หนึ่งใน ภาวะ แทรกซ้อนของโรค เบาหวาน ที่พบได้บ่อยคือ อาการขาและเท้าบวม ซึ่งเกิดเนื่องมาจากการที่ร่างกายมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงมาเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลให้ ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้อย่างไม่เป็นปกติ เลือดจึงไหลเวียนได้ไม่สะดวก เกิดการคั่งของของเหลวในเนื้อเยื่อที่ขาเเละเท้า หรือที่รู้จักกันว่า อาการบวมน้ำ ตามมา ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงเกิดอาการขาบวม เเละ ภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจพบร่วมกันได้อีกด้วย
[embed-health-tool-bmi]
สาเหตุของ อาการขาและเท้าบวมจากโรคเบาหวาน
อาการขาและเท้าบวมเกิดจากการสะสมของเหลวในเนื้อเยื่อ ที่เรียกว่า อาการบวมน้ำ (Edema) ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หากรับประทานอาหารที่มีรสชาติเค็มในปริมาณมาก ๆ หรือการอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน
ผู้ป่วยเบาหวาน อาจพบภาวะขาและเท้าบวมได้ เนื่องจากมีการไหลเวียนเลือดที่ไม่ดี มีภาวะหลอดเลือดดำบกพร่อง ปัญหาสุขภาพหัวใจ ปัญหาตับ ผลข้างเคียงจากยาบางกลุ่ม หรือในผู้ที่ต้องใช้ยาฉีดอินซูลินในขนาดสูง ๆ
วิธีลด ภาวะ แทรกซ้อน เบาหวาน อย่างอาการขาและเท้าบวม
วิธีง่าย ๆ ในการรับมือกับ อาการบวมที่ขาและเท้าจากโรคเบาหวาน มีดังนี้
1. ใช้ถุงเท้าสำหรับรัดกล้ามเนื้อขา (Graduated compression socks)
การสวมใส่ถุงเท้าสำหรับรัดกล้ามเนื้อขาโดยเฉพาะ ช่วยเพิ่มความดันที่ขาและเท้าให้เหมาะสมขึ้น จึงช่วยให้เลือดมีการไหลเวียนได้ดีขึ้น ไม่คั่งค้าง จนทำให้ก็เกิดอาการขาเเละเท้าบวมตามมา อย่างไรก็ตาม ถุงเท้าชนิดนี้ เป็นถุงเท้าทางการเเพทย์ที่ออกกเเบบสำหรับช่วยเพิ่มความดันโดยเฉพาะ จึงอาจต้องจัดหาจากโรงพยาบาล หรือ ร้านอุปกรณ์ทางการเเพทย์ที่เชื่อถือได้ เเละ ควรเลือกขนาดถุงเท้าที่เหมาะสม ไม่บีบรัดเท้ามากเกินไป เนื่องจากอาจกลับทำให้เลือดไหลเวียนได้ยาก
2. ยกขาสูง
ระหว่างที่นั่งหรือนอน เเนะนำให้หาที่วางเท้าเพื่อเสริมให้เท้าได้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เลือดไหลเวียนกลับสู่หัวใจได้ง่ายขึ้น ไม่คั่งสะสมอยู่ที่บริเวณเท้า จึงช่วยลดอาการบวมได้
3. ออกกำลังกายเป็นประจำ
การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยให้ร่างกายเเข็งเเรงโดยรวม ช่วยลดน้ำหนักและควบคุมระดับน้ำตาลในเส้นเลือดแล้ว ยังช่วยกระตุ้นให้การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น จึงสามารถช่วยลดอาการบวมของขาและเท้าได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ควรเลือกการออกกำลังกายที่ไม่มีการลงน้ำหนักมากนัก เช่น ว่ายน้ำ เดิน ปั่นจักรยาน อย่างน้อยวันละ 30 นาที เเละ ในชีวิตประจำวัน เเนะนำให้ทำตัวเองให้กระฉับกระเฉง ขยับร่างกายอยู่บ่อย ๆ อาทิเช่น เดินไปกดน้ำดื่ม เดินออกกำลังกายภายในบ้าน เดินออกไปรดน้ำต้นไม้ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของ โรคเบาหวาน และภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้ไม่มากก็น้อย
4. ลดน้ำหนัก
การลดน้ำหนักไม่เพียงแต่ช่วยลดความเสี่ยงของ โรคเบาหวาน เท่านั้น แต่ยังช่วยลดอาการบวมที่ขาและเท้าได้ เเละยังช่วยลดอาการปวดข้อ ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้นได้
5. ลดปริมาณเกลือ เเละ อาหารที่มีรสชาติเค็ม
การรับประทานอาหารที่มีรสชาติเค็มจัด หรือ ทานในปริมาณมาก ๆ จะยิ่งทำให้อาการขาและเท้าบวมแย่ลง ดังนั้น จึงควรลดปริมาณของเกลือที่ใช้ในการปรุงอาหาร ฝึกปรับนิสัยการรับประทานอาหารให้มีรสชาติจืดลง หรือ ในการปรุงอาหารบางชนิด อาจใช้เครื่องเทศอื่นทดแทน เช่น ออริกาโน ผงกระเทียม โรสแมร์รี่ ไทม์ พริกปาปริกา
เมื่อใดควรไปพบคุณหมอ
ภาวะ แทรกซ้อน เบาหวาน อย่างอาการบวมที่ขาและเท้า มักมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคล ดังนั้นหากเมื่อลองใช้วิธีบรรเทาอาการบวมด้วยตัวเองแล้ว อาการยังไม่ดีขึ้น รวมถึงกรณีที่ขาและเท้าบวมเพียงเเค่ข้างใดข้างหนึ่งของร่างกาย ควรรีบไปพบคุณหมอเพื่อทำการจรวจวินัจฉัยเพิ่มเติม เนื่องจากอาจมีสาเหตุมาจากหลอดเลือดดำอุดตันได้
นอกจากนี้เเล้ว ที่สำคัญ คือ เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้ออื่น ๆ เพิ่มเติม ควรหมั่นดูแลสุขภาพตนเองอยู่เสมอ และหมั่นสังเกตอาการของ โรคเบาหวาน เบื้องต้น รับประทานยาและฉีดอินซูลินตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด