backup og meta

น้ำตาลสะสม ปกติ เท่าไร และตรวจอย่างไร

น้ำตาลสะสม ปกติ เท่าไร และตรวจอย่างไร

ระดับน้ำตาลสะสม หมายถึง การตรวจน้ำตาลที่จับกับฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดเเดง ซึ่งจะบ่งบอกถึงค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา มีชื่อการตรวจคือ HbA1c (Hemoglobin A1C) หรือฮีโมโกลบิน เอ วัน ซี การตรวจน้ำตาลสะสมหรือ HbA1c นี้ สามารถตรวจได้ โดยการเจาะเลือดเเละไม่ต้องอดอาหาร เเต่โดยทั่วไปเเล้วระดับน้ำตาลสะสม ในเกณฑ์ปกติ เท่าไร อาจเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ไม่ทราบคำตอบ เนื่องจากอาจไม่ได้รับการตรวจ ซึ่งหากเป็นโรคเบาหวานหรือมีภาวะก่อนเบาหวานเเล้วเเนะนำให้รับการตรวจ ระดับน้ำตาลสะสม ทุก ๆ 3 – 6 เดือน เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับการดูเเลสุขภาพเเละการรักษาที่เหมาะสมยิ่งขึ้น

[embed-health-tool-bmi]

น้ำตาลสะสม ปกติ เท่าไร

ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด หรือ HbA1c หมายถึง การตรวจน้ำตาลที่จับกับฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดเเดง ซึ่งจะบ่งบอกถึงค่าเฉลี่ยของระดับน้ำตาลในเลือดช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา

การตรวจน้ำตาลสะสม HbA1c จะแสดงผลเป็นเปอร์เซ็นต์ โดย สามารถแปลผลถึงภาวะสุขภาพดังนี้

  • ไม่เกิน 5.6 เปอร์เซ็นต์ หมายถึงสุขภาพปกติ
  • 7 – 6.4 เปอร์เซ็นต์ หมายถึง กำลังมีภาวะก่อนเบาหวานหรือมีความเสี่ยงของโรคเบาหวาน
  • สูงตั้งเเต่ 5 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป หมายถึง กำลังเป็นโรคเบาหวาน

ในสภาวะปกติ ฮอร์โมนอินซูลินจะกระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายนำน้ำตาลในกระเเสเลือดไปใช้เป็นพลังงาน รวมทั้งนำน้ำตาลบางส่วนไปเก็บสะสมไว้ที่ตับเพื่อเป็นเเหล่งพลังงานสำรอง

การที่ผู้ป่วยเบาหวาน มีระดับน้ำตาลสะสมในเลือดสูงกว่าปกติ นั้นเนื่องจากตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินลดลงหรือไม่ได้เลย ทำให้ไม่สามารถควบคุมสมดุลของน้ำตาลในเลือดให้ในอยู่ในเกณฑ์ปกติได้ ซึ่งทำให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1

นอกจากนั้น ยังมีสาเหตุจากภาวะดื้ออินซูลิน หรือภาวะที่เซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้ตามปกติ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น อีกทั้งตับอ่อนจึงต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้นเพื่อผลิตอินซูลินให้ได้ตามที่ร่างกายต้องการ เมื่อทำงานหนักเกินไป ตับอ่อนจึงเกิดความเสียหาย จนสุดท้ายจึงผลิตอินซูลินได้ลดลง และส่งผลให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ตามมา

น้ำตาลสะสม ควรตรวจเมื่อไร

โดยทั่วไปเเล้ว การตรวจน้ำตาลสะสมจะเเนะนำในผู้ที่เป็นเบาหวานเเล้ว หรือ มีภาวะก่อนเบาหวาน โดยความตรวจทุก ๆ 3 – 6 เดือน เพื่อเป็นข้อมูลในการรักษาเเละดูเเลสขภาพให้ดียิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในผู้ที่ยังไม่ได้เป็นเบาหวานเเต่มีความเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน มีโรคร่วมเช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดหัวใจเเละสมอง ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน หรือเคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เเละ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ก็อาจเข้ารับการตรวจน้ำตาลสะสมได้

HbA1c ต่างจากการตรวจระดับน้ำตาลแบบทั่วไปอย่างไร

การตรวจระดับน้ำตาลโดยทั่วไป ( Blood Sugar Test) จะเป็นการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดณขณะนั้น ๆ ซึ่งเป็นการตรวจความเข้มข้นน้ำตาลที่มีในกระแสเลือด ไม่ใช่การตรวจน้ำตาลที่จับกับฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดแดง ดังเช่น HbA1c  จึงแสดงผลเป็นปริมาณน้ำตาลเป็นมิลลิกรัมต่อเลือด 1 เดซิลิตร ซึ่งหากทำการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดโดยที่อดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง (Fasting blood sugar) สามารถแปลผลได้ดังนี้

  • น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตรหมายถึง สุขภาพปกติ
  • 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตรหมายถึง กำลังมีภาวะก่อนเบาหวานหรือเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
  • สูงตั้งเเต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เป็นต้นไป หมายถึง กำลังเป็นโรคเบาหวาน

ทั้งนี้ ก่อนรับการตรวจน้ำตาลแบบทั่วไป ต้องอดอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ขณะที่การตรวจน้ำตาลแบบ HbA1c เพื่อหาค่าน้ำตาลสะสมไม่ต้องอดอาหารก่อนรับการตรวจ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Insulin Resistance. https://www.webmd.com/diabetes/insulin-resistance-syndrome#:~:text=Insulin%20resistance%20is%20when%20cells,blood%20sugar%20levels%20go%20up. Accessed September 19, 2022

Hemoglobin A1C (HbA1c) Test. https://medlineplus.gov/lab-tests/hemoglobin-a1c-hba1c-test/. Accessed September 19, 2022

Hemoglobin A1c (HbA1c) Test for Diabetes. https://www.webmd.com/diabetes/guide/glycated-hemoglobin-test-hba1c. Accessed September 19, 2022

Glycated haemoglobin (HbA1c) for the diagnosis of diabetes.

https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK304271/. Accessed September 19, 2022

A1C test. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/a1c-test/about/pac-20384643. Accessed September 19, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

15/03/2023

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

เบาหวาน ใน เด็ก ต่างจากเบาหวานในผู้ใหญ่อย่างไร

อาการคนเป็นเบาหวาน และวิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นเบาหวาน


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 15/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา