backup og meta

ฮอร์โมนบำบัด รักษามะเร็งเต้านม หนึ่งในวิธีที่ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง

ฮอร์โมนบำบัด รักษามะเร็งเต้านม หนึ่งในวิธีที่ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง

โรคมะเร็งบางชนิด อย่าง โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือ โรคมะเร็งเต้านม ฮอร์โมนมีส่วนสำคัญที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรค ฮอร์โมนบางชนิด สามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ให้เติบโตขึ้นได้อย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกัน ฮอร์โมนก็สามารถช่วยรักษามะเร็งได้ ด้วยวิธีการที่เรียกว่า ฮอร์โมนบำบัด วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการใช้ฮอร์โมนบำบัดรักษามะเร็งเต้านม ใครที่สงสัยว่าวิธีการบำบัดแบบนี้คืออะไร ไปอ่านกันเลยค่ะ

ฮอร์โมนบำบัด คืออะไร

ฮอร์โมน เป็นสารที่ร่างกายผลิตขึ้นมาจาก ต่อมฮอร์โมน ทำหน้าที่เป็นสารเคมีในการสื่อสารของร่างกาย หากร่างกายถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้าใด ๆ ก็ตาม ระบบประสาทส่วนกลาง (CNS) จะส่งสัญญาณไปที่ต่อมฮอร์โมนบางชนิด เพื่อให้ต่อมฮอร์โมนปล่อยฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือด และเมื่อฮอร์โมนนั้น ๆ ไหลเวียนอยู่ในร่างกาย เซลล์หรืออวัยะที่มีตัวรับสัญญาณของฮอร์โมนนั้นอยู่ ก็จะสามารถรับรู้ได้ถึงฮอร์โมนนั้น ๆ และจะเกิดกระบวนการถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรมเพื่อรับมือกับสิ่งเร้านั้น

หากผลการทดสอบพบว่า เซลล์มะเร็งนั้นมีตัวรับสัญญาณที่ทำให้ฮอร์โมนสามารถเข้าไปเกาะติดได้ ก็จะมีการใช้ยา การผ่าตัด หรือการฉายรังสีบำบัด เพื่อลดหรือหยุดยั้งการทำงานของฮอร์โมน ทำให้การเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งอย่างรวดเร็วหยุดชะงักลง วิธีการดังกล่าวนี้เรียกว่าฮอร์โมนบำบัด (Hormonal Therapy) และใช้เพื่อการรักษาโรคมะเร็ง

ฮอร์โมนบำบัด รักษามะเร็งเต้านม

การรักษา โรคมะเร็งเต้านม ด้วยฮอร์โมน เป็นการรักษา โรคมะเร็งเต้านม ที่มีความไวต่อฮอร์โมน ซึ่งมีรูปแบบการรักษาอยู่มากมายหลายชนิด เช่น ฮอร์โมนบำบัดเพื่อช่วยยับยั้งการทำงานของรังไข่ ฮอร์โมนบำบัดเพื่อยับยั้งการสร้างเอสโตรเจน ฮอร์โมนบำบัดเพื่อยับยั้งผลกระทบของเอสโตรเจน ฮอร์โมนบำบัดจะช่วยกดการหลั่งของเอสโตรเจน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่สร้างจากรังไข่ ในผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือน หรือจากเนื้อเยื่ออื่น ๆ เช่น เนื้อเยื่อไขมัน หรือผิวหนัง ซึ่งฮอร์โมนเอสโตรเจนจัดเป็นตัวแปรที่สำคัญมากในการเกิด โรคมะเร็งเต้านม เนื่องจากเป็นตัวเร่งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็งเต้านม

การรักษา โรคมะเร็งเต้านม ด้วยฮอร์โมน มักใช้หลังจากผ่าตัด เพื่อลดความเสี่ยงที่มะเร็งจะกลับมาอีกครั้ง การรักษา โรคมะเร็งเต้านม ด้วยฮอร์โมน อาจใช้เพื่อลดขนาดเนื้องอกก่อนการผ่าตัด ทำให้มีโอกาสมากขึ้นที่มะเร็งจะถูกกำจัดออกไปอย่างสมบูรณ์ หรือหากมะเร็งของคุณแพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย การรักษาด้วยฮอร์โมนอาจช่วยควบคุมการแพร่กระจายเหล่านั้นได้

วิธีใช้ ฮอร์โมนบำบัด รักษามะเร็งเต้านม

การใช้ฮอร์โมนบำบัด เพื่อจัดการกับ โรคมะเร็งเต้านม ชนิดที่ไวต่อฮอร์โมนมีอยู่ 3 รูปแบบหลัก ๆ คือ

ใช้รักษาหลังการผ่าตัดมะเร็งเต้านมในระยะแรก

หลังการผ่าตัดรักษา โรคมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมักจะได้รับการรักษาโรคมะเร็งวิธีอื่น ๆ ควบคู่กันไปด้วย เช่น การฉายรังสี การทำเคมีบำบัด รวมถึงการใช้ฮอร์โมนบำบัด โดยการใช้ฮอร์โมนบำบัดนี้จัดเป็นวิธีการรักษาหลังการผ่าตัด (Adjuvant therapy) ที่ให้ผลข้างเคียงน้อยกว่าการทำเคมีบำบัดมาก มีงานวิจัยพบว่า ผู้หญิงที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้ มักจะไม่ค่อยกลับมาเป็นโรคมะเร็งเต้านม หรือโรคมะเร็งอื่น ๆ อีก อย่างน้อยก็ภายใน 15 ปี หลังได้รับการรักษา โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้องอกจะเป็นผู้ตัดสินใจ เรื่องวิธีการหรือระยะเวลาที่ใช้ในการรักษา

ใช้รักษามะเร็งเต้านมระดับรุนแรงหรือระยะแพร่กระจาย

ฮอร์โมนบำบัดหลายรูปแบบ ได้รับการรับรองแล้วว่าสามารถใช้รักษามะเร็งเต้านมชนิดที่ไวต่อฮอร์โมนระดับรุนแรง หรือโรคมะเร็งที่กลับมาเป็นซ้ำได้ นอกจากนี้ วิธีนี้ยังเป็นตัวเลือกหนึ่งที่นิยมใช้เพื่อรักษามะเร็งเต้านมชนิด ER-positive ที่กลับมาเป็นซ้ำในบริเวณทรวงอก ผนังทรวงอก หรือต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียงหลังจากรักษาไปแล้ว

ใช้ในการให้ยาบำบัดก่อนผ่าตัดมะเร็งเต้านม

ในปัจจุบัน การใช้ฮอร์โมนบำบัดก่อนการผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านม ยังคงอยู่ในขั้นศึกษาวิจัย จุดประสงค์ของการใช้ฮอร์โมนบำบัดก่อนผ่าตัดมะเร็งเต้านม คือ เพื่อลดขนาดของก้อนเนื้องอก จนสามารถผ่าตัดแบบสงวนเต้านมได้ จากการศึกษาพบว่า วิธีนี้สามารถลดขนาดของก้อนเนื้องอกในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนได้จริง แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีฮอร์โมนบำบัดแบบใด ที่ได้รับการรับรองสำหรับวิธีรักษานี้

ผลข้างเคียงของ ฮอร์โมนบำบัด รักษามะเร็งเต้านม 

ผลข้างเคียงของการทำฮอร์โมนบำบัดนั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของยา หรือการรักษาที่ผู้ป่วยได้รับ ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เช่น

ในปัจจุบัน วิธีการเพื่อการรักษาโรคมะเร็งเต้านมถูกค้นพบใหม่เรื่อย ๆ และไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า นอกเหนือจากวิธีการใช้เคมีบำบัดแล้ว การใช้ฮอร์โมนบำบัด ก็เป็นอีกหนึ่งที่เป็นการรักษาโรคมะเร็งเต้านมที่มีประสิทธิภาพสูงเช่นกัน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

PDQ Cancer Information Summaries [Internet], Breast Cancer Treatment (PDQ®) https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmedhealth/PMH0032825/. Accessed October 12, 2016

National Cancer Institute, Hormone Therapy for Breast cancer, https://www.cancer.gov/types/breast/breast-hormone-therapy-fact-sheet. Accessed February 14, 2017

Hormone Therapy for Breast Cancer. https://www.cancer.org/cancer/breast-cancer/treatment/hormone-therapy-for-breast-cancer.html. Accessed February 14, 2017

Hormone therapy for breast cancer.https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/hormone-therapy-for-breast-cancer/about/pac-20384943.Accessed April 16, 2021

Breast Cancer Hormone Therapy: How It Works, Side Effects, and More.https://www.healthline.com/health/breast-cancer-hormone-therapy-how-it-works-side-effects-more.Accessed April 16, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

17/04/2021

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: ชลธิชา จันทร์วิบูลย์


บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งเต้านมครั้งที่สอง เป็นแล้วจะรับมือกับสภาพจิตใจอย่างไรดี

ไลฟ์สไตล์อันตรายที่อาจนำไปสู่ โรคมะเร็งเต้านม


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 17/04/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา