backup og meta

โรคเบาหวาน แผล หายช้า เพราะอะไร

โรคเบาหวาน แผล หายช้า เพราะอะไร

เมื่อเป็น โรคเบาหวาน แผล อาจหายช้ากว่าคนทั่วไป เพราะระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงกว่าปกติจะไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือด ทำให้ออกซิเจนและแร่ธาตุถูกส่งไปซ่อมแซมบาดแผลได้ไม่ดีพอ นอกจากนี้ เมื่อแผลหายช้าอาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงติดเชื้อมากกว่าปกติและอาจนำไปสู่การเป็นโรคกระดูกอักเสบติดเชื้อ และภาวะการติดเชื้อในเลือด ดังนั้น เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ผู้ป่วยเบาหวานจึงควรดูแลตนเองและปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด

[embed-health-tool-bmi]

โรคเบาหวาน คืออะไร

โรคเบาหวาน ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรัง มีสาเหตุมาจากการทื่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินลดลงหรือเซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินบกพร่องไป ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ นำไปสู่โรคเบาหวาน และหากปล่อยไว้ ไม่ควบคุมเบาหวานให้ดี อาจทำให้หลอดเลือดเสียหาย และเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจ โรคไตเรื้อรัง ไขมันในเลือดสูง เส้นประสาทเสื่อม เบาหวานขึ้นตา บาดแผลหายช้า

โรคเบาหวาน แผล หายช้า เพราะอะไร

ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมได้ไม่ดี จะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ และส่งผลต่อการทำงานของระบบอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายทำงานบกพร่องไป ซึ่งการที่แผลหายช้าอาจเกิดเนื่องจากสาเหตุ ดังนี้

  • เซลล์เม็ดเลือดขาวแมคโครฟาจ (Macrophage) ทำงานบกพร่องไป หากร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวแมคโครฟาจลดลง ทำให้จัดการกับเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ไม่ดีเท่าที่ควร โอกาสติดเชื้อจากบาดแผลของผู้ป่วยเบาหวาน (ที่ควบคุมไม่ดี) จึงสูงขึ้น โดยที่บาดแผลก็จะหายยากและช้าขึ้นด้วย
  • การไหลเวียนของเลือดไม่ดี หากมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรัง อาจส่งผลให้ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดลดลง ทำให้หลอดเลือดเเข็งและเสี่ยงต่อการอุดตัน นอกจากนี้ ผู้ป่วยมักมีภาวะไขมันในเลือดสูงร่วมด้วย ซึ่งเป็นอีกปัจจัยเสี่ยงหนึ่งที่ทำให้หลอดเลือดอุดตัน จากก่อคราบไขมันที่สะสมในหลอดเลือด เมื่อผู้ป่วยเบาหวานมีบาดแผล จึงมักหายช้ากว่าปกติ เนื่องจากออกซิเจนและสารอาหารที่จำเป็นต่าง ๆ ไม่สามารถหมุนเวียนไปยังบาดแผลได้ตามปกติ
  • เกิดภาวะแทรกซ้อนของเส้นประสาทจากเบาหวาน (Diabetic Neuropathy) เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานอาจทำให้เส้นเลือดฝอยที่หล่อเลี้ยงเส้นประสาท ได้รับความเสียหาย เส้นประสาทนั้น ๆ จึงทำงานผิดปกติไป ทำให้เกิดอาการ เช่น ชาบริเวณปลายมือปลายเท้า ทำให้ไม่รู้สึกเจ็บจึงไม่ทราบว่าตัวเองมีแผล และมักทิ้งปล่อยไว้ไม่ได้รับการดูแลที่ถูกต้องจนเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
  • โปรตีนคอลลาเจน (Collagen) ลดลง การที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะมีส่วนยับยั้งการผลิตคอลลาเจนซึ่งเป็นโปรตีนโครงสร้างสำคัญในผิวหนังและยังส่วนช่วยในการสมานบาดแผล ดังนั้น ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดี จึงมีการสร้างคอลลาเจนลดลง ส่งผลให้แผลหายช้า หรือแม้บาดแผลจะเริ่มสมานตัวแล้ว แต่แผลอาจฉีกขาดได้ง่ายเมื่อถูกกดหรือดึง

โรคเบาหวาน แผล ควรดูแลตัวเองอย่างไร

เพื่อป้องกันการเกิดบาดแผลและลดโอกาสติดเชื้อ จนนำไปสู่การลุกลาม ผู้ป่วยเบาหวานควรดูแลตัวเองด้วยตามคำแนะนำต่อไปนี้

  • หมั่นตรวจสอบร่างกายอยู่เสมอว่ามีบาดแผลหรือไม่ โดยเฉพาะบริเวณปลายเท้า เนื่องจากเป็นบริเวณที่อาจเกิดการบาดเจ็บได้โดยไม่ทันรู้ตัว หากพบบาดเเผล ควรรีบทำแผล ใส่ยา เเละ ปิดพลาสเตอร์
  • สวมถุงเท้าและรองเท้าตลอดเวลา เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นได้ เเม้เป็นบาดแผลเล็กน้อย หรือรอยขีดข่วนบริเวณเท้าโดยเฉพาะในกรณีของผู้ที่มีอาการเท้าชา
  • เมื่อเป็นแผล ควรทำความสะอาดแผลและเปลี่ยนผ้าปิดแผลบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนจากแบคทีเรีย
  • งดหรือเลิกบุหรี่ เพราะสารนิโคติน (Nicotine) ในบุหรี่ ออกฤทธิ์ทำให้หลอดเลือดหดตัว เลือดจึงไหลเวียนได้ไม่สะดวก
  • หากบาดแผลไม่ดีขึ้นหรือลุกลามมากขึ้นควรไปพบคุณหมอ

ภาวะแทรกซ้อนของบาดแผลในผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวานที่มีแผลหากไม่รับการรักษาที่ถูกต้อง อาจนำไปสู่การติดเชื้อและก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ดังต่อไปนี้

  • โรคกระดูกอักเสบติดเชื้อ เป็นการติดเชื้อของกระดูกนับรวมตั้งแต่ชั้นเยื่อหุ้มกระดูกภายนอก ไปจนถึงเนื้อกระดูก เกิดจากการลุกลามของเเผลจากชั้นผิวหนัง สู่เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ เเละสุดท้ายไปจนถึงกระดูกและข้อ เกิกได้กับกระดูกทุกส่วนของร่างกาย เเต่มักพบที่บริเวณขาเเละเท้ามากที่สุด
  • แผลเรื้อรังจนเนื้อตาย หากผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดี จะส่งผลให้เส้นเลือดส่วนปลายตีบตันได้ ทำให้เนื้อเยื่อส่วนปลายขาดเลือดจนกลายเป็นเนื้อตายเน่าในที่สุด มักเกิดกับนิ้วเท้าได้มากที่สุด
  • การติดเชื้อในกระแสเลือด ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดี จะทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เเละเม็ดเลือดขาวที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคทำหน้าที่ได้บกพร่อง ดังนั้น เมื่อมีบาดแผล หรือ มีการติดเชื้อเกิดขึ้น เชื้อโรคจึงอาจลุกลามไปสู่กระเเสเลือด ซึ่งนับเป็นภาวะที่อันตราย อาจนำไปสู่ภาวะช๊อค เเละระบบอวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลว จนเสียชีวิตได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Diabetes and Wound Angiogenesis. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5535911/. Accessed July 22, 2022

The effects of diabetes on collagen within

wound healing. https://www.woundsme.com/uploads/resources/dotn/_master/4199/files/pdf/075-80_dfj_18-2.pdf. Accessed July 22, 2022

Osteomyelitis in diabetic foot: A comprehensive overview. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5394733/#:~:text=The%20osteomyelitis%20is%20one%20of,the%20risk%20of%20major%20amputation. Accessed July 22, 2022

Sepsis. Symptoms. https://www.nhs.uk/conditions/sepsis/#:~:text=Sepsis%20is%20a%20life%2Dthreatening,last%20reviewed%3A%2018%20July%202019. Accessed July 22, 2022

Diabetes and slow-healing or nonhealing wounds. https://ukhealthcare.uky.edu/barnstable-brown-diabetes-center/diabetes-complications/slow-healing-nonhealing-wounds. Accessed July 22, 2022

What is Diabetes?. https://www.cdc.gov/diabetes/basics/diabetes.html#:~:text=Diabetes%20is%20a%20chronic%20(long,your%20pancreas%20to%20release%20insulin. Accessed July 22, 2022

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/10/2022

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการเบาหวานระยะสุดท้ายก่อนเสียชีวิต และการดูแลตัวเอง

เท้าบวม เบาหวาน วิธีรักษา ทำได้อย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 04/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา