backup og meta

ข้อควรรู้ การใช้ อินซูลินสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1

ข้อควรรู้ การใช้ อินซูลินสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1

หลายคนส่วนใหญ่มักคิดว่า โรคเบาหวาน (Diabetes) มีสาเหตุมาจากการรับประทานอาหารที่มีรสหวาน หรืออาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง ๆ เพียงเท่านั้น แต่ความจริงแล้วโรคเบาหวานอาจเกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน ในกรณีของโรคเบาหวานชนิดที่ 1  อาจเกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกันในร่างกาย ที่ไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ ดังนั้น การฉีด อินซูลินสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะอาจช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้

[embed-health-tool-heart-rate]

ทำความรู้จัก โรคเบาหวานชนิดที่ 1

โรคเบาหวานชนิดที่ 1 (Autoimmune Disease) พบได้ในเด็กและวัยรุ่น เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกายทำลายเบต้าเซลล์ (Beta Cell) ในตับอ่อนซึ่งทำหน้าที่ผลิตอินซูลิน (Insulin) ตับอ่อนจึงหยุดสร้างอินซูลิน ส่งผลน้ำตาลในเลือดจึงเพิ่มสูงขึ้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 จึงต้องฉีดอินซูลินเข้าร่างกายเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม 

ข้อควรรู้! การใช้ อินซูลินสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1

ยาฉีดอินซูลินแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ ชนิดออกฤทธิ์เร็ว ชนิดออกฤทธิ์สั้น ชนิดออกฤทธิ์ปานกลาง และชนิดออกฤทธิ์นาน โดยคุณหมอจะแนะนำชนิดที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยโรคเบาหวาน รวมถึงตำแหน่งในการฉีดอินซูลิน แต่ส่วนใหญ่ตำแหน่งที่ดีที่สุดในการฉีดอินซูลิน คือ บริเวณหน้าท้อง หลังแขน ต้นขา และบริเวณสะโพก เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีข้อควรรู้เกี่ยวกับการฉีดอินซูลิน ดังต่อไปนี้ 

  • ตำแหน่งที่ดีที่สุดจะเป็นบริเวณหน้าท้อง ห่างจากสะดือ 1-2 นิ้ว (อินซูลินที่ฉีดเข้าท้องจะถูกดูดซึม และนำไปใช้งานได้เร็วที่สุด)
  • ควรเปลี่ยนตำแหน่งในการฉีดอินซูลิน ไม่ควรฉีดซ้ำในตำแหน่งเดิมบ่อย ๆ เพราะจะทำให้ดูดซึมตัวยาได้ช้า 
  • หากต้องการฉีดอินซูลินบริเวณหลังแขน ควรให้ผู้อื่นที่มีความรู้ความเชี่ยวเชี่ยวชาญในการฉีดมาฉีดให้ (ไม่เหมาะกับการฉีดด้วยตนเอง)

ขั้นตอนการฉีดอินซูลินด้วยตนเอง

สิ่งสำคัญในการฉีดอินซูลินด้วยตัวเองนั้น คือ ความสะอาดและการเตรียมอุปกรณ์ในการฉีดอินซูลินให้พร้อม เช่น ขวดยาอินซูลิน กระบอกฉีดยา แอลกอฮอล์ 70% สำลีสะอาด โดยขั้นตอนการฉีดอาจทำได้ ดังนี้

  • ล้างมือให้สะอาด และเช็ดให้แห้ง ตรวจสอบฉลากอินซูลินให้ละเอียดก่อนทำการฉีด
  • ให้กลิ้งขวดอินซูลินบนฝ่ามือเพื่อให้อินซูลินไม่จับตัวเป็นก้อน (ห้ามเขย่า) 
  • หากขวดอินซูลินมีฝาพลาสติกปิดไว้ให้ถอดออก เช็ดด้านบนของขวดด้วยแอลกอฮอล์ แล้วปล่อยให้แห้ง
  • ถอดหัวเข็มออกอย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้สัมผัสกับเข็ม  ดูดอากาศเข้าในกระบอกฉีดตามปริมาณที่ต้องการ
  • ใส่เข็มฉีดอินซูลินผ่านยางด้านบนขวด หลังจากนั้นดันอากาศเข้าไปในขวดยา
  • เก็บเข็มในขวดแล้วคว่ำขวดยาลง แล้วดูดอินซูลินเข้ามาในกระบอกฉีดตามปริมาณที่ต้องการ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Type 1 Diabetes. https://www.niddk.nih.gov/health-information/diabetes/overview/what-is-diabetes/type-1-diabetes. Accessed May 14, 2021

Type 1 Diabetes and Insulin. https://www.endocrineweb.com/conditions/type-1-diabetes/type-1-diabetes-insulin. Accessed May 14, 2021

Type 1 diabetes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/type-1-diabetes/symptoms-causes/syc-20353011. Accessed May 14, 2021

Type 1 Diabetes. https://www.webmd.com/diabetes/type-1-diabetes. Accessed May 14, 2021

Insulin insecurity and death by DKA. https://diabetesvoice.org/en/diabetes-views/insulin-insecurity/. Accessed May 14, 2021

Giving an insulin injection. https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000660.htm. Accessed May 14, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/12/2022

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ ความเสี่ยงสุขภาพที่คุณแม่ป้องกันได้

เบาหวานในเด็ก อาการ สาเหตุ วิธีรับมือที่ควรรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 18/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา