การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารเป็นวิธีที่นิยมใช้ประเมินความสามารถของร่างกายในการจัดการกับน้ำตาลจากอาหารที่รับประทานเข้าไป และยังใช้เป็นเกณฑ์ที่บอกการควบคุมระดับน้ำตาลของร่างกายได้ โดย ค่าน้ำตาล หลัง กิน ข้าว 1 ชม ของคนทั่วไปไม่ควรเกิน 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ในขณะที่ค่าน้ำตาลหลังกินข้าว 1 ชม ของผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรสูงกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
[embed-health-tool-bmi]
ทำไมต้องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด
การตรวจระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากจะใช้ในการคัดกรองและวินิจฉัยโรคเบาหวานแล้ว ยังช่วยในการติดตามการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ด้วย ซึ่งจะทำให้คุณหมอทราบได้ว่า การรักษาที่ให้กับผู้ป่วยนั้นเหมาะสมมากน้อยเพียงใด ทั้งยังช่วยให้คุณหมอสามารถปรับแนวทางการรักษาและให้คำแนะนำในการดูแลตนเองแก่ผู้ป่วยได้เหมาะสมกับสภาวะสุขภาพมากขึ้นด้วย
โดยทั่วไปแล้ว การวัดระดับน้ำตาลในเลือดสามารถตรวจเบื้องต้นด้วยตัวเองที่บ้านได้ โดยการใช้เครื่องตรวจเบาหวานหรือเครื่องตรวจน้ำตาลปลายนิ้ว (Blood Glucose Meter หรือ BGM) ซึ่งมีขั้นตอนเบื้องต้นดังนี้
- ทำความสะอาดปลายนิ้วที่จะเจาะเลือดด้วยแอลกอฮอล์
- เตรียมเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และสอดแถบวัดค่าระดับน้ำตาลเข้ากับตัวเครื่อง
- ใช้ชุดเข็มสำหรับเจาะเลือดปลายนิ้วเจาะที่บริเวณปลายนิ้ว
- บีบเลือดที่ปลายนิ้วเบา ๆ ให้เลือดหยดเข้าแถบวัด
- ค่าระดับน้ำตาลจะปรากฏบนจอเครื่องวัด
การวัดระดับน้ำตาลในเลือดสามารถทำได้หลายช่วงเวลา เช่น ก่อนมื้ออาหาร หลังมื้ออาหาร หลังออกกำลังกายหรือออกแรงหนักกว่าปกติ
การตรวจค่าน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารจะช่วยบอกถึงความสามารถในการจัดการกับน้ำตาลในเลือดที่เพิ่มสูงขึ้นหลังรับประทานอาหารของร่างกาย ทางการแพทย์แนะนำให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหารประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพราะเป็นช่วงที่ระดับน้ำตาลกำลังขึ้นสูงพอดีหลังจากอาหารถูกย่อยและดูดซึม
ค่าน้ำตาล หลัง กิน ข้าว 1 ชม ควรอยู่ที่เท่าไหร่
ค่าน้ำตาลในเลือดจะรายงานเป็นหน่วยมิลลิกรัมต่อเดซิลิตร (mg/dL) ซึ่งการตรวจระดับน้ำตาลหลังมื้ออาหาร แนะนำให้ตรวจหลังจากเริ่มรับประทานไปแล้ว 1-2 ชั่วโมง โดยอาจมีเกณฑ์การแปลผลดังต่อไปนี้
ค่าน้ำตาลในเลือดก่อนมื้ออาหาร
- ผู้ที่ไม่ได้เป็นเบาหวาน จะมีค่าระดับน้ำตาลไม่เกิน 99 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- ผู้ที่เป็นเบาหวานเบาหวาน ควรมีค่าน้ำตาลก่อนมื้ออาหาร อยู่ที่ 80-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- คุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรมีค่าน้ำตาลก่อนมื้ออาหาร 60-95 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
ค่าน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหาร (1-2 ชั่วโมง)
- ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ควรมีค่าน้ำตาล หลัง กิน ข้าว ไม่เกิน 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- คุณแม่ที่มีภาวะเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ควรมี
- ค่าน้ำตาล หลัง กิน ข้าว 1 ชมไม่เกิน 140 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- ค่าน้ำตาล หลังกินข้าว 2 ชั่วโมงไม่เกิน 120 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
การตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดแนะนำให้เริ่มตรวจคัดกรองตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไป เนื่องจากความเสี่ยงของโรคเบาหวานจะมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น แต่อาจเริ่มตรวจได้เร็วกว่านั้นหากมีปัจจัยเสี่ยงของโรคเบาหวานอื่น ๆ เช่น มีภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน เพื่อให้สามารถวินิจัยโรคและให้การรักษาได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ และป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ ภาวะเบาหวานขึ้นตา ภาวะเบาหวานลงเท้า โรคไต ภาวะหัวใจวาย โรคความดันโลหิตสูง โรคทางระบบประสาท
การดูแลตัวเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
การดูแลตัวเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด อาจทำได้ดังนี้
- หมั่นตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ และจดบันทึกค่าน้ำตาลในเลือดที่ได้ในแต่ละวันเพื่อเป็นข้อมูลบ่งบอกถึงการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของตัวเอง ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่เป็นเบาหวานแล้วหรือผู้ที่มีความเสี่ยง สามารถดูแลตัวเองได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นข้อมูลให้คุณหมอปรับการรักษาได้เหมาะสมขึ้นด้วย
- ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานควรปฏิบัติตามแผนการรักษาและการดูแลตัวเองที่คุณหมอแนะนำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรหยุดกินยาหรือปรับขนาดยาเอง หากปรับพฤติกรรมสุขภาพร่วมกับรับประทานยารักษาเบาหวานอย่างเคร่งครัด แล้วระดับน้ำตาลในเลือดยังสูงอยู่ ควรไปพบคุณหมอเพื่อปรึกษาเพิ่มเติมหรือปรับยาให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
- ควรลดการบริโภคอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตขัดสีและน้ำตาล เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว น้ำตาลทราย น้ำหวาน และเลือกรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผักและผลไม้ที่มี่ค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ธัญพืชเต็มเมล็ด (ไม่ขัดสี) พืชตระกูลถั่ว ข้าวกล้อง เนื่องจากใยอาหารอาจมีส่วนช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาล ไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นเร็วหลังรับประทาน และยังทำให้รู้สึกอิ่มท้องได้นาน จึงทำให้สามารถควบคุมเบาหวานได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้
- เลิกหรืองดสูบบุหรี่ เพราะสารพิษจากบุหรี่ส่งผลทำให้หลอดเลือดของร่างกายเสื่อมลง เสี่ยงเส้นเลือดตีบตันได้ง่ายขึ้น และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ของเบาหวาน เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ภาวะเบาหวานขึ้นตา
- ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยแนะนำให้ออกกำลังในระดับความเหนื่อยหรือความเข้มข้นปานกลาง เช่น เดินเร็ว ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เล่นโยคะ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที หรือวันละ 30 นาที 5 วัน/สัปดาห์ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินให้จัดการกับระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือผู้ที่เป็นเบาหวานที่มีโรคร่วมอื่น ๆ อาจปรึกษาคุณหมอเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกำลังกายที่เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น น้ำตาลในเลือดต่ำ หรือป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากการออกกำลังกาย