backup og meta

เบาหวาน หาย ได้ ไหม และควรดูแลตัวเองอย่างไร

เบาหวาน หาย ได้ ไหม และควรดูแลตัวเองอย่างไร

เบาหวาน หาย ได้ ไหม? อาจเป็นคำถามที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องการทราบคำตอบมากที่สุด ปัจจุบันนี้ยังไม่มีวิธีรักษาเบาหวานให้หายขาด (เเต่ก็มีผู้ป่วยบางส่วนที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จนระดับน้ำตาลลงลดสู่เกณฑ์ปกติ โดยที่ไม่ต้องรับประทานยา) อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานสามารถดูแลตัวเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเกินไปเพื่อป้องกันการเกิดโรคหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ ด้วยการรับประทานอาหารที่เหมาะสม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และรับประทานยารวมไปถึงฉีดอินซูลินตามคำแนะนำของคุณหมอ

[embed-health-tool-bmi]

เบาหวาน คืออะไร

เบาหวาน เป็นเป็นภาวะที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติหรือตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของร่างกายบกพร่อง ซึ่งหากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรังเป็นเวลานาน อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพได้ เช่น เบาหวานขึ้นตา ไตเสื่อม โรคหลอดเลือดหัวใจเเละสมอง

โดยทั่วไป เบาหวานแบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ

  • เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้างภูมิมาทำลายตับอ่อน จึงทำให้ซึ่งผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ลดลง ซึ่งฮอร์โมนอินซูลินนั้นมีบทบาทสำคัญในการช่วยให้เซลล์นำน้ำตาลที่อยู่ในกระแสเลือดไปเผาผลาญให้เป็นพลังงาน ดังนั้น เมื่อร่างกายมีอินซูลินไม่เพียงพอ เซลล์จึงไม่สามารถดึงน้ำตาลจากในกระเเสเลือดได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ
  • เบาหวานชนิดที่ 2 คือ เบาหวานที่เกิดจากภาวะดื้ออินซูลิน พบได้กว่า 95 % ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด เกิดการที่เซลล์ในร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้เเม้จะมีอินซูลินเพียงพอในร่างกาย เเต่เซลล์ก็ไม่สามารถนำน้ำตาลไปเผาผลาญได้เหมาะสม จึงส่งผลให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง

เบาหวาน หาย ได้ ไหม

ในปัจจุบัน โดยส่วนมากเเล้ว เบาหวานยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ (เเต่ก็มีผู้ป่วยบางส่วนที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จนระดับน้ำตาลลงลดสู่เกณฑ์ปกติ โดยที่ไม่ต้องรับประทานยา)  แต่หากผู้ป่วยหมั่นดูแลสุขภาพตนเอง ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ได้ตามเป้าหมาย ก็จะช่วยให้มีสุขภาพโดยรวมที่แข็งเเรง มีคุณภาพชีวิตที่ดี และช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้

ทั้งนี้ วิธีการดูแลตนเองเมื่อเป็นโรคเบาหวาน ได้แก่

เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

ผู้ป่วยเบาหวาน ควรเลือกรับประทานอาหารที่ไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นมากจนเกินไป เช่น

  • อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำและมีไฟเบอร์สูง เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ข้าวโอ๊ต คีนัว ข้าวฟ่าง ข้าวกล้อง
  • ผักหรือผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เช่น มะเขือเทศ หัวหอม กะหล่ำปลี มะเขือเทศ แตงกวา ดอกกะหล่ำ มะเขือม่วง เห็ดต่าง ๆ แอปเปิ้ล ลูกแพร์ พลัม พีช มะพร้าว มะกอก อะโวคาโด
  • อาหารกลุ่มโปรตีน เช่น ไก่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ไข่ นมและผลิตภัณฑ์จากนมเช่น โยเกิร์ต ชีส
  • เครื่องดื่มที่ไม่เติมน้ำตาล หรือ มีน้ำตาลต่ำ เช่น น้ำเปล่า ชา กาแฟดำ

ในขณะเดียวกัน อาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานควรหลีกเลี่ยงคืออาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น ขนมปังขาว มันฝรั่ง ของทอด พาสต้า ข้าวขาว รวมถึงของหวานต่าง ๆ เพราะคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลในอาหารเหล่านี้ จะถูกเปลี่ยนเป็นน้ำตาลกลูโคส ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้นมากหลังรับประทาน

ออกกำลังกายเป็นประจำ

ผู้ป่วยเบาหวานควรออกกำลังกายรวมอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที หรือ ครั้งละอย่างน้อย 30 นาที 5 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อควบคุมน้ำหนักและกระตุ้นให้เซลล์ตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลินดีขึ้น

ทั้งนี้ การออกกำลังกายยังทำให้หลับได้ง่ายและสนิทมากขึ้น ช่วยให้ร่างกายได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ เพราะหากพักผ่อนไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเกรลิน (Ghrelin) เพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีผลกระตุ้นความอยากอาหารซึ่งส่งผลให้ควบคุมเบาหวานได้ยากขึ้น

รับประทานยาลดระดับน้ำตาล หรือ ฉีดอินซูลินตามคำแนะนำของคุณหมอ

เมื่อคุณหมอวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน เเละจำเป็นต้องเริ่มการรักษาด้วยยา ควรปฏิบัติตามคำเเนะนำของอย่างเคร่งครัด โดยปัจจุบันมียาเม็ดสำหรับรับประทานเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด โดยออกฤทธิ์ผ่านหลาย ๆ กลไก เช่น กระตุ้นการหลั่งอินซูลินจากตับอ่อน เพิ่มการตอบสนองต่อของเซลล์ต่ออินซูลิน เพิ่มการขับน้ำตาลส่วนเกินออกทางปัสสาวะ หรือในกรณีที่จะเป็นต้องใช้ยาฉีดอินซูลิน ก็มีอินซูลินที่ออกฤทธิ์ระยะเวลาต่างกัน ดังนั้น คุณหมอจะพิจารณาตามความเหมาะสมในการใช้ยาทั้งชนิดเเละปริมาณ กับผู้ป่วยเเต่ละราย ซึ่งอาจต่างกันออกไป

การใช้ยาทั้งยาฉีดเเละยารับประทาน ผู้ป่วยควปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอ เนื่องจากหากใช้น้อยไปหรือไม่สม่ำเสมอ ก็จะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดยังคงสูง เเต่หากมากไป หรือใช้ผิดเวลา อาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งทั้งสองกรณีนี้ก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ป่วยด้วยเช่นกัน

ทางเลือกอื่น ๆ เพื่อรักษา เบาหวาน

นอกเหนือจากการรับประทานยาเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือการฉีดอินซูลินเเล้วยังยังมีวิธี วิธีการอื่นที่สามารถช่วยรักษาโรคเบาหวานได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 และผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน ซึ่งมีวิธีรักษาดังต่อไปนี้

  • การผ่าตัดลดน้ำหนัก สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีดัชนีมวลกาย (BMI) ตั้งเเต่ 35 กิโลกรัม/ตารางเมตรขึ้นไป การผ่าตัดกระเพาะอาหารเพื่อลดขนาดกระเพาะหรือ การผ่าตัดเชื่อมลำไส้เล็กกับกระเพาะอาหาร จะช่วยให้โรคเบาหวานดีขึ้นได้ เพราะช่วยบริโภคอาหารได้น้อยลง อิ่มเร็วขึ้น ลดการดูดซึมสารอาหาร รวมถึงช่วยเพิ่มการตอบสนองต่ออินซูลินของเซลล์ในร่างกายด้วย
  • การปลูกถ่ายตับอ่อน เป็นวิธีการสำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หากผ่าตัดสำเร็จอาจไม่จำเป็นต้องใช้ได้รับการบำบัดรับการบำบัดด้วยอินซูลินในการควบคุมระดับน้ำตาล แต่จำเป็นต้องรับประทานยากดภูมิเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายต่อต้านตับอ่อนที่ปลูกถ่ายไปตลอดชีวิต

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Pancreatic Islet Transplantation. https://www.niddk.nih.gov/health-information/diabetes/overview/insulin-medicines-treatments/pancreatic-islet-transplantation . Accessed March 24, 2023.

Pancreas transplant. Overview. https://www.nhs.uk/conditions/pancreas-transplant  Accessed March 24, 2023.

Get Active!. https://www.cdc.gov/diabetes/managing/active.html. Accessed March 24, 2023.

Is There a Diabetes Cure?. https://www.webmd.com/diabetes/guide/is-there-a-diabetes-cure . Accessed March 24, 2023.

Can You Reverse Type 2 Diabetes?. https://www.webmd.com/diabetes/can-you-reverse-type-2-diabetes. Accessed March 24, 2023.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

24/03/2023

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ฉีดอินซูลินตอนไหน จึงได้ผลดีต่อสุขภาพผู้ป่วยเบาหวาน

ภาวะ แทรกซ้อน เบาหวาน มีอะไรบ้าง และวิธีป้องกัน


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 24/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา