล้วก็ยังฟื้นตัวได้ดีกว่าคนที่ยังสูบบุหรี่อยู่ อีกทั้งคนที่เลิกบุหรี่แล้วยังเกิดปัญหาเสียงแหบหลังรักษามะเร็งกล่องเสียงด้วยการฉายรังสีน้อยกว่า นอกจากนี้ การเลิกบุหรี่ยังลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปอดซ้ำได้ด้วย ความเชื่อ เกี่ยวกับมะเร็งปอดข้อที่ 3 สาเหตุของโรคมะเร็งปอดมีแค่การสูบบุหรี่เพียงอย่างเดียว ข้อเท็จจริง จริงอยู่ที่การสูบบุหรี่ถือเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดของโรคมะเร็งปอด แต่โรคนี้ก็ไม่ได้เกิดเพราะสูบบุหรี่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น […]


มะเร็งปอด

มะเร็งปอด สาเหตุ อาการ และการรักษา

มะเร็งปอด (Lung Cancer) เป็นโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดขึ้นเมื่อเซลล์เนื้อเยื่อในปอดเจริญเติบโตผิดปกติ และส่งผลกระทบต่อปอดและระบบทางเดินหายใจส่วนอื่น ๆ และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ดังนั้น จึงควรตรวจคัดกรองโรคเป็นประจำ รวมถึงเข้าพบคุณหมอทันทีหากสังเกตพบอาการผิดปกติ เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ มะเร็งปอด คืออะไร โรคมะเร็งปอด เกิดขึ้นเมื่อเซลล์เนื้อเยื่อในปอดเติบโตในอัตรารวดเร็วอย่างผิดปกติ ซึ่งทำให้เกิดเนื้องอก หน้าที่ของปอด คือช่วยในการหายใจและจ่ายออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) โรคมะเร็งปอดเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุด โรคมะเร็งปอดทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมและนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ย่ำแย่ โรคมะเร็งปอดมีหลายประเภท โดยแต่ประเภทที่พบบ่อยที่สุดถูกตั้งชื่อตามขนาดของเซลล์ในก้อนเนื้อมะเร็ง มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก (Small Cell Lung Cancer : SCLC) ภาวะนี้หมายถึงเซลล์มะเร็งดูมีขนาดเล็กเมื่อตรวจดูจากกล้องจุลทรรศน์ ภาวะนี้พบได้ค่อนข้างยาก ประมาณ 1 ใน 8 ของผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งปอดจะเป็นมะเร็งชนิดเซลล์เล็ก โดยมะเร็งปอดประเภทนี้สามารถเติบโตและพัฒนาตัวได้อย่างรวดเร็ว มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer : NSCLC) ภาวะนี้หมายถึงเซลล์มะเร็งมีขนาดใหญ่กว่ากรณีของมะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก คนส่วนใหญ่มักจะเป็นมะเร็งปอดประเภทนี้มากกว่า (ประมาณ 7 ใน 8 ราย) มะเร็งชนิดนี้พัฒนาตัวไม่เร็วเท่ามะเร็งชนิดเซลล์เล็ก ดังนั้น […]


มะเร็งปอด

มาทำความรู้จักกับ มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก (Small Cell Lung Cancer) กันเถอะ

มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก (Small Cell Lung Cancer) เป็นมะเร็งปอดชนิดรุนแรง เนื่องจากเซลล์มะเร็งสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วและเดินทางไปยังส่วนอื่นของร่างกายได้ คำจำกัดความ มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก คืออะไร มะเร็งปอดมีอยู่ 2 ชนิดหลัก คือมะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก (Small Cell Lung Cancer หรือ SCLC) และมะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดไม่เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer หรือ NSCLC) มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก เป็นมะเร็งปอดชนิดที่รุนแรงกว่า เนื่องจากเซลล์มะเร็งสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วและเดินทางไปยังส่วนอื่นของร่างกาย หรือแพร่กระจายได้ง่ายมาก ด้วยเหตุนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงมักตรวจพบก็ต่อเมื่อมะเร็งได้กระจายไปทั่วร่างกายเรียบร้อยแล้ว ทำให้โอกาสในการรักษาลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบมะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็กในระยะแรกเริ่ม ก็อาจรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อนที่มะเร็งจะลุกลาม มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก ถูกเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มะเร็งแบบโอ๊ทเซลล์ คาร์ซิโนมา (Oat Cell Carcinoma) มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก พบได้บ่อยเพียงใด มะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็กถูกพบในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งปอดร้อยละ 10-15 พบได้น้อยกว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์ที่ขนาดไม่เล็ก โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการ อาการของมะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็ก ปกติแล้วมะเร็งปอดชนิดเซลล์ขนาดเล็กจะไม่แสดงอาการผิดปกติใด ๆ แต่มักเกิดอาการตอนที่มะเร็งลุกลามไปยังส่วนอื่นของร่างกายแล้ว ซึ่งอาการของโรคจะหนักขึ้นเมื่อมะเร็งเติบโตและแพร่กระจาย โดยอาการเหล่านั้น ได้แก่ ไอเป็นเลือด หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด เจ็บหน้าอกหรือรู้สึกอึดอัด ไอเรื้อรังและเสียงแหบแห้ง เบื่ออาหาร […]


มะเร็งปอด

ผู้ป่วยมะเร็งปอดเบื่ออาหาร จะดูแลและจัดการอย่างไรดี

ในผู้ป่วยมะเร็ง บางครั้งผู้ป่วยจำเป็นที่จะรับประทานอาหารให้มาก เพื่อบำรุงสุขภาพ เพื่อต่อสู้กับโรค แต่อาจเกิดอาการเบื่ออาหารหรือกินไม่ได้ เนื่องจากผลข้างเคียงจากการรักษา ที่ส่งผลให้เกิดโรคอย่างอะนอเร็กเซีย สูญเสียการรับรส คลื่นไส้ และอาการอื่น ๆ ในความเป็นจริงแล้ว ผู้ป่วยมะเร็งชนิดรุนแรงที่ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ ก็มีแนวโน้มจะตอบสนองต่อการรักษามากกว่าผู้ป่วยที่ปฏิเสธอาหาร และได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วย โรคมะเร็งปอด ซึ่งมักประสบปัญหาว่า ผู้ป่วยมะเร็งปอดเบื่ออาหาร การช่วยให้ผู้ป่วยมีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น ก็อาจ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาได้ วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับโภชนาการสำหรับผู้ป่วย โรคมะเร็งปอด ที่จะทำให้สุขภาพของผู้ป่วยดีขึ้นได้เป็นอย่างมากมาฝากกันค่ะ ปัญหา ผู้ป่วยมะเร็งปอดเบื่ออาหาร เกิดจากอะไร โดยทั่วไป ผู้ป่วย โรคมะเร็งปอด มักได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีที่บริเวณทรวงอก ซึ่งอาจก่อให้เกิดหลายปัญหาที่บริเวณหลอดอาหารของผู้ป่วย อาการคลื่นไส้ เจ็บปวด และอาการระคายเคืองในบริเวณลำคอ จนอาจนำไปสู่อาการกลืนอาหารลำบาก ซึ่งเป็นอาการที่พบได้โดยทั่วไปที่ผู้ป่วย โรคมะเร็งปอด ที่ต่างต้องเผชิญกับปัญหานี้ การได้รับสารอาหารที่พอเหมาะ และง่ายต่อการรับประทาน สามารถช่วยเพิ่มความอยากอาหาร เสริมสร้างสุขภาพ เพิ่มความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกัน และยังช่วยลดผล กระทบของผลข้างเคียงจากการรักษาด้วยการฉายรังสีอีกด้วย โภชนาการสำหรับผู้ป่วย โรคมะเร็งปอด โภชนาการเป็นส่วนสำคัญในการรักษามะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วย โรคมะเร็งปอด การเลือกอาหารและการปรุงที่เหมาะสม ทั้งก่อนการรักษา ระหว่างการรักษา และหลังการรักษา โรคมะเร็งปอด […]


มะเร็งปอด

การรับรู้ ระยะของโรคมะเร็งปอด ช่วยคุณสู้มะเร็งได้อย่างไร

เมื่อพบว่าคุณเป็นมะเร็งปอด แพทย์จะบอกคุณว่ามะเร็งอยู่ในขั้นใด คนส่วนใหญ่เข้าใจว่ายิ่งเป็นมะเร็งระยะท้าย ๆ อาการของโรคจะรุนแรงขึ้น ซึ่งนั่นก็เป็นความจริง แต่อย่างไรก็ตาม ระยะของโรคมะเร็งปอด จะบอกว่าได้ว่ามะเร็งปอดนั้นลุกลามมากเพียงใด และส่วนใดของปอดที่ได้รับผลกระทบ และนี่คือรายละเอียดที่คุณควรทราบในเบื้องต้น ทำไมคุณจำเป็นต้องทราบ ระยะของโรคมะเร็งปอด ระยะของมะเร็งปอด เป็นตัวบ่งบอกตำแหน่ง และขนาดของเนื้องอก และการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็ง ระยะของมะเร็งเป็นสิ่งที่แพทย์และคุณจะพูดคุยกัน ถึงการเติบโตของเชื้อมะเร็ง โดยไม่จำเป็นต้องใช้คำศัพท์ทางการแพทย์ที่มากเกินไป ทั้งยังเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจ เพื่อการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ ระยะของมะเร็งปอด มีอะไรบ้าง มีการจัดระยะของโรคมะเร็งที่แพทย์ใช้ การจัดระยะนี้เรียกว่า ระยะโรคมะเร็งแบบ TNM การจัดระยะแบบนี้ขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย ได้แก่ ขนาดและตำแหน่งของเนื้องอก (T หรือ Tumor Status) ต่อมน้ำเหลืองเกี่ยวข้องหรือไม่ (N หรือ Nodal Status) มะเร็งแพร่เข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองแล้วหรือไม่ (M หรือ Metastatic Status) ตัวอย่างเช่น หากไม่มีก้อนเนื้อ จะเรียกว่า “ระยะ T0” หากมะเร็งแพร่เข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองจะเรียกว่า “N1” การจัดระยะของมะเร็งตามขนาดของเซลล์ ทั้งเซลล์ขนาดเล็กและที่ไม่ใช่ขนาดเล็กนั้น เป็นการจัดระยะอีกรูปแบบหนึ่ง มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก มะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก (Non-Small Cell Lung Cancer) เป็นมะเร็งที่มีความซับซ้อนกว่าชนิดเซลล์เล็ก เป็นชนิดมะเร็งที่แบ่งระยะการเกิดตามระยะการเกิดมะเร็งแบบ TNM […]


มะเร็งปอด

รอดชีวิตจากมะเร็งปอด ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้!

การ รอดชีวิตจากมะเร็งปอด ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ แต่ขึ้นอยู่ว่าคุณเป็นมะเร็งระยะใดแล้ว ถึงแม้สถิติของการมีชีวิตรอดจากมะเร็งปอดอาจดูต่ำ จนทำให้คุณหมดกำลังใจ แต่ตัวเลขเหล่านั้นก็เป็นเพียงการประมาณการณ์เท่านั้น ตัวคุณเองสามารถที่จะชะลอการแพร่กระจายของเชื้อมะเร็งได้ ด้วยการดูแลสุขภาพของตัวเองและป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับปอด สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง Hello คุณหมอ มีวิธีการที่จะช่วยให้คุณเป็นผู้รอดชีวิตจากมะเร็งปอดได้มาฝาก ดังต่อไปนี้ วิธีที่ช่วยเพิ่มโอกาส รอดชีวิตจากมะเร็งปอด 1. เข้ารับการรักษาและการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ในระหว่างการรักษา คุณอาจได้รับผลข้างเคียงทั้งระยะสั้น เช่น คลื่นไส้ ไม่อยากอาหาร ผมร่วง อ่อนเพลีย และผลข้างเคียงระยะยาวที่อาจกินเวลาเป็นปี หลังจากเข้ารับการรักษา ผลข้างเคียงเหล่านี้อาจส่งผลทั้งทางร่างกายและอารมณ์ หากคุณมีอาการเกี่ยวกับผลข้างเคียงระยะยาวของการรักษา ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีการในการหลีกเลี่ยง การดูแลติดตามผลการรักษา มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการรักษา เพราะช่วยลดความเสี่ยงในการกลับมาเป็นมะเร็งปอดอีกครั้ง คุณและแพทย์ควรช่วยกันวางแผนการดูแลติดตามผล ซึ่งประกอบด้วย การเข้ารับการตรวจทางการแพทย์ และการตรวจร่างกาย เพื่อติดตามการฟื้นฟูร่างกายของคุณอย่างใกล้ชิดต่อไป แพทย์สามารถช่วยให้คุณกลับไปมีชีวิตตามปกติได้ แต่คุณควรสังเกตร่างกายของตนเองขณะอยู่บ้านอยู่เป็นประจำ เพื่อเฝ้าระวังสัญญาณที่ผิดปกติกับร่างกาย และรีบแจ้งแพทย์ทันที 2. คิดบวกอยู่เสมอ ก็ช่วยให้ รอดชีวิตจากมะเร็งปอด ได้ คุณอาจเคยได้ยินถึงพลังของความคิดที่ส่งผลต่อร่างกาย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์รับรองแล้วว่าเป็นเรื่องจริง นั่นหมายความว่า ความคิดในแง่ลบและความเครียด เป็นอุปสรรคต่อการรักษาโรคมะเร็งปอด จากการศึกษาพบว่า เมื่อผู้ป่วยมะเร็งปอดระยะลุกลามที่เครียดเข้ารับการรักษาเคมีบำบัด พวกเขาสามารถมีชีวิตอยู่ได้เพียงครึ่งหนึ่ง ของช่วงเวลาซึ่งผู้ป่วยที่ไม่เครียดสามารถอยู่ได้ งานวิจัยที่เกี่ยวกับค่ามัธยฐานระยะปลอดเหตุการณ์ (ซึ่งหมายถึงจำนวนเวลาหลังจากที่ร้อยละ 50 ของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ และอีกร้อยละ 50 […]


มะเร็งปอด

การวินิจฉัยมะเร็งปอด สามารถทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง

ในการนัดหมายแพทย์ หากคุณคิดว่าคุณมีสัญญาณหรืออาการของมะเร็งปอด แพทย์จะทำการประเมินประวัติสุขภาพ ประเมินปัจจัยเสี่ยงของคุณ และทำการตรวจร่างกาย แล้วแพทย์จึงอาจส่งต่อคุณไปยังแพทย์เฉพาะทาง เพื่อทำการตรวจเพิ่มเติมสำหรับ การวินิจฉัยมะเร็งปอด ต่อไป การตรวจเพื่อหา มะเร็งปอด มักเป็นการทดสอบแบบรุกล้ำร่างกาย จึงเป็นที่ถกเถียงกันในวงการแพทย์ว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งปอด โดยทั่วไปมีประโยชน์หรือไม่ บางคนเชื่อว่าทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงโดยไม่จำเป็น แต่เนื่องจาก ผู้ป่วยมักไม่มีอาการจนกระทั่งเป็นโรคแล้ว คนรอบข้างจึงคิดว่าสิ่งนี้เป็นหัวใจสำคัญในการตรวจพบมะเร็งแต่เนิ่นๆ  ในระยะที่ยังรักษาได้ Hello คุณหมอ มีบทความเกี่ยวกับ สิ่งที่แพทย์มักจะแนะนำการตรวจต่าง ๆ เหล่านี้ หากมีอาการบ่งชี้ให้เชื่อว่า คุณอาจเป็น มะเร็งปอด การวินิจฉัยมะเร็งปอด ทำได้อย่างไรบ้าง การตรวจร่างกาย แพทย์จะตรวจสัญญาณชีพ ฟังเสียงการหายใจ และตรวจหาภาวะตับบวมหรือต่อมน้ำเหลือง คุณอาจจะถูกส่งไปเข้ารับการตรวจ หากสงสัยว่าเป็นมะเร็งปอด มีวิธีหลายประการที่สามารถใช้ได้ การตรวจวินิจฉัยโรค มะเร็งปอด ด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computed tomography) หรือซีทีสแกน (CT Scan) เป็นการเอกซเรย์เฉพาะประเภทหนึ่ง ที่ใช้สร้างภาพอวัยวะภายในร่างกายขณะที่เครื่องหมุนไปโดยรอบร่างกาย ทำให้ได้รูปภาพที่สมบูรณ์ ซึ่งแสดงขนาด รูปร่าง และตำแหน่งของก้อนเนื้อที่อาจกลายเป็นมะเร็งได้ การส่องกล้องตรวจหลอดลม ท่อบางเล็ก ๆ บาง ๆ กล้องตรวจหลอดลม จะถูกสอดผ่านทางปากหรือจมูกไปยังปอด เพื่อตรวจหลอดลมและปอด อาจนำตัวอย่างเซลล์ออกมาเพื่อทำการตรวจ การตรวจเสมหะเพื่อหา มะเร็งปอด เสมหะ […]


มะเร็งปอด

9 สัญญาณบอก อาการ มะเร็งปอด ที่คุณไม่ควรละเลย

โรคมะเร็งปอดเป็นภัยเงียบที่ร้ายแรงถึงแก่ชีวิต จากรายงานขององค์การอนามัยโลก เมื่อปี 2012 มะเร็งปอดเป็นโรคมะเร็งชนิดที่ก่อให้เกิดการเสียชีวิตมากที่สุดในบรรดามะเร็งชนิดอื่น ๆ จำนวนสูงถึง 1.59 ล้านราย หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้เกิดตัวเลขสูงขนาดนี้ ก็คือ มะเร็งปอดในระยะเริ่มต้นนั้นตรวจพบได้ยาก ในกลุ่มผู้ที่ตรวจพบมะเร็งร้อยละ 40 พบว่ามะเร็งอยู่ในขั้นลุกลาม ในกลุ่มผู้ที่ตรวจพบมะเร็งถึง 1ใน 3 พบว่า มะเร็งลุกลามเข้าสู่ขั้นที่ 3 แล้ว สัญญาณดังต่อไปนี้เป็นสัญญาณเตือน อาการ มะเร็งปอด ที่ไม่ควรละเลย สัญญาณเตือน อาการ มะเร็งปอด ที่ไม่ควรละเลย 1. อาการไอรักษาไม่หาย การไอเป็นอาการที่พบบ่อย อาจจะเกิดจากการเป็นไข้หวัด หรือเกิดจากการสำลักอาหาร อย่างไรก็ตาม หากอาการไอยังไม่ทุเลา แม้ว่าหายจากไข้หวัดแล้ว หรือทานยาแล้วก็ตาม คุณควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจปอดด้วยการเคาะปอดหรือด้วยการเอกซเรย์ 2. การเปลี่ยนแปลงของอาการไอ การไอเรื้อรังเป็นหนึ่งในอาการที่พบบ่อยของหลายโรค เช่น โรคกรดไหลย้อน โรคหอบหืด หรือไข้ละอองฟาง อย่างไรก็ตาม หากลักษณะของการไอเปลี่ยนไป เช่น เปลี่ยนจากไอแห้ง ๆ เป็นไอปนเสมหะหรือเลือด ควรรีบติดต่อแพทย์ทันที 3. หายใจไม่ทันแม้ทำกิจกรรมตามปกติ หากคุณเกิดอาการหายใจไม่ทัน หรือมีเสียงหวีดในขณะหายใจ อาจเป็นสัญญาณของอาการโรคมะเร็งปอด คุณอาจหายใจลำบาก เนื่องจาก […]


มะเร็งปอด

เด็กป่วย จาก โรคมะเร็งปอด ผู้ปกครองสามารถดูแลได้อย่างไร

โรคมะเร็งปอด สามารถเกิดขึ้นได้กับบุคลทั่วไป รวมถึงเด็กเล็กนี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งการดูแลเด็กที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งปอดนั้น นับเป็นเรื่องยากและซับซ้อน เนื่องจากอาจจำเป็นต้องใช้จิตวิทยาเข้ามาช่วยเสริม ซึ่งก็ยังขึ้นอยู่กับอายุ สภาพแวดล้อม และการเรียนรู้ของเด็ก ๆ ด้วย วันนี้ Hello คุณหมอ จึงมีบทความดี ๆ มาแนะนำสำหรับครอบครัวที่กำลังประสบปัญหาต้องดูแล เด็กป่วย โรคมะเร็งปลอด ให้ผ่านไปได้มาฝากกันค่ะ ดูแล เด็กป่วย จาก โรคมะเร็งปอด ควรเริ่มจากอะไร การตรวจพบมะเร็งในระยะแรก จะช่วยทำให้การรักษาง่ายขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่กับผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดเท่านั้น แต่รวมถึงผู้ป่วยโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ ด้วย เช่น มะเร็งตับ มะเร็งกระเพาะอาหาร หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ นอกเหนือจากการใช้เทคโนโลยี่ที่ทันสมัยในการรักษาแล้ว การให้ความใส่ใจในการดูแลผู้ป่วยก็นับว่าเป็นเรื่องสำคัญด้วย หลักสำคัญในการ ดูแลเด็กป่วย เป็นมะเร็งปอด ก็คือ ขั้นแรกก็ต้องจัดเตรียมอาหารที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วย โดยอาหารในแต่ละมื้อ ต้องเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น โปรตีน ไขมันดี ใยอาหาร แป้ง วิตามิน และแร่ธาตุ นอกจากนี้ก็ควรกระตุ้นให้เด็กรับประทานอาหาร ในปริมาณที่เยอะขึ้นด้วย โดยแบ่งเป็นมื้อเล็ก ๆ แต่ให้เขาได้รับประทานในหลาย ๆ มื้อแทน […]


มะเร็งปอด

วัยรุ่นกับมะเร็งปอด วิธีการจัดการอารมณ์เมื่อพบว่าป่วยเป็นโรคนี้

วัยรุ่นกับมะเร็งปอด อาจฟังดูเป็นเรื่องยุ่งยาก สำหรับผู้ป่วยที่ยังอยู่ในช่วงวัยรุ่น เพราะนอกจากร่างกายจะเกิดความเปลี่ยนแปลงแล้ว สภาวะอารมณ์ก็ยังอาจแปรปรวน เมื่อรู้ตัวว่าเป็น โรคมะเร็งปอด และต้องเข้ารับการรักษาด้วย กำลังใจจากครอบครัวและเพื่อนฝูง จึงนับว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งแต่ละคนก็ล้วนมีวิธีให้กำลังใจที่แตกต่างกันออกไป บทความนี้ Hello คุณหมอ นำ วิธีการจัดการอารมณ์ของ วัยรุ่นกับมะเร็งปอด ดังกล่าวนี้มาฝากกันค่ะ วัยรุ่นกับมะเร็งปอด และวิธีรับมือกับอารมณ์ที่แปรปรวน การพูดคุยกับแพทย์และพยาบาล เมื่อเป็น โรคมะเร็งปอด การพูดคุยกับแพทย์และพยาบาล อาจเป็นเรื่องยากในช่วงแรก ๆ แต่หลังจากนั้นจะกลายเป็นเรื่องง่ายขึ้น คุณคือคนที่จะเข้าใจความรู้สึกของตนเองได้ดีที่สุด ฉะนั้นจึงควรพูดคุยกับแพทย์และพยาบาลตามความเป็นจริง เพื่อที่แพทย์จะได้ช่วยเหลือคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนี่คือเคล็ดลับที่อาจช่วยคุณได้ พูดอะไรตรงไปตรงมา คุณควรบอกแพทย์ถึงความรู้สึก ความเจ็บปวด หรือผลข้างเคียงของโรคมะเร็งปอด เพื่อที่แพทย์จะได้ประเมินการรักษา โรคมะเร็งปอด ได้อย่างเหมาะสม เมื่อเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล คุณก็ควรบอกความต้องการให้พยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ทราบ หากรู้สึกว่าการพูดคุยเป็นเรื่องยาก ก็อาจขอให้คุณพ่อคุณแม่ช่วยพูดให้ นอกจากนี้ ทีมแพทย์อาจประสานให้คุณได้พูดคุยกลุ่มสนับสนุน ผู้ให้คำปรึกษา หรือนักบำบัด เพื่อที่จะได้รับคำแนะนำดี ๆ เกี่ยวกับอารมณ์ในช่วงที่เป็น โรคมะเร็งปอด ได้ การพูดคุยกับครอบครัวและเพื่อน พูดคุยกับคนที่คุณรู้สึกไว้ใจ เช่น เพื่อนๆ คุณครู หรือคนที่คุยด้วยแล้วรู้สึกสบายใจ ถือเป็นอีกเรื่องที่ช่วยจัดการกับอารมณ์ในช่วงที่เพิ่งรับรู้ว่าเป็น โรคมะเร็งปอด ได้ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม