backup og meta

วัคซีนมะเร็ง ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งได้จริงหรือ

วัคซีนมะเร็ง ช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งได้จริงหรือ

วัคซีน คือ สารชนิดนึ่งที่ฉีดเข้าสู่ร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยป้องกันร่างกายจากไวรัสที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่ โรคมาลาเรีย โควิด 19 โดยวัคซีนจะเข้าไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีที่สามารถป้องกันเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย เมื่อร่างกายได้รับสิ่งแปลกปลอมอีกครั้ง ระบบภูมิคุ้มกันก็จะทำหน้าที่ป้องกันร่างกายจากสิ่งแปลกปลอมนั้น ๆ ซึ่ง วัคซีนมะเร็ง ก็มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายรู้จักเซลล์มะเร็ง รวมถึงทำหน้าที่ในการโจมตีและทำลายเซลล์มะเร็งนั่นเอง

การติดเชื้อไวรัสอาจมีส่วนทำให้เกิดมะเร็งหลายชนิด ตัวอย่างเช่น มะเร็งปากมดลูก อาจเกิดจากไวรัสเอชพีวี (HPV) ในขณะที่มะเร็งตับอาจเกิดจากไวรัสดับอักเสบบี (HBV) ซึ่งในปัจจุบัน มีการพัฒนาวัคซีนหลายชนิดที่ช่วยป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวีและไวรัสตับอักเสบบี โดยวัคซีนเหล่านี้อาจอาจมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงของการก่อตัวของเซลล์มะเร็งที่เกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสเอชพีวีและไวรัสตับอักเสบบีได้

ประเภทของวัคซีนมะเร็ง

ประเภทของวัคซีนมะเร็ง มีดังต่อไปนี้

  • วัคซีนจากโปรตีนหรือเปปไทด์ เป็นโปรตีนที่มีโมเลกุลเล็ก และมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับเซลล์มะเร็ง
  • วัคซีน DNA และ RNA คือ วัคซีนที่ผลิตจาก DNA หรือ RNA ที่มักพบในเซลล์มะเร็ง ซึ่งอาจช่วยให้เซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันตอบสนองและทำลายเซลล์มะเร็ง
  • วัคซีนไวรัส นักวิทยาศาสตร์อาจทำการเปลี่ยนไวรัสในห้องปฏิบัติการที่เรียกว่า เวกเตอร์ไวรัส และใช้เป็นพาหะเพื่อนำส่งแอนติเจนของมะเร็งเข้าสู่ร่างกาย เพื่อกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ตอบสนองต่อเวกเตอร์ไวรัส ซึ่งระบบภูมิคุ้มกันอาจรับรู้และตอบสนองต่อแอนติเจนของมะเร็ง นอกจากนี้คุณหมออาจใช้วิธีการรักษามะเร็งที่เรียกว่า T-VEC ที่คล้ายกับวัคซีนไวรัส โดยใช้สายพันธุ์ของไวรัสเริม นำไปเปลี่ยนแปลงยีนเพื่อระบุให้ไวรัสทำลายเซลล์มะเร็ง เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งผิวหนัง มะเร็งศีรษะและลำคอ และมะเร็งบางชนิดที่ไม่สามารถกำจัดออกได้ด้วยการผ่าตัด
  • วัคซีนเซลล์เดนไดรต์ (Dendritic Cell Vaccines) คือวัคซีนที่อาจช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันรับรู้และทำลายเซลล์ผิดปกติ เช่น เซลล์มะเร็ง
  • วัคซีนที่ทำจากแบคทีเรียหรือไวรัสทั้งตัวที่ตายแล้ว เป็นวัคซีนที่อาจช่วยให้ร่างกายกระตุ้นภูมิคุ้มกันป้องกันโรค

วัคซีนมะเร็ง มีอะไรบ้าง

วัคซีนที่อาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง หลัก ๆ มีดังนี้

  • วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) 

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคประเทศสหรัฐอเมริกา (CDC) แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HPV ที่อาจเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งที่เกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น มะเร็งปากมดลูก เชื้อไวรัสเอชพีวีสามารถแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางปาก ช่องคลอด ทวารหนักโดยไม่ป้องกัน หรือสัมผัสกับเชื้อทางผิวหนัง ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะก่อให้เกิดมะเร็งช่องปาก มะเร็งทวารหนัก มะเร็งองคชาต มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด และมะเร็งบริเวณปากช่องคลอด เพราะเชื้อไวรัสอาจกระตุ้นให้เซลล์เพิ่มจำนวนมากขึ้นจนยากต่อการควบคุมและนำไปสู่การเกิดเซลล์มะเร็ง

การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันเชื้อไวรัสเอชพีวีจึงอาจช่วยลดโอกาสการติดเชื้อและลดความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้ ควรเริ่มฉีดวัคซีนตั้งแต่อายุ 9-12 ปี สำหรับผู้ใหญ่ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสเอชพีวีมาก่อน อาจเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 27-45 ปี

  • วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี

ไวรัสตับอักเสบบีอาจเกิดจากการแพร่กระจายผ่านทางเลือด สารคัดหลั่งบริเวณช่องคลอด อสุจิ เมื่อมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน การใช้เข็มฉีดยา เข็มเจาะเลือด แต่ไม่สามารถแพร่กระจายผ่านการไอและจาม นอกจากนี้ สตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอาจแพร่เชื้อสู่ทารกในครรภ์ระหว่างคลอดได้ เนื่องจาก ผู้ที่เป็นโรคตับอักเสบบีเรื้อรัง อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งตับ ดังนั้นจึงควรฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง

วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีสามารถฉีดได้ตั้งแต่แรกเกิด โดยจะแบ่งออกเป็น 2 โดส 3 โดส หรือ 4 โดส ตามดุลพินิจของคุณหมอ สำหรับเด็กและผู้ใหญ่ รวมถึงผู้ที่มีความเสี่ยงดังต่อไปนี้ ก็สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนได้เช่นกัน 

  • ผู้ที่มีคู่นอนหรืออาศัยอยู่กับผู้ที่เป็นโรคตับอักเสบบี
  • ผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
  • ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
  • สตรีตั้งครรภ์
  • ผู้ที่กำลังรักษาด้วยเคมีบำบัด ฟอกไต
  • ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ที่เสี่ยงต่อการสัมผัสกับเลือดหรือของเหลวในร่างกายของผู้อื่น
  • ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคตับเรื้อรัง โรคตับอักเสบซี โรคไต โรคเบาหวาน
  • ผู้ที่เดินทางไปยังพื้นที่ที่มีผู้คนป่วยเป็นโรคตับอักเสบบี
  • ผู้ที่ใช้เข็ม กระบอกฉีดยาร่วมกับผู้อื่น

ผลข้างเคียงของวัคซีนป้องกันมะเร็ง

ผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งขึ้นอยู่กับชนิดของวัคซีนและภาวะสุขภาพของผู้ป่วย โดยทั่วไปอาจก่อให้เกิดอาการ ดังนี้

  • มีไข้ คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ 
  • ปวดศีรษะ 
  • คลื่นไส้
  • อ่อนเพลีย
  • รู้สึกหนาวสั่น
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ข้อต่อ หลัง
  • รู้สึกเบื่ออาหาร อยากอาหารน้อยลง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Vaccines to treat cancer. https://www.cancerresearchuk.org/about-cancer/cancer-in-general/treatment/immunotherapy/types/vaccines-to-treat-cancer  . Accessed January 10, 2022

HPV and Cancer. https://www.cancer.gov/about-cancer/causes-prevention/risk/infectious-agents/hpv-and-cancer  . Accessed January 10, 2022

Cancer Vaccines: Preventive, Therapeutic, Personalized. https://www.cancerresearch.org/immunotherapy/treatment-types/cancer-vaccines  . Accessed January 10, 2022

How do vaccines work?. https://www.who.int/news-room/feature-stories/detail/how-do-vaccines-work?adgroupsurvey={adgroupsurvey}&gclid=Cj0KCQiAoNWOBhCwARIsAAiHnEhR3-1A_5UEMxvMAnbLT-9yR1AYdJBIfIfQbCg8ntGkv_LEDC2P_BoaAp0SEALw_wcB  . Accessed January 10, 2022

Hepatitis B. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hepatitis-b/symptoms-causes/syc-20366802  . Accessed January 10, 2022

Hepatitis B vaccine. https://www.nhs.uk/conditions/vaccinations/hepatitis-b-vaccine/  . Accessed January 10, 2022

Hepatitis B VIS. https://www.cdc.gov/vaccines/hcp/vis/vis-statements/hep-b.html  . Accessed January 10, 2022

Hepatitis B & liver cancer. https://www.cancervic.org.au/preventing-cancer/attend-screening/hep-b-liver-cancer  . Accessed January 10, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

10/01/2022

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก ที่คุณผู้ชายควรรู้

สาเหตุ และปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็ง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 10/01/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา