backup og meta

ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงและวิธีดูแลตัวเอง

ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน ปัจจัยเสี่ยงและวิธีดูแลตัวเอง

ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน มักเกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นโรคมานานกว่า 10 ปีขึ้นไปมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสม ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เสียหาย นำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคเบาหวานขึ้นตา โรคผิวหนังช้าง โรคหัวใจ โรคไตวายเรื้อรัง ซึ่งการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ไม่สูงเกินไป อาจช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

[embed-health-tool-bmi]

ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน เกิดจากอะไร

ภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน (Diabetes complications) เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดอยู่สูงกว่าเกณฑ์ที่เหมาะสมของผู้ป่วยเบาหวาน เมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงผิดปกติจะไปทำลายเนื้อเยื่อ หลอดเลือด เส้นประสาท สร้างความเสียหายให้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และนำไปสู่ปัญหาสุขภาพตามมาได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไตวายเรื้อรัง

ปัจจัยเสี่ยงของ ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน

ปัจจัยเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน อาจมีดังนี้

  • ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เที่เหมาะสมได้เป็นเวลาหลายปี
  • มีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือเป็นโรคอ้วน
  • ไม่ค่อยขยับร่างกาย หรือชอบอยู่เฉย ๆ เป็นเวลาหลายชั่วโมง
  • มีค่าฮีโมโกลบินเอวันซี (Hemoglobin A1C หรือ HbA1C) ซึ่งเป็นระดับน้ำตาลสะสมในเลือดในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาตั้งแต่ 7.0% ขึ้นไป
  • มีระดับความดันโลหิตสูง
  • มีระดับไขมันในเลือดสูง
  • สูบบุหรี่เป็นประจำ

ภาวะ แทรกซ้อน โรค เบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน ที่พบได้บ่อย มีดังนี้

เบาหวานขึ้นตาเกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินไปจนทำให้จอประสาทตาหรือเรตินาเสียหาย โดยปกติ จอประสาทตาจะทำหน้าที่แปลงแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้าแล้วส่งสัญญาณไปยังสมองซึ่งจะเปลี่ยนเป็นภาพที่มองเห็นผ่านดวงตา แต่เบาหวานขึ้นตาจะทำให้หลอดเลือดฝอยในดวงตาเสื่อมและอุดตัน ซึ่งจะแทรกแซงการระบายน้ำของดวงตา ทำให้จอประสาทตาโป่งพอง มีของเหลวรั่วซึม เลือดออกในวุ้นตา ส่งผลเสียต่อสุขภาพของดวงตาและการมองเห็น หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและทันเวลา อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นและตาบอดถาวรได้

  • โรคหัวใจ

โรคหัวใจเป็นภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานที่พบได้บ่อย เกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป ทำให้หลอดเลือดมีความหนืด มีน้ำตาลและไขมันจับตัวอยู่ในผนังหลอดเลือดจนหลอดเลือดตีบ เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี นอกจากนี้ ผู้ป่วยเบาหวานยังมักเป็นโรคความดันโลหิตสูงซึ่งทำให้ผนังหลอดเลือดและเส้นประสาทที่ควบคุมหัวใจและหลอดเลือดอักเสบ ตีบตัน หรือหนาตัวขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุหลัก ๆ ของการเกิดโรคหัวใจ อาจนำไปสู่อาการหัวใจวาย ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองได้

  • โรคไตวายเรื้อรัง

ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอาจทำให้หลอดเลือดในหน่วยไตและเนื้อไตเสียหาย โดยปกติหน่วยไตทำหน้าที่กรองของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากเลือดเพื่อสร้างปัสสาวะ เมื่อไตมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง จะทำให้เป็นโรคไตวายเรื้อรังในที่สุด ส่งผลให้การกรองของเสียผิดปกติ ร่างกายไม่สามารถรักษาสมดุลของของเหลวในร่างกายได้ เป็นต้น ทั้งนี้ หากไตเสียหายแล้วจะยากที่จะรักษาให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้อีก

โรคเส้นประสาทจากเบาหวานเกิดจากหลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาทส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่สามารถลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนไปยังเส้นประสาทได้ตามปกติ ส่งผลให้เส้นประสาทเสื่อมสภาพ ความสามารถในการรับรู้ความรู้สึกลดลง และมีอาการผิดปกติตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น มีอาการชาที่มือ ขา หรือเท้า อาการปวดแสบปวดร้อน ร้อนขา คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องเสีย

  • ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

โรคเบาหวานอาจทำให้เสี่ยงต่อภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นเวลานานอาจไปทำลายเส้นประสาทและหลอดเลือดทั่วร่างกาย รวมทั้งบริเวณอวัยวะเพศด้วย จึงส่งผลให้เส้นประสาทและหลอดเลือดเสียหาย เลือดไหลเวียนไปยังอวัยวะเพศน้อยลง อวัยวะเพศชายไม่แข็งตัวหรือใช้เวลานานกว่าปกติเพื่อกระตุ้นให้เกิดการแข็งตัวปัญหาสุขภาพผิว

  • ปัญหาสุขภาพผิว

ปัญหาสุขภาพผิวของผู้ป่วยเบาหวานเกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงทำให้ผิวหนังเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียและเชื้อรา มีสภาพผิวที่เปลี่ยนไป ทั้งยังทำให้ร่างกายซ่อมแซมบาดแผลตัวเองได้ช้าลง ทั้งนี้ ปัญหาด้านสุขภาพผิวที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ผิวแห้ง คัน ติดเชื้อได้ง่าย เป็นฝี หนอง แผลหายช้า รวมไปถึงเป็นโรคผิวหนังช้าง (Acanthosis Nigricans) ทั้งนี้ ปัญหาผิวหนังดำคล้ำมักเกิดบริเวณรอยพับของผิวหนัง เช่น หลังคอ รักแร้ ขาหนีบ

  • ภาวะกระเพาะอาหารบีบตัวช้า

โรคเบาหวานอาจทำให้เส้นประสาทที่ส่งสัญญาณไปยังกระเพาะอาหารเสียหายได้ อีกทั้งอาจทำให้กล้ามเนื้อกระเพาะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ จึงต้องใช้เวลานานในการย่อยอาหาร ทั้งยังทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดยากขึ้น

วิธีดูแลตัวเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน

การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวาน อาจลองปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • เข้ารับการตรวจตาเป็นประจำอย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี เพื่อตรวจสุขภาพตาและรับการรักษาอย่างรวดเร็วในกรณีที่มีอาการผิดปกติ ซึ่งช่วยลดความรุนแรงของโรคได้
  • เลิกสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดตีบตันและส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดไปยังหัวใจและอวัยวะอื่น ๆ เช่น ขา เท้า ทั้งนี้ ควรเลือกอาหารจากแหล่งที่สะอาดและปรุงสุกทั่วถึง ก่อนให้ธัญพืชเต็มเมล็ด นอกจากนั้น อาจเสริมด้วยโปรตีนไม่ติดมัน และลือกอาหารจากแหล่งที่สดสะอาดและปรุงสุกทั่วถึง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาล โซเดียม และไขมันสูง
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น เล่นเทนนิส ว่ายน้ำ เดินเร็ว ทำสวน ในวันหยุดหรืออย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์ ไม่นั่งหรือนอนอยู่กับที่เป็นเวลานานหลายชั่วโมง/วัน
  • ไปพบคุณหมอตามนัดหมายทุกครั้ง และรับประทานยารักษาเบาหวานตามที่คุณหมอสั่งอย่างเคร่งครัด และตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือดของตัวเองทุกวัน เพื่อติดตามผลการรักษาโรคของตัวเอง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Diabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/symptoms-causes/syc-20371444. Accessed May 15, 2023

complications of diabetes. https://www.diabetes.org.uk/guide-to-diabetes/complications. Accessed May 15, 2023

Diabetes Complications. https://www.webmd.com/diabetes/diabetes-complications.  Accessed May 15, 2023

Diabetes Complications. https://medlineplus.gov/diabetescomplications.html. Accessed May 15, 2023

Diabetes. https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/7104-diabetes. Accessed May 15, 2023

Risk Factors for Diabetes-Related Complications. https://www.cdc.gov/diabetes/data/statistics-report/risks-complications.html. Accessed May 15, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

24/05/2023

เขียนโดย ศุภานิช สุริโย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

เบาหวาน ขึ้น ตา อาการ เป็นอย่างไร ควรดูแลตัวเองอย่างไร

อาหารสําหรับคนเป็นเบาหวาน ที่ควรรับประทานมีอะไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 24/05/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา