backup og meta

อินซูลินคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

อินซูลินคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

อินซูลินคืออะไร อินซูลิน คือฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ผลิตจากตับอ่อน มีหน้าที่หลักในการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยอินซูลินจะช่วยให้เซลล์ต่าง ๆ ดึงนำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญเปลี่ยนเป็นพลังงาน และช่วยนำน้ำตาลบางส่วนมาสำรองเก็บไว้ที่ตับ ดังนั้น หากร่างกายผลิตอินซูลินลดลงไม่เพียงพอระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงขึ้นและทำให้เป็นโรคเบาหวานตามมา ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาที่เหมาะสมร่วมกับการออกกำลังกายและควบคุมอาหาร ซึ่งในบางกรณีอาจต้องใช้ยาฉีดอินซูลินร่วมด้วย เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด เนื่องจากยิ่งค่าน้ำตาลในเลือดสูงมาก ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด ภาวะเบาหวานขึ้นตา โรคไตเสื่อมจากเบาหวาน

[embed-health-tool-bmi]

อินซูลินคืออะไร

อินซูลิน เป็นฮอร์โมนที่ผลิตจากเบต้าเซลล์ (Beta Cell) ในตับอ่อน มีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยอินซูลินช่วยดึงนำตาลในเลือดเข้าสู่เซลล์เพื่อเผาผลาญเปลี่ยนเป็นพลังงาน และช่วยนำน้ำตาลบางส่วนมาสำรองเก็บไว้ที่ตับ ในรูปของไกลโคเจน (Glycogen) ทั้งนี้ เพื่อรักษาสมดุลน้ำตาลให้เหมาะสม

อินซูลิน กับโรคเบาหวาน

เมื่อตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดค่อย ๆ สูงขึ้น กระทั่งหากตรวจวัดรดับน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมงเเล้ว ค่ามากกว่า 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร อาจถือได้ว่าอยู่ในระดับที่เรียกว่าเป็นโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานแบ่งคร่าว ๆ ออกเป็น 3 ชนิด คือ

  • เบาหวานชนิดที่ 1 มักพบในเด็กมากกว่าในผู้ใหญ่ เนื่องจาก เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ร่างกายสร้างภูมิไปทำลายเบต้าเซลล์ที่ตับอ่อน จึงเป็นสาเหตุให้ไม่สามารถผลิตอินซูลินหรือผลิตได้ใไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
  • เบาหวานชนิดที่ 2 เป็นโรคเบาหวานชนิดที่พบได้ราว 95 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด เกิดจากร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน คือการที่เซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เเม้จะมี อินซูลินเพียงพอในร่างกาย เเต่เซลล์ก็ไม่สามารถนำน้ำตาลไปเผาผลาญได้เหมาะสม จึงส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ภาวะดื้อต่ออินซูลินนี้อาจเป็นผลจากปัจจัยต่าง ๆ ร่วมกัน เช่น พันธุกรรม การไม่ออกกำลังกาย โรคอ้วน อายุที่มากขึ้น พฤติกรรมชอบบริโภคของหวานหรืออาหารคาร์โบไฮเดรตสูง
  • เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เกิดจากร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินที่ผิดปกติไปซึ่งเป็นผลจากฮอร์โมนฮิวแมนพลาเซนต้าแลกโตรเจน (Human placental lactogen-hPL) ที่สร้างจากรกหญิงตั้งครรภ์อาจเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้ เเละความเสี่ยงอาจเพิ่มขึ้น เมืออายุครรภ์มากขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ภาวะนี้มักเป็นเพียงชั่วคราวจะหายเองได้หลังคลอด อย่างไรก็ตามภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์นี้อาจะเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพมารดาเเละทากรกระหว่างคลอดได้

ทั้งนี้หากยิ่งมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงและเป็นเวลานานโดยไม่ควบคุมหรือปรับพฤติกรรมให้น้ำตาลในเลือดลดลง น้ำตาลส่วนเกิดนี้จะทำให้ผนังหลอดเลือดเสียหาย ผู้ป่วยเบาหวานจะยิ่งเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ มากขึ้นเท่านั้น

วิธีรักษาหรือดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเบาหวาน

เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือเป็นโรคเบาหวาน มีวิธีรักษาและปรับพฤติกรรมต่าง ๆ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ได้ดังนี้

  1. การใช้อินซูลินยาฉีดอินซูลินในปัจจุบันมักเป็นรูปเเบบปากกาสำเร็จรูป สามารถฉีดได้ด้วยตนเองเข้าชั้นไขมันใต้ผิวหนังทีบริเวณหน้าท้อง เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยยารับประทาน เเละ ผู้ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  2. การรับประทานยาลดระดับน้ำตาล ซึ่งอาจมีทั้งยาก่อน และหลังอาหาร ทั้งนี้ ควรรับประทานยา ให้ตรงเวลาเเละสม่ำเสมออย่างเคร่งครัด
  3. การควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารเเละเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวาน น้ำอัลม เน้นรับประทานอาหารจำพวกผักที่มีแป้งต่ำ เช่น บรอกโคลี แครอท มะเขือเทศ ธัญพืช
  4. การออกกำลังกาย โดยเเนะนำให้ออกกำลังกายความเหนือยปานกลาง อย่างน้อยวันละ 30 นาที หรือ 150 นาที/สัปดาห์ เช่น เดิน วิ่งเหยาะๆ การเต้นแอโรบิก ปั่นจักรยาน

การใช้อินซูลินเพื่อบรรเทาอาการโรคเบาหวาน

เนื่องจากเมื่อตับอ่อนของผู้ป่วยเบาหวานผลิตอินซูลินลดลงหรือไม่ได้เลย ร่างกายจึงจำเป็นต้องได้รับอินซูลินทดแทน เพื่อใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยอินซูลินสามารถแบ่งตามระยะเวลาการออกฤทธิ์เป็น 5 ประเภทได้เเก่

  • อินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็ว (Rapid-acting Insulin) เริ่มออกฤทธิ์ภายในไม่กี่นาทีหลังจากฉีด และออกฤทธิ์นาน 3-5 ชั่วโมง ควรฉีดยาก่อนมื้ออาหาร 5-15 นาที เหมาะสำหรับควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหาร  มักใช้ร่วมกับอินซูลินที่ออกฤทธิ์นาน
  • อินซูลินออกฤทธิ์ปกติ/สั้น (Regular or Short-acting Insulin) จะเริมออกออกฤทธิ์หลังฉีดภายใน 30 นาที และออกฤทธิ์นานประมาณ 5-8 ชั่วโมง จีงควรฉีดยาก่อนมื้ออาหาร 30 นาที เเละ เหมาะสำหรับควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหลังมื้ออาหารเช่นกัน
  • อินซูลินออกฤทธิ์ปานกลาง (Intermediate-acting Insulin) ออกฤทธิ์ภายใน 2-4 ชั่วโมงหลังฉีด และออกฤทธิ์นาน 10-12 ชัวโมง จีงสามารถฉีดวันละ 1-2 ครั้ง มักใช้ฉีดร่วมกับอินซูลินออกฤทธิ์สั้น เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในร่างกาย
  • อินซูลินออกฤทธิ์ยาว (Long-acting Insulin) เริ่มออกฤทธิ์ภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังฉีด และออกฤทธิ์ต่อเนื่องยาวนาน 24 ชั่วโมง จึงใช้ฉีดเพียงวันละ 1 ครั้ง เเละอาจใช้ร่วมกับอินซูลินออกฤทธิ์เร็วหรือบางครั้งใช้ร่วมกับยาเม็ดลดน้ำตาลได้เช่นกัน
  • อินซูลินแบบผสม (Premixed Insulin) เป็นอินซูลินรวมที่ผสมระหว่างอินซูลิน 2 ชนิดได้เเก่ ชนิดออกฤทธิ์เร็วหรือสั้นร่วมกับชนิดออกฤทธิ์ปานกลาง เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทั้งหลังมื้ออาหารและระหว่างวัน ซี่งมักมีสัดส่วนเป็นตัวเลขเช่น 50/50 75/25 70/30 พ่วงตามหลังชื่อ โดยอินซูลินเเบบผสมนี้มักใช้วันละสองครั้ง คือ ก่อนอาหารมื้อเช้า เเละ ก่อนอาหารมื้อเย็น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Insulin Basics. https://www.diabetes.org/healthy-living/medication-treatments/insulin-other-injectables/insulin-basics. Accessed June 17, 2022

Diabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetes/symptoms-causes/syc-20371444. Accessed June 17, 2022

What is insulin?. https://www.yourhormones.info/hormones/insulin/. Accessed June 17, 2022

Diabetes – insulin therapy. https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000965.htm#:~:text=Insulin%20therapy%20replaces%20the%20insulin,to%20control%20blood%20sugar%20levels.  Accessed June 17, 2022

Types of Insulin for Diabetes Treatment. https://www.webmd.com/diabetes/diabetes-types-insulin. Accessed June 17, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/07/2022

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

เบาหวาน เหงื่อออกมาก สาเหตุ การรักษาและการดูแลตัวเอง

เช็คเบาหวานด้วยตัวเอง ทำอย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 30/07/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา