backup og meta

ผู้เป็นโรคมะเร็งรังไข่ ใช้ชีวิตอย่างไรให้สุขภาพดีและมีความสุข

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 20/04/2021

    ผู้เป็นโรคมะเร็งรังไข่ ใช้ชีวิตอย่างไรให้สุขภาพดีและมีความสุข

    แน่นอนว่า โรคมะเร็งเป็นข่าวร้ายที่ทำร้ายจิตใจผู้ป่วย และก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความจริงที่เกิดขึ้นได้ แต่สิ่งที่ผู้เป็นมะเร็งสามารถทำได้ก็คือ การเลือกใช้ชีวิตที่เหลืออยู่ต่างหาก มีทางเลือกมากมายที่ช่วยให้ ผู้เป็นโรคมะเร็งรังไข่ มีชีวิตอยู่อย่างสุขภาพดี แข็งแรง และมีความสุข ทาง Hello คุณหมอ มีเรื่องนี้มาฝากกัน

    การใช้ชีวิตให้สุขภาพดีและมีความสุขสำหรับ ผู้เป็นโรคมะเร็งรังไข่

    ผู้ป่วยหลายคนเมื่อทราบว่าตัวเองเป็นโรคร้าย อย่างเช่น โรคมะเร็งรังไข่ อาจเกิดความรู้สึกเศร้า วิตกกังวล และเครียด แต่การจดจ่ออยู่กับอาการป่วยมากเกินไป อาจทำให้อาการแย่ลงก็เป็นได้ ดังนั้น การใช้ชีวิตให้มีสุขภาพดีและมีความสุขจึงถือเป็นเรื่องที่ควรทำ ซึ่งวิธีต่าง ๆ มีดังนี้

    ผู้เป็นโรคมะเร็งรังไข่ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ระหว่างการรักษา

    การรักษา โรคมะเร็งรังไข่ จะทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ยาก นอกจากนี้ ผู้เป็น โรคมะเร็งรังไข่ อาจน้ำหนักลดลงเนื่องจากการขาดสารอาหาร ดังนั้น โภชนาการที่ดี จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะทำให้สุขภาพแข็งแรงขึ้นและช่วยต้านมะเร็ง การรับประทานสารอาหารที่เพียงพอต่อร่างกาย สามารถสร้างเสริม

    สุขภาพที่ดี ทั้งช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการรักษา

    ดังนั้น เพื่อไม่ให้น้ำหนักลดมากเกินไป ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารโปรตีนสูง และเพิ่มการรับแคลอรี่ในแต่ละวันให้มากขึ้น ทั้งยังควรดื่มเครื่องดื่มตามที่แพทย์แนะนำ เนื่องจากเครื่องดื่มบางชนิด สามารถกระตุ้นความอยากอาหารได้ น้ำเปล่าเป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่ควรดื่มน้ำเพียงอย่างเดียว เนื่องจากไม่มีแคลอรี่ และอิเล็กโทรไลต์ ให้ลองเครื่องดื่มให้พลังงานบางประเภทเพิ่มเติมด้วย

    มีข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการเผยว่า แทนที่จะรับประทานอาหารมื้อใหญ่ จำนวน 3 มื้อ ควรแบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อย่อย ๆ โดยวิธีนี้จะช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร และช่วยให้ผู้ป่วยมีความสุขกับการรับประทานอาหารมากยิ่งขึ้น

    การดูแลรักษาตนเอง

    การรักษา โรคมะเร็งรังไข่ ต้องมีการรักษาทั่วร่างกาย ไม่ใช่เฉพาะบริเวณที่เกิดมะเร็งเท่านั้น โดยมักเป็นการักษาความเจ็บปวดที่เกิดจากโรคมะเร็ง ซึ่งทำให้ผู้ป่วยเครียดและอ่อนเพลีย ผู้ป่วยควรดูแลและเยียวยาตัวเองให้มากขึ้น โดยการทำใจให้สบาย เริ่มจากปล่อยวางความคิด และความกังวลเกี่ยวกับโรค นอกจากนี้ ผู้ป่วยสามารถหาความสุขสนุกสนานจากกิจกรรม หรืองานอดิเรกส่วนตัวที่ชื่นชอบ ไม่ว่าจะเป็น บทกวี ดนตรี หนังสือ หรือศิลปะ นอกจากนี้ การลองทำกิจกรรมใหม่ ๆ ที่ท้าทาย ก็สามารถช่วยบรรเทาความกังวล ความเครียด และอาการต่าง ๆ ได้

    ด้วยการพัฒนาทางการแพทย์ที่ไม่หยุดยั้ง ปัจจุบันนี้ มีอาหารเสริม สมุนไพร และยาเป็นจำนวนมาก ที่ช่วยบำรุงร่างกายในระหว่างการรักษา โรคมะเร็งรังไข่ อย่างไรก็ดี ควรสังเกตว่ายาประเภทต่าง ๆ มีส่วนประกอบ คุณสมบัติ และการใช้ที่แตกต่างกัน การใช้ยาหลายประเภทพร้อมกัน อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนลองใช้ยาประเภทใหม่

    เลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ

    การได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เป็นเรื่องที่ร้ายแรงมากพออยู่แล้ว แต่จะเป็นเรื่องที่ร้ายแรงมากขึ้น หากผู้ป่วยไม่รักษาสุขภาพตัวเอง สิ่งสำคัญที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งควรทำ คือ ให้ความสำคัญกับสุขภาพ และควรทราบว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ และสิ่งใดที่ทำให้สุขภาพดีขึ้น ตัวอย่างเช่น การรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์มากขึ้น และออกกำลังกายให้มากขึ้น หากผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ให้เลิกพฤติกรรมดังกล่าว เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือการสูบบุหรี่

    ออกกำลังกาย

    เป็นเรื่องปกติที่ผู้ป่วยมะเร็งรังไข่มักรู้สึกเหนื่อย และไม่สามารถออกกำลังกายในระหว่างการรักษา แต่นักวิจัยแสดงให้เห็นว่า การออกกำลังกายช่วยลดความอ่อนเพลียและความเครียดได้ และเป็นที่พิสูจน์แล้วว่า หากผู้ป่วยมะเร็งรังไข่ออกกำลังกายอย่างเพียงพอ จะมีสุขภาพจิตและสามารถจัดการความรู้สึกและอารมณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้ป่วยควรเลือกการออกกำลังกายตามสภาวะสุขภาพในปัจจุบัน และวางแผนเพิ่มการออกกำลังกายทีละน้อย

    วิธีเลือกใช้ชีวิตอยู่กับ โรคมะเร็งรังไข่ เป็นตัวกำหนดคุณภาพชีวิตในอนาคตของผู้ป่วย เคล็ดลับข้างต้นถือเป็นข้อแนะนำ ที่จะทำให้ผู้ป่วย โรคมะเร็งรังไข่ ใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างมีความสุข

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 20/04/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา