backup og meta

อาการคนเป็นเบาหวาน และวิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นเบาหวาน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์ · โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 26/10/2022

    อาการคนเป็นเบาหวาน และวิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นเบาหวาน

    อาการคนเป็นเบาหวาน อาจสังเกตได้จากมีอาการปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย รู้สึกอ่อนเพลีย หากไม่รีบมาพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาหรือควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน  เช่น เบาหวานขึ้นตา เส้นประสาทเสื่อม ไตวาย โรคหัวใจและหลอดเลือด ที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ดังนั้น จึงควรหมั่นสังเกตสุขภาพของตนเอง หากมีความเสี่ยงหรืออาการที่เข้าข่ายว่าอาจจะเป็นสัญญานของโรคเบาหวาน ควรรีบเข้ารับการตรวจคัดกรอง เเละพบคุณหมอเพื่อให้การรักษาควบคุมโรครเบาหวานและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต

    เบาหวานเกิดจากอะไร

    โรคเบาหวานมีสาเหตุหลัก ๆ  2 ประการ คือ ตับอ่อนผลิดฮอร์โมนอินซูลินได้ลดลง ซึ่งฮอร์โมนอินซุลินนี้มีหน้าที่สำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล เมื่อตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ลดลง จึงเกิดเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 สำหรับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากเซลล์ในร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลินจึงทำให้เเม้ตับอ่อนจะสามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอแต่ร่างกายไม่สามารถใช้งานอินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงตามมานอกจากนี้ สำหรับคุณเเม่ตั้งครรภ์ รกจะผลิตหลาย ๆ ชนิดเพิ่มมากขึ้นเพื่อกระตุ้นการเจริยเติบโตของทารก เเต่ฮอร์โมนกลุ่มนี้มีผลต้านกับอินซูลินของคุณเเม่จึงส่งผลให้คุณเเม่บางท่านมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและเกิดเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

    อาการคนเป็นเบาหวาน มีอะไรบ้าง

    อาการคนเป็นเบาหวาน คือ อาการที่เกิดจากการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง รวมทั้งอาจเป็นอาการที่เกิดจากภาวะเเทรกซ้อนที่เกิดตามมาเนื่องจากปล่อยให้มีระดับน้ำตาลสูงเป็นระยะเวลานาน

    อย่างไรก็ตาม ในช่วงเเรกที่เริ่มเป็นเบาหวาน หรือ มีระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงนัก จะไม่มีอาการเเสดงใด ๆ ให้สังเกตอาการของโรคทั้งเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ดังนี้

    • รู้สึกเหนื่อยล้า เนื่องจากไม่สามารถใช้พลังงานจากน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงส่งผลให้ร่างกายขาดพลังงาน เหนื่อยล้า และอ่อนเพลีย
    • กระหายน้ำมากและปัสสาวะบ่อย  เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินเกณฑ์ ไตจะขับน้ำตาลส่วนเกินออกทางปัสสาวะ จึงส่งผลให้ปัสสาวะบ่อยขึ้นและกระหายน้ำมากขึ้นตามมา
    • ตาพร่ามัว หากปล่อยให้มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานอาจเกิดภาวะเบาหวานขึ้นตา ทำให้จอประสาทตาเสือม การมองเห็นภาพจึงผิดปกติไป
    • ริมฝีปากแห้ง ผิวแห้ง เนื่องจากร่างกายเสียน้ำไปทางปัสสวะเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้ผิวหนังขาดความชุ่มชื้นจึงทำให้ริมฝีปากแห้ง ผิวแห้ง เกิดอาการคันเเละผิวระคายเคืองได้ง่ายปัญหาผื่นเชื้อรา มักพบในบริเวณที่อับชื้นเช่น ซอกรอยพับใต้หน้าอก ซอกนิ้ว ขาหนีบ อวัยวะเพศ เพราะเนื่องจากเบาหวานที่ควบคุมไม่ดีจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เชื้อที่บริเวณผิวหนังเจริญเติบโตได้ดี 
    • แผลหายช้า เมื่อมีน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะส่งผลให้เส้นเลือดเเละเส้นประสาทเสียหาย ทำให้การไหลเวียนของเลือดไปยังอวัยวะส่วนปลายบกพร่องไป ส่งผลให้การฟื้นฟูเซลล์บริเวณแผลช้าลง ชาโดยเฉพาะบริเวณปลายมือและเท้า เกิดจากเมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานจะทำให้เส้นประสาทเสื่อมลง โดยมักเกิดกับเส้นประสาทบริเวณส่วนปลายก่อน เช่น ปลายเท้า ปลายมื้อ จึงทำให้เกิดอาการชาที่บริเวณดังเกล่า  
    • น้ำหนักลด เมื่อปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ จะส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดเป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากกระบวนการตอบสนองเเละหลั่งอินซูลินบกพร่องไป ร่างกายจึงจำเป็นต้องเผาผลาญไขมันรวมไปถึงกล้ามเนือเพื่อนำมาใช้เป็นพลังงานแทน ส่งผลให้มีน้ำหนักลดลงอย่างกะทันหันได้

    อาการภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

    ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือ ภาวะที่ผู้ที่เป็นเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร เป็นภาวะที่อาจพบได้หากรับประทานยาหรือฉีดอินซูลินไม่สัมพันธ์กับปริมาณอาหาร เช่นรับประทานอาหารผิดเวลา รับประทานอาหารน้อยกว่าปกติ มีกิจกรรมที่ต้องออกเเรง หรือ ออกกำลังกายหนักกว่าปกติ รับประทานยา/ฉีดอินซูลินเกินขนาด โดยอาจสังเกตอาการได้ดังนี้

    • เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ
    • รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเเรงา
    • เหงื่อออกมาก มือสั่น ตัวเย็น รู้สึกกระวนกระวาย 
    • รู้สึกหิว/โหยมากผิดปกติ
    • มีอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว
    • รู้สึกเสียวซ่าและชาบริเวณริมฝีปาก ลิ้น และแก้ม
    • ตาพร่า มองเห็นภาพเบลอ หรือ คล้ายจะเป็นลม
    • ซึม หมดสติ ชัก

    อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (ควบคุมเบาหวานไม่ดี)

    ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เกิดขึ้นเมื่อได้รับน้ำตาลเข้าสู่ร่างกายมากเกินกว่ากระบวนการจัดการของเซลล์และอินซูลินในร่างกายที่จะจัดการได้ทัน ซึ่งอาจมาจากการใช้อินซูลินหรือรับประทานยาลดน้ำตาลในเลือดไม่ถูกวิธี ขาดการออกกำลังกาย บริโภคอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตมาก/บ่อย เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอาจเริ่มแสดงอาการเมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 180 มิลลิกรัม/เดซิลิตร โดยอาจมีอาการดังนี้

    • กระหายน้ำบ่อย
    • ปัสสาวะบ่อย
    • ตาพร่ามัว
    • น้ำหนักลด
    • หิวบ่อย
    • รุ้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเเรง
    • แผลหายช้า อาจมีการติดเชื้อราได้ง่ายขึ้น เช่น ผื่นเชื้อราที่ผิวหนัง ตกขาวจากติดเชื้อราที่ช่องคลอด

    อาการคนเป็นเบาหวาน ในระดับโคม่า

    อาการคนเป็นเบาหวานในระดับโคม่า มีสาเหตุมาจากผู้ป่วยปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานโดยไม่เข้ารับการรักษาหรือไม่ปฏบัติตามแผนการรักษาของคุณหมอ ซึ่งเป็นภาวะที่อันตรายมากที่สุด และควรสังเกตอาการที่อาจเกิดขึ้น ดังต่อไปนี้

    • ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า 600 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
    • มีไข้สูงเกินกว่า 38 องศาเซลเซียส
    • ปากแห้ง
    • กระหายน้ำมาก
    • ผิวแห้ง ไม่มีเหงื่อออก
    • สูญเสียการมองเห็น
    • ลมหายใจมีกลิ่นเหมือนน้ำยาล้างเล็บ
    • หายใจหอบ หายใจเร็ว
    • อาการชัก เป็นลมหมดสติ

    วิธีดูแลตัวเองสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน

    เมื่อเป็นเบาหวานสามารถดูแลตนเองเบื้องต้นได้ดังนี้

    • ปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เช่น ใช้ยารักษาเบาหวานหรือฉีดอินซูลินอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย
    • หมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำและจดบันทึกค่ารัะดับน้ำตาล เพื่อเป็นข้อมูลให้กับคุณหมอเพิ่มเติมเมื่อถึงกำหนดนัดหมายครั้งถัดไป
    • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ผักเเละผลไม้ที่ใยอาหารสูง ธัชพืช อาทิเช่น ปลาแซลมอน แตงกวา ผักคะน้า มะเขือเทศ แครอท กะหล่ำปลี ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ ส้ม อัลมอนด์ ถั่วเหลือง เมล็ดฟักทอง
    • หลีกเลี่ยงอาหารประเภทแป้งขัดสี น้ำตาล รวมทั้งอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารแปรรูป มันฝรั่งทอด แพนเค้ก วาฟเฟิล โดนัท เค้ก คุกกี้ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เพราะจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
    • ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ โดยทั่วไปเเล้ว ควรดื่มน้ำเปล่าวันละอย่างน้อย 8 แก้ว แต่ในผู้ที่เป็นเบาวหวานแล้วยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในได้ดี ร่างกายจะขับน้ำตาลส่วนเกินออกทางปัสสาวะ จึงทำให้เสียน้ำมากกว่าสภาวะปกติ จึงยิ่งควรดื่มน้ำทดเเทนเพิ่มมากขึ้น
    • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที 5 วัน/สัปดาห์ เพื่อช่วยลดภาวะดื้ออินซูลิน และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยอาจเริ่มจากการเดินเร็ว วิ่งเหยาะ ๆ วิ่งบนลู่วิ่ง ว่ายน้ำ หรือจะเป็นเพิ่มการทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างงกายในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น เช่น ทำงานบ้าน พาสัตว์เลี้ยงไปเดินเล่น ทำสวน สำหรับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคหอบ โรคหัวใจ ปัญหาข้อต่อ แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอเพิ่มเติม เพื่อรับคำแนะนำในการออกกำลังกายที่เหมาะสม

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

    โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 26/10/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา