backup og meta

รักษา แผล เบาหวาน ทำได้อย่างไร และควรป้องกันอย่างไรไม่ให้เกิดแผล

รักษา แผล เบาหวาน ทำได้อย่างไร และควรป้องกันอย่างไรไม่ให้เกิดแผล

หากผู้ที่เป็นโรคเบาหวานไม่ควบคุมให้ดี ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นระยะเวลานานจะส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี ระบบประสาทผิดปกติ และระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ทำให้บาดแผลหายช้าลงและติดเชื้อได้ง่ายขึ้น การ รักษา แผล เบาหวาน อย่างถูกวิธีจึงเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญในการป้องกันไม่ให้แผลของผู้ป่วยเบาหวานลุกลาม

[embed-health-tool-heart-rate]

โรคเบาหวานส่งผลต่อแผลอย่างไร

หากควบคุมโรคเบาหวานไม่ดี ปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะส่งผลต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้แผลหายช้าลง หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อแผลได้ง่ายขึ้น เช่น แผลเรื้อรังที่เท้า การถูกตัดเท้าและขา โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องเบื้องต้น ดังนี้

  • การไหลเวียนเลือดไม่ดี เมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะส่งผลให้หลอดเลือดที่ไหลเวียนตามส่วนต่าง ๆ ภายในร่างกายเสื่อมลง เสี่ยงเกิดภาวะหลอดเลือดตีบหรืออุดตันได้ง่าย จึงทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดีตามไปด้วย เมื่อเกิดบาดแผล เลือดจะไม่สามารถลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงบริเวณแผลได้อย่างเพียงพอ จึงส่งผลให้แผลหายช้าลง และหากหลอดเลือดส่วนนั้น ๆ อุดตัน ก็ยังเป็นสาเหตุของการเกิดแผลเนื้อตายที่อาจรุนแรงจนถึงขึ้นต้องตัดเนื้อเยื่อหรืออวัยวะส่วนดังกล่าวทิ้งอีกด้วย 
  • โรคระบบประสาทจากเบาหวาน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานแล้วควบคุมได้ไม่ดี อาจมีภาวะแทรกซ้อนของเส้นประสาทได้ โดยมักทำให้เกิดอาการชา สูญเสียการรับความรู้สึก และมักเกิดกับอวัยวะส่วนปลายก่อน เช่น ชาปลายนิ้วมือ นิ้วเท้า ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดบาดแผลได้ง่ายโดยไม่ทันรู้ตัว หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจทำให้แผลติดเชื้อและลุกลามไปยังเนื้อเยื่อข้างเคียง หรือทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดได้
  • ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาวลดลง ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น อีกทั้งเมื่อติดเชื้อแล้วยังทำให้อาการรุนแรงได้มากกว่าผู้ที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีหรือไม่เป็นโรคเบาหวานด้วย

รักษา แผล เบาหวาน

หากสังเกตพบว่าผู้ป่วยเบาหวานมีแผลรุนแรงขึ้น หรือผิวบริเวณแผลมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไป ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อ รักษา แผล เบาหวาน ซึ่งคุณหมออาจมีวิธีรักษาแผล ดังนี้

  • การลอกแผล หากแผลติดเชื้อและอาการรุนแรงมาก คุณหมอจะลอกเอาเนื้อเยื่อแผลที่ไม่แข็งแรงออก เพื่อกระตุ้นการรักษาบาดแผลตามธรรมชาติ
  • ทำความสะอาดแผลทุกวัน ด้วยการใช้สบู่และน้ำสะอาดล้างทำความสะอาดแผล เว้นแต่คุณหมอจะแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดแผล อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (Hydrogen Peroxide) หรือแช่แผลในอ่างอาบน้ำ เพราะอาจทำให้แผลยิ่งเสี่ยงติดเชื้อ
  • ใช้ยาตามที่คุณหมอสั่งอย่างเคร่งครัด เช่น น้ำเกลือ โกรทแฟคเตอร์ (Growth Factor) สารทดแทนผิวหนัง ซึ่งเป็นยาที่ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของเซลล์ผิวหนัง ช่วยในการสมานแผลและฆ่าเชื้อโรค
  • ปิดแผลด้วยผ้าพันแผล หลังจากทำความสะอาดแผลและใส่ยาแล้ว ควรปิดแผลด้วยผ้าพันแผลเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงแผลติดเชื้อ
  • ควรระวังไม่ให้แผลกดทับ เนื่องจากแผลที่โดนกดทับบ่อย ๆ อาจทำให้แผลอักเสบ อับชื้น และติดเชื้อได้ง่าย จึงควรระวังไม่ให้แผลถูกกดทับ เพื่อให้แผลหายเร็วขึ้น
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง เน้นรับประประทานผักและผลไม้ ร่วมกับการออกกำลังกายอยู่เสมอ อาจช่วยควบคุมความรุนแรงของโรคเบาหวาน และยังอาจช่วยให้ร่างกายสามารถรักษาบาดแผลตามธรรมชาติได้ดีขึ้นด้วย

วิธีป้องกันการเกิดแผลในผู้ป่วยเบาหวาน

การดูแลสุขภาพผิวไม่ให้เกิดบาดแผล อาจทำได้ดังนี้

  • ทำความสะอาดผิวทุกวัน เพื่อไม่ให้เกิดการหมักหมมของเชื้อโรคซึ่งอาจทำให้ติดเชื้อได้
  • ตรวจสอบร่างกายอยู่เสมอ โดยเฉพาะบริเวณเท้า และหากพบว่ามีบาดแผลแม้จะเป็นแผลเล็กน้อย ก็ควรรีบรักษาทันที
  • ควรสวมถุงเท้าหรือรองเท้าแม้จะอยู่ภายในอาคาร หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่า เพราะอาจเสี่ยงเกิดบาดแผลโดยไม่ทันรู้ตัวได้ 
  • ตัดเล็บอย่างระมัดระวัง เพราะการตัดเล็บอาจทำให้เกิดบาดแผลเล็ก ๆ ที่อาจติดเชื้อจนแผลลุกลามและมีขนาดใหญ่ได้
  • สวมรองเท้าทีมีขนาดพอดีเท้า ไม่แน่นหรือหลวมจนเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้รองเท้ากัดหรือเสียดสีจนอาจทำให้เกิดบาดแผล และควรเป็นรองเท้าที่สามารถระบายอากาศได้ดี เพื่อลดความอับชื้นที่เท้า
  • เลิกสูบบุหรี่ เนื่องจากสารพิษในบุหรี่อาจทำลายหลอดเลือด ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดผิดปกติและอาจทำให้แผลหายช้าลงได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How to Care for Diabetic Ulcers and Sores. https://www.webmd.com/diabetes/diabetes-sores-ulcers-care. Accessed December 21, 2022

Poor immune response impairs diabetic wound healing. https://www.nih.gov/news-events/nih-research-matters/poor-immune-response-impairs-diabetic-wound-healing. Accessed December 21, 2022

The Treatment of Impaired Wound Healing in Diabetes: Looking among Old Drugs. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7243111/. Accessed December 21, 2022

What is a Diabetic Foot Ulcer?. https://www.apma.org/diabeticwoundcare. Accessed December 21, 2022

Diabetic wounds that won’t heal? Learn why you’re healing slowly and how to speed up the process. https://www.healthpartners.com/blog/why-diabetic-wounds-wont-heal-and-tips-to-treat-them/. Accessed December 21, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/02/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

การ พยาบาล ผู้ ป่วย เบาหวาน ต้องทำอะไรบ้าง

เท้าบวม เบาหวาน วิธีรักษา ทำได้อย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 09/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา