backup og meta

น้ำตาลในเลือดสูง อาการ และวิธีลดระดับน้ำตาลในเลือด

น้ำตาลในเลือดสูง อาการ และวิธีลดระดับน้ำตาลในเลือด

น้ำตาลในเลือดสูง คือ ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินกว่า 180-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้อาจนำไปสู่การเกิดโรคเบาหวาน และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน เช่น ตาพร่ามัว ต้อกระจก เส้นประสาทเสียหาย ไตวาย และภาวะเลือดเป็นกรด ที่อาจส่งผลให้เกิดอาการโคม่าและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต

[embed-health-tool-bmi]

น้ำตาลในเลือดสูง เกิดจากอะไร

น้ำตาลในเลือดสูง อาจเกิดจากร่างกายได้รับสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและแป้งในปริมาณมาก เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว เนื่องจากอาหารเหล่านี้จะถูกร่างกายย่อยเปลี่ยนเป็นกลูโคสที่เข้าสู่กระแสเลือดโดยตรงเพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน แต่หากรับประทานมากเกินไปและมีพฤติกรรมที่ขาดการเคลื่อนไหวหรือการออกกำลังกายร่วมด้วยก็อาจทำให้น้ำตาลไม่ถูกเผาผลาญ จนสะสมในกระแสเลือดมากนำไปสู่น้ำตาลในเลือดสูงได้ 

นอกจากนี้ ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงยังอาจเกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หรือเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินเพื่อเปลี่ยนน้ำตาลจากอาหารให้เป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากเพียงพอ จึงทำให้มีน้ำตาลสะสมอยู่ในกระแสเลือดในปริมาณมาก ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง

อาการของภาวะน้ำตาลในเลือดสูง มีดังนี้

อาการทั่วไป

  • ปัสสาวะบ่อย
  • กระหายน้ำมาก
  • มองเห็นเป็นภาพซ้อน
  • ปวดศีรษะ
  • เหนื่อยล้าง่าย
  • น้ำหนักลดลงกะทันหัน
  • ไม่มีสมาธิ

อาการรุนแรง

  • ลมหายใจมีกลิ่นคล้ายผลไม้
  • ปากแห้ง
  • ผิวแห้ง
  • หายใจถี่ หายใจเร็ว
  • เท้าชา มือชา
  • ผมร่วง
  • ปวดท้อง ท้องผูกหรือท้องร่วง
  • แผลหายช้า
  • ติดเชื้อทางช่องคลอดและผิวหนัง
  • เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

อาการที่ควรพบคุณหมอ

  • มีไข้นานกว่า 24 ชั่วโมง
  • ท้องร่วงและอาเจียนรุนแรง
  • ปัสสาวะบ่อย
  • ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่า 240 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

ภาวะแทรกซ้อนเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูง

หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ดังต่อไปนี้

ภาวะแทรกซ้อนระยะยาว

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • เส้นประสาทได้รับความเสียหาย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวร่างกาย
  • ไตวาย
  • ต้อกระจก ตาพร่ามัว และอาจส่งผลให้ตาบอดได้ เนื่องจากหลอดเลือดบริเวณจอประสาทตาถูกทำลาย
  • ปัญหากระดูกและข้อต่อ
  • การติดเชื้อที่เหงือกและฟัน
  • การติดเชื้อที่ผิวหนังอย่างรุนแรง เนื่องจากเส้นประสาทและหลอดเลือดถูกทำลาย ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดบาดแผลเรื้อรังและการติดเชื้อจนอาจจำเป็นต้องตัดแขนและขา

ภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง

  • ภาวะเลือดเป็นกรด (Ketoscidosis) คือ ภาวะที่ร่างกายสร้างคีโตน (Ketones) ซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์เป็นกรดออกมาในกระแสเลือดปริมาณมาก ทำให้เลือดมีภาวะเป็นกรด ส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นเมื่อร่างกายผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
  • ภาวะโคม่าจากน้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemic Hyperosmolar Syndrome: HHS) เกิดขึ้นเมื่อร่างกายผลิตอินซูลินแต่เซลล์กล้ามเนื้อไม่สามารถดึงอินซูลินมาใช้ ทำให้ไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลในเลือดเป็นพลังงานได้ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นสูงเกินกว่า 1,000 มิลลิกรัม/เดซิลิตร โดยอาจสังเกตได้จากอาการปัสสาวะบ่อย ซึ่งอาจส่งผลให้ร่างกายขาดน้ำ และอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

วิธีลดระดับน้ำตาลในเลือดสูง

วิธีลดระดับน้ำตาลในเลือดสูง อาจทำได้ดังนี้

  • ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นประจำ และจดบันทึกค่าน้ำตาลในเลือด หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่า 180-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจหมายความว่าระดับน้ำตาลในเลือดสูง
  • รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ หรือปฏิบัติตามแผนการรับประทานอาหารที่คุณหมอกำหนด โดยเน้นการรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี ไขมันดี และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เช่น ผักคะน้า บร็อคโคลี่ มะเขือเทศ แอปเปิ้ล กล้วย กะหล่ำปลี ปลาแซลมอน น้ำมันมะกอก ปลาซาร์ดีน อัลมอนด์ อะโวคาโด
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และมีน้ำตาลสูง เช่น ข้าวขาว เนื้อสัตว์ติดมัน อาหารแปรรูป ขนมหวาน ของทอด น้ำผลไม้แปรรูป น้ำอัดลม เพราะอาหารเหล่านี้อาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้
  • ดื่มน้ำเปล่าให้มาก ๆ เพื่อให้ร่างกายขับน้ำตาลส่วนเกินออกในรูปปัสสาวะ
  • ออกกำลังกาย อย่างน้อยวันละ 30 นาที เพื่อช่วยกระตุ้นให้ร่างกายผลิตอินซูลิน และอาจช่วยลดภาวะดื้ออินซูลิน ที่อาจช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้
  • ตรวจสุขภาพประจำปี

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

High Blood Sugar and Diabetes. https://www.webmd.com/diabetes/guide/diabetes-hyperglycemia.Accessed August 4, 2022.

Hyperglycaemia (high blood sugar). https://www.nhs.uk/conditions/high-blood-sugar-hyperglycaemia/.Accessed August 4, 2022.

Manage Blood Sugar. https://www.cdc.gov/diabetes/managing/manage-blood-sugar.html.Accessed August 4, 2022.

Hyperglycemia in diabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/hyperglycemia/symptoms-causes/syc-20373631.Accessed August 4, 2022. 

How to Bring Down High Blood Sugar Levels. https://www.diabetes.co.uk/how-to/bring-down-high-blood-sugar-levels.html.Accessed August 4, 2022. 

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/03/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ป้องกันน้ำตาลในเลือดพุ่งสูง แค่ปรับไลฟ์สไตล์ในชีวิตง่ายๆ ก็สุขภาพดีแล้ว

ค่าน้ำตาลในเลือด เกี่ยวข้องกับสุขภาพอย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 14/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา