มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ คือ โรคมะเร็งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้หญิงเท่านั้น เพราะเป็นโรคมะเร็งที่เกิดอยู่ในรังไข่ที่ทำหน้าที่ในการผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิง การเรียนรู้เกี่ยวกับสัญญาณ อาการ ปัจจัยเสี่ยง และการรักษา อาจช่วยให้เราสามารถรับมือกับโรคมะเร็งรังไข่ได้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ มะเร็งรังไข่ ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ระยะสุดท้าย อันตรายกว่าที่คิด

มะเร็งรังไข่ระยะที่ 4 ถือเป็น มะเร็งรังไข่ระยะสุดท้าย ที่มักแพร่กระจาย และลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ และเป็นมะเร็งในระยะที่รักษาให้หายขาดได้ยาก เพราะผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ระยะที่ 4 มักมีอาการค่อนข้างหนัก อาจจะต้องทำการรักษาแบบประคับประคอง เพื่อลดผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็งรังไข่ในระยะอันตราย อย่างมะเร็งรังไข่ระยะที่ 4 มาให้อ่านกันค่ะ [embed-health-tool-ovulation] การกำหนดระยะของโรคมะเร็ง ระบบการแสดงระยะของมะเร็ง ที่นิยมใช้ในการแบ่งระยะของมะเร็งรังไข่ คือ การแบ่งโดยอาศัยการตรวจทางคลินิก (clinical staging) เรียกว่า International Federation of Gynecology and Obstetrics (FIGO) โดยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้ มะเร็งรังไข่ระยะที่ 1 มะเร็งรังไข่ระยะที่ 2 มะเร็งรังไข่ระยะที่ 3 มะเร็งรังไข่ระยะที่ 4 ซึ่งมะเร็งรังไข่ระยะที่ 4 ถือเป็นมะเร็งรังไข่ระยะสุดท้าย โดยแพทย์จะตรวจและวินิจฉัยปัจจัยดังต่อไปนี้ เพื่อประเมินว่ามะเร็งรังไข่ของผู้ป่วยอยู่ในระยะที่เท่าไร ขนาดของเนื้องอก แพทย์จะประเมินขนาดของเนื้องอก และประเมินว่าเซลล์จะแพร่กระจายไปยังท่อนำไข่ หรือนอกรังไข่ได้หรือไม่ ต่อมน้ำเหลือง แพทย์จะตรวจสอบว่ามีเซลล์มะเร็งอยู่ใกล้ต่อมน้ำเหลืองหรือไม่ […]

สำรวจ มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่

การรับมือกับผลข้างเคียงจาก เคมีบำบัดในการรักษามะเร็งรังไข่

ถึงแม้ว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งรังไข่จะได้รับการแนะนำให้เตรียมตัวสำหรับอาการข้างเคียงต่างๆ หลังเข้ารับการรักษาเคมีบำบัดมาอย่างดีแล้ว แต่ในผู้ป่วยบางราย ผลข้างเคียงของการรักษาอาจก่อให้เกิดความเครียด และทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความมั่นใจในตนเองได้ แม้ว่าเราจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงจาก เคมีบำบัดในการรักษามะเร็งรังไข่ แต่ก็มีวิธีการบรรเทาผลข้างเคียงให้เบาบางลงได้ และผู้ป่วยเองก็กลับมาใช้ชีวิตประจำวันอย่างเป็นปกติได้ ผลข้างเคียงจากการใช้ยาใน การรักษามะเร็งรังไข่ เคมีบำบัดอาจจำเป็นสำหรับ การรักษาโรคมะเร็งรังไข่ แต่การใช้ยาเป็นเวลานานย่อมเกิดผลข้างเคียงได้ อาการต่าง ๆ ได้แก่ อ่อนเพลีย ประจำเดือนหมดไปชั่วคราวหรือถาวร ผมร่วง เบื่ออาหาร เจ็บปาก ติดเชื้อ คลื่นไส้และอาเจียน เป็นต้น ในอีกทางหนึ่งยาต่าง ๆ ส่งผลต่อความสามารถในการสร้างเซลล์ต่าง ๆ ในไขกระดูก ทำให้เซลล์เม็ดเลือดลดลง โดยเซลล์บางชนิดทำให้เกิดอาการอ่อนเพลียและไวต่อการติดเชื้อมากขึ้น เช่น โรคหวัด เป็นต้น วิธีจัดการผลข้างเคียงของ เคมีบำบัดในการรักษามะเร็งรังไข่ ผมร่วง ผมร่วง เป็นผลข้างเคียงที่พบบ่อยจากเคมีบำบัดใน การรักษาโรคมะเร็งรังไข่ หลังการรักษาผมจะยาวขึ้นมาใหม่ แต่อาจมีสีและผิวสัมผัสที่แตกต่างไปจากเส้นผมเดิม คลื่นไส้และอาเจียน พบได้ว่าผู้ป่วยบางรายที่จะมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วย ความรุนแรงของอาการที่พบจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับประเภทของยาที่ใช้ ผู้ป่วยอาจมีจะอาการต่อเนื่องของการคลื่นไส้หรืออาเจียน ยาวนาน 2-3 ชั่วโมง หรือ ติดต่อกันถึง 2-3 วัน หรือระยะเวลานานกว่านั้น ก็สามารถพบได้โดยทั่วไป ผู้ป่วยควรใช้ยาต้านความกังวลหรือยาต้านอาการคลื่นไส้ รับประทานร่วมกับเทคนิคการรักษาอื่น ๆ เพิ่มเติม เพื่อควบคุมอาการดังกล่าว ให้มีประสิทธิภาพสูงในการรักษา เช่น […]


มะเร็งรังไข่

ผู้เป็นโรคมะเร็งรังไข่ ใช้ชีวิตอย่างไรให้สุขภาพดีและมีความสุข

แน่นอนว่า โรคมะเร็งเป็นข่าวร้ายที่ทำร้ายจิตใจผู้ป่วย และก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความจริงที่เกิดขึ้นได้ แต่สิ่งที่ผู้เป็นมะเร็งสามารถทำได้ก็คือ การเลือกใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ต่างหาก มีทางเลือกมากมายที่ช่วยให้ ผู้เป็นโรคมะเร็งรังไข่ มีชีวิตอยู่อย่างสุขภาพดี แข็งแรง และมีความสุข ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน การใช้ชีวิตให้สุขภาพดีและมีความสุขสำหรับ ผู้เป็นโรคมะเร็งรังไข่ ผู้ป่วยหลายคนเมื่อทราบว่าตัวเองเป็นโรคร้าย อย่างเช่น โรคมะเร็งรังไข่ อาจเกิดความรู้สึกเศร้า วิตกกังวล และเครียด แต่การจดจ่ออยู่กับอาการป่วยมากเกินไป อาจทำให้อาการแย่ลงก็เป็นได้ ดังนั้น การใช้ชีวิตให้มีสุขภาพดีและมีความสุขจึงถือเป็นเรื่องที่ควรทำ ซึ่งวิธีต่าง ๆ มีดังนี้ ผู้เป็นโรคมะเร็งรังไข่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ระหว่างการรักษา การรักษา โรคมะเร็งรังไข่ จะทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ยาก นอกจากนี้ ผู้เป็น โรคมะเร็งรังไข่ อาจน้ำหนักลดลงเนื่องจากการขาดสารอาหาร ดังนั้น โภชนาการที่ดี จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะทำให้สุขภาพแข็งแรงขึ้นและช่วยต้านมะเร็ง การรับประทานสารอาหารที่เพียงพอต่อร่างกาย สามารถสร้างเสริม สุขภาพที่ดี ทั้งช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการรักษา ดังนั้น เพื่อไม่ให้น้ำหนักลดมากเกินไป ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารโปรตีนสูง และเพิ่มการรับแคลอรี่ในแต่ละวันให้มากขึ้น ทั้งยังควรดื่มเครื่องดื่มตามที่แพทย์แนะนำ เนื่องจากเครื่องดื่มบางชนิด สามารถกระตุ้นความอยากอาหารได้ น้ำเปล่าเป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่ควรดื่มน้ำเพียงอย่างเดียว เนื่องจากไม่มีแคลอรี่ และอิเล็กโทรไลต์ ให้ลองเครื่องดื่มให้พลังงานบางประเภทเพิ่มเติมด้วย มีข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเผยว่า แทนที่จะรับประทานอาหารมื้อใหญ่ […]


มะเร็งรังไข่

ความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่ ผู้หญิงไม่เคยท้องเสี่ยงสูงหรือเปล่า

มะเร็งรังไข่ (Ovarian cancer) ถึงแม้จะเป็นมะเร็งที่พบได้เพียงร้อยละ 3 ในผู้หญิง แต่มะเร็งรังไข่ก็มีอัตราการเสียชีวิตสูง เมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่น ๆ ในระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะบางส่วนมักแสดงอาการน้อย กว่าจะทราบก็มีการแพร่กระจายมากขึ้น และขาดการตรวจคัดกรองที่เหมาะสม หรืออาจจะละเลยการตรวจไป วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาทำความเข้าใจกับ ความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่ ซึ่งยังสัมพันธ์กับประวัติการตั้งครรภ์ของผู้หญิงด้วยอีกประการหนึ่ง ผลของการตั้งครรภ์ต่อ ความเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่ มีหลายการศึกษาเผยว่า ผู้หญิงที่ไม่เคยมีบุตรหรือผู้ที่คลอดบุตรเมื่อมีอายุมาก จะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งรังไข่สูงมากกว่า เมื่อเทียบกับผู้หญิงที่เคยตั้งครรภ์ และอุ้มท้องจนถึงครบกำหนดคลอดก่อนอายุ 26 ปี ความเสี่ยงมะเร็งรังไข่ จะลดลงตามระยะเวลาการตั้งท้อง จนครบกำหนดคลอดในแต่ละครั้ง ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์หลังจากอายุ 35 ปี หรือคลอดก่อนกำหนด จะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งรังไข่สูงกว่าที่ผู้ตั้งครรภ์จนครบกำหนดคลอด จากสมมติฐานว่า ยิ่งผู้หญิงได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) มากเท่าใด ในชีวิตก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่มากขึ้นเท่านั้น การคลอดบุตรจัดเป็น “การปกป้อง” อย่างหนึ่ง เนื่องจากในช่วงการตั้งครรภ์ ร่างกายของผู้หญิงไม่จำเป็นต้องมีการตกไข่นานถึง 9 เดือน ทำให้ร่างกายไม่ผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนออกมามากตามไปด้วย นอกจากนี้ โอกาสในการเป็นมะเร็งรังไข่จะยิ่งลดลงมากขึ้น หากผู้หญิงเลือกที่จะให้นมบุตร สมมติฐานอีกประการหนึ่ง คือ เมื่อผู้หญิงตกไข่ ถุงน้ำรังไข่ที่ถูกขับออกมา อาจเกิดการกลายพันธ์ุ (Genetic mutations) […]


มะเร็งรังไข่

โรคมะเร็งรังไข่ อาการ สาเหตุ และการรักษาโรคที่ควรรู้

โรคมะเร็งรังไข่ เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับสามในมะเร็งที่เกิดในหมู่ผู้หญิงไทย แต่เป็นมะเร็งที่รักษาให้หายได้ ถ้าพบแต่เนิ่น ๆ ด้วยการตรวจภายในทุกปี ทาง Hello คุณหมอ จึงได้นำรายละเอียดเกี่ยวกับโรคนี้ที่คุณควรรู้ เพื่อการดูแลใส่ใจตัวเองมาฝากกัน มะเร็งรังไข่ คืออะไร? โรคมะเร็งรังไข่ (Ovarian Cancer) เกิดที่รังไข่ของผู้หญิง โดยส่วนใหญ่แล้ว มะเร็งรังไข่ ไม่ได้รับการวินิจฉัย จนกระทั่งเซลล์มะเร็งได้แพร่กระจายไปยังเชิงกรานและช่องท้อง ซึ่งทำให้รักษาได้ยากและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ทราบได้อย่างไรว่าเป็น มะเร็งรังไข่ มะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มแรกมักไม่ค่อยทำให้เกิดอาการใด ๆ หากทำให้เกิดอาการ อาการดังกล่าวมักมีการเข้าใจผิดว่าเป็นสิ่งบ่งชี้ของภาวะที่ไม่เป็นอันตราย เช่น ท้องผูก อาการทั่วไปของ มะเร็งรังไข่ ได้แก่ ท้องอืด มีอาการบวมในบริเวณช่องท้อง รู้สึกอิ่มเร็วกว่าปกติ น้ำหนักลด รู้สึกไม่สบายบริเวณเชิงกราน มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่าย ปัสสาวะบ่อย หากคุณมีสิ่งบ่งชี้ใด ๆ ที่ทำให้คุณกังวล ให้ไปปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะหากคุณมีประวัติครอบครัวเป็น มะเร็งรังไข่ หรือมะเร็งเต้านม การวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ทำได้อย่างไร คุณจะจำเป็นต้องได้รับการตรวจร่างกาย ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจบริเวณเชิงกราน นอกจากนี้ แพทย์ยังอาจจะให้มีการทดสอบโดยใช้ภาพถ่ายอวัยวะ การทดสอบเลือด และการตรวจตัวอย่างเนื้อเยื่อเพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง การรักษามะเร็งรังไข่ จากระยะของ มะเร็งรังไข่ ในช่วงเวลาที่ทำการวินิจฉัย ทางเลือกในการรักษาอาจมีความหลากหลาย มะเร็งรังไข่มี 4 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 : มะเร็งจำกัดอยู่ที่รังไข่ทั้ง 2 ข้าง ระยะที่ 2 : เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังบริเวณอื่น ๆ […]


มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ (Ovarian Cancer)

มะเร็งรังไข่ คือเนื้อร้ายเกิดขึ้นในรังไข่ ซึ่งทำหน้าที่สร้างเซลล์ไข่และฮอร์โมนเพศหญิง มะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มแรกสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การวินิจฉัยโรคนี้ในระยะเริ่มแรกเป็นไปได้ยาก คำจำกัดความมะเร็งรังไข่ คืออะไร มะเร็งรังไข่ (Ovarian Cancer) เป็นภาวะที่มีเนื้อร้ายเกิดขึ้นในรังไข่ ซึ่งทำหน้าที่สร้างเซลล์ไข่และฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งได้แก่ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน หากตรวจพบมะเร็งรังไข่ในระยะเริ่มแรก สามารถรักษาให้หายขาดได้ อย่างไรก็ดี การวินิจฉัยโรคนี้ในระยะเริ่มแรกนั้นเป็นไปได้ยาก มะเร็งรังไข่ พบบ่อยเพียงใด โรคมะเร็งรังไข่ พบได้ค่อนข้างบ่อยในผู้หญิงวัยกลางคนถึงสูงอายุ กรณีส่วนใหญ่ที่เป็นอันตรายต่อชีวิต มักเกิดขึ้นในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 55 ปี แต่สามารถป้องกันได้โดยลดความเสี่ยง โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม


มะเร็งรังไข่

สัญญาณและอาการของมะเร็งรังไข่ ที่ผู้หญิงควรรู้

มะเร็งรังไข่ ถือเป็นภัยเงียบที่คร่าชีวิตผู้หญิงไทยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากผู้ที่เป็นมะเร็งรังไข่ในระยะแรกแทบจะไม่ปรากฏ อาการของมะเร็งรังไข่ ใด ๆ ที่สังเกตได้ อย่างไรก็ตาม นักวิจัยพบว่าผู้หญิงที่มีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นบ่อย เช่น ท้องอืด รู้สึกอิ่มไว ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน ปัสสาวะบ่อย และอาการอื่น ๆ ดังนั้น Hello คุณหมอ จึงได้รวบรวม สัญญาณและอาการของมะเร็งรังไข่ มาฝากกันในบทความนี้ สัญญาณและอาการของมะเร็งรังไข่ ที่คุณผู้หญิงควรรู้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ คนส่วนใหญ่จะมีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อเป็นบางครั้ง โดยเฉพาะในช่องก่อนมีประจำเดือน หรือหลังจากกินอาหารมื้อใหญ่ แต่หากท้องอืดท้องเฟ้อบ่อย หรือท้องอืดทุกวัน อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งรังไข่ โดยอาการอาจมีตั้งแต่ท้องอืดธรรมดาไปจนถึงท้องอืดรุนแรง และอาการอาจแย่ลงเมื่อเวลาผ่านไป นอกจากนี้ หากน้ำหนักตัวขึ้นเท่าเดิม ไม่ได้น้ำหนักขึ้น แต่เวลาใส่เสื้อผ้ากลับรู้สึกอึดอัดหรือแน่นบริเวณรอบเอว อาจเป็นหนึ่งในอาการของ มะเร็งรังไข่ ไม่เพียงแต่อาการท้องอืดท้องเฟ้อแล้ว หากท้องบวมขึ้น มีของเหลวในช่องท้อง หรือท้องมาน (Ascites) ก็อาจเป็นอาการของมะเร็งรังไข่ขั้นรุนแรงได้ ปวดหรือมีแรงกดที่บริเวณอุ้งเชิงกราน การปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน ลักษณะคล้ายปวดประจำเดือน ไม่ว่าจะปวดแค่ข้างใดข้างหนึ่ง หรือปวดทั่วบริเวณอุ้งเชิงกราน เป็นอาการที่พบบ่อยใน มะเร็งรังไข่ ระยะแรก โดยปกติผู้หญิงจะมีอาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน โดยเฉพาะช่วงที่มีประจำเดือน แต่หากเลยช่วงนั้นไปแล้ว อาการปวดยังคงอยู่ และรู้สึกเหมือนมีแรงกดบริเวณอุ้งเชิงกราน คุณควรไปพบคุณหมอ รู้สึกอิ่มเร็ว ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งรังไข่หลายคนให้ข้อมูลว่า พวกเธอรู้สึกอิ่มเร็วขึ้นหลังจากกินอาหาร […]


มะเร็งรังไข่

อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ กินอาหารอย่างไร ให้ได้ประโยชน์สูงสุด

หากคุณถูกวินิจฉัยว่า เป็น โรคมะเร็งรังไข่ (Ovarian cancer) หนึ่งในสิ่งสำคัญที่ ที่ควรใส่ใจคือ เรื่องโภชนาการ การรับประทานอาหาร โดยเฉพาะเรื่องความของสารอาหารที่ร่างกายต้องการ เพื่อนำไปเป็นพลังงานในการรักษาสุขภาพ ให้มีสุขภาพที่ดีและแข็งแรง ดังนั้น คุณจำเป็นต้องรู้เคล็ดลับทางโภชนาการ อาหารที่มีความเหมาะสมสำหรับผู่ป่วย โรคมะเร็งรังไข่ เพื่อการดูแลร่างกายอย่างถูกต้อง วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ ไปดูกันว่าควรรับประทานอย่างไร เพื่อสุขภาพที่ดี อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ กินอย่างไรให้ดีต่อโรค รับประทานอาหารที่มีความสดใหม่ การรักษา โรคมะเร็งรังไข่ โดยวิธีการใช้เคมีบำบัด มักจะส่งผลกระทบต่อต่อมรับรส บางครั้งอาจทำให้ต่อมรับรสเปลี่ยนไป ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องเลือกอาหารที่มีความสดใหม่ เพราะอาหารที่มีความสดใหม่ จะยังคงรสชาติแบบธรรมไว้อยู่ แถมยังมีรสชาติที่ดีกว่าอาหารที่ค้างไว้นาน มีงานวิจัยที่แสดงให้เห็นว่า ระหว่างที่เข้ารับการทำเคมีบำบัดนั้น อาจทำให้รู้สึกไม่อยากกินเนื้อสัตว์ ดังนั้นหากเกิดผลข้างเคียงเช่นนี้ ควรเพิ่มอาหารชนิดอื่น ๆ ที่อุดมไปด้วยโปรตีนสูง เพื่อทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เช่น ไข่  ผลิตภันฑ์จากถั่ว หรือปลา ที่สำคัญจะต้องดื่มน้ำมาก ๆ แต่หากว่าการดื่มน้ำเปล่าเป็นเรื่องยากสำหรับคุณ การดื่มน้ำแร่หรือน้ำผสมมะนาวซีก อาจช่วยเพิ่มความสดชื่นได้ ไม่ควรบริโภคคาร์โบไฮเดรตอย่างเดียว ผู้ที่เป็น โรคมะเร็งรังไข่ ควรลดปริมาณของคาร์โบไฮเดรตในมื้ออาหารให้น้อยลง เนื่องจากอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตนั้นจะมีน้ำตาลอยู่ การลดอาหารประเภทนี้จะช่วยในการลดระดับน้ำตาลในเลือด และความดันโลหิตได้ ยิ่งระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำก็จะช่วยให้ร่างกายรู้สึกดีขึ้นได้ ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อลดภาวะขาดน้ำ ร่างกายของคนเรานั้น ต้องการน้ำเป็นอย่างมาก ดังนั้นคุณจึงควรรักษาความชุ่มชื้นของร่างกายโดยการดื่มน้ำอย่างเพียงพอ อาการท้องร่วงหรืออาเจียน […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม