backup og meta

เบาหวานในเด็ก อาการ สาเหตุ วิธีรับมือที่ควรรู้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 31/01/2022

    เบาหวานในเด็ก อาการ สาเหตุ วิธีรับมือที่ควรรู้

    เบาหวานในเด็ก เป็นภาวะที่ร่างกายของเด็กไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ อินซูลินเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เมื่อไม่มีอินซูลิน จึงอาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังจนส่งผลให้เด็กเป็นโรคเบาหวานได้ อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้อาการ สัญญาณเตือน รวมถึงสาเหตุ และวิธีรับมือกับโรคที่ถูกต้อง อาจช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ หรือผู้คนรอบข้างสามารถดูแลเด็กที่เป็นเบาหวาน และช่วยให้เด็กใช้ชีวิตได้สะดวกขึ้น

    เบาหวานในเด็ก คืออะไร 

    โรคเบาหวานในเด็ก หรือเบาหวานชนิดที่ 1 ในเด็ก (Type 1 diabetes in children) เป็นภาวะที่ร่างกายของเด็กไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ ซึ่งพวกเขาจำเป็นต้องใช้อินซูลินเพื่อการใช้ชีวิต จึงต้องหาอะไรเพื่อมาทดแทนอินซูลินที่ร่างกายไม่สามารถผลิตได้

    โรคเบาหวานชนิดที่ 1 รู้จักกันในชื่อ “โรคเบาหวานในเด็ก” ซึ่งเกิดจากระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ จนทำให้ระบบการเผาผลาญในร่างกายทำงานผิดปกติ ทั้งนี้เนื่องมาจากร่างกายไม่มีการผลิตอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยลำเลียงน้ำตาลจากไปยังเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ดังนั้น เมื่อร่างกายไม่มีการผลิตอินซูลิน จึงทำให้น้ำตาลสะสมอยู่ในกระแสเลือด

    โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ทำให้ตับอ่อนสูญเสียความสามารถในการผลิตอินซูลิน กลุ่มเซลล์ที่อยู่ในตับอ่อนซึ่งทำหน้าที่ผลิตอินซูลินจะโดนทำลายทีละนิดจนหมด ซึ่งเป็นกระบวนการที่ไม่สามารถหยุดยั้งได้ การฉีดอินซูลินหรือใช้เครื่องปั๊มอินซูลินจึงมีความจำเป็นต่อผู้ป่วยเป็นอย่างมาก

    อาการของโรคเบาหวานในเด็ก

    อาการของโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในเด็ก มักจะมีอาการและพัฒนาความรุนแรงของอาการอย่างรวดเร็วอย่างเห็นได้ชัด  เช่น

  • กระหายน้ำและปัสสาวะบ่อย ปริมาณน้ำตาลจำนวนมากที่อยู่ในกระแสเลือดดึงเอาของเหลวจากเนื้อเยื่อออกมามากทำให้เด็ก ๆ มีอาการกระหายน้ำ และดื่มน้ำอยู่บ่อย ๆ ส่งผลให้ปัสสาวะบ่อย บางครั้งทำให้เด็ก ๆ หลายคนจึงเกิดปัญหาฉี่รดที่นอน
  • หิวบ่อย เมื่อร่างกายของเด็กไม่ได้รับอินซูลินในปริมาณที่เพียงพอ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ขาดพลังงาน จึงทำให้รู้สึกหิวอยู่บ่อยๆ
  • น้ำหนักลดลง ถึงแม้ว่าจะกินอยู่บ่อยครั้ง แต่เด็ก ๆ ก็จะมีน้ำหนักที่ลดลง เพราะร่างกายไม่ได้รับน้ำตาล ทำให้กล้ามเนื้อและไขมันที่ร่างกายกักตุนไว้ลดลง
  • อ่อนเพลีย เมื่อร่างกายขาดน้ำตาลส่งผลให้เด็กรู้สึกเหนื่อยและเซื่องซึม
  • หงุดหงิดง่ายและอารมณ์แปรปรวน อาการในลักษณะนี้อาจส่งผลกระทบต่อปัญหาด้านการเรียน
  • มีปัญหาด้านการมองเห็น ถ้าลูก ๆ ของคุณมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายจะไม่สามารถดึงเอาของเหลวในร่างกายไปใช้ได้ ทำให้บางครั้งต้องไปดึงเอาของเหลวในดวงตามาใช้ ทำให้เกิดปัญหาด้านการมองเห็นได้ หรือเด็ก ๆ มองเห็นไม่ชัดเจน
  • การใช้ชีวิตอยู่กับโรคเบาหวาน

    หนึ่งในอุปสรรคแรก ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องข้ามผ่านไปให้ได้ ก็คือการใช้เข็มเจาะเข้าไปในร่างกายของลูก ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่ยากจะทำใจ แต่เมื่อคุณมีความชำนาญมากขึ้น ก็จะกลายเป็นเรื่องง่ายไปเอง ฉะนั้นจึงฝึกทำบ่อย ๆ เพื่อให้เกิดความชำนาญ มากไปกว่านั้น ผูกปกครองจำเป็นจะต้องเรียนรู้วิธีการตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือด และการปรับระดับอินซูลินตามความจำเป็น โดยพิจารณาตามปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

    • ระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งต้องทำการตรวจสอบวันละหลายครั้ง
    • เวลาและชนิดอาหารที่ทานเข้าไป (โดยพิจารณาชนิดและจำนวนคาร์โบไฮเดรตในอาหาร)
    • จำนวนกิจกรรมทางร่างกาย ที่ต้องการน้ำตาลและอินซูลินเพิ่มขึ้น
    • ปริมาณของอินซูลินที่ใช้ฉีด หรือจากการใช้เครื่องปั๊มอินซูลิน ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของร่างกาย

    โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากเบาหวานชนิดที่ 1

    อาการแทรกซ้อนที่เกิดจากเบาหวานชนิดที่ 1 จะค่อย ๆ พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าระดับน้ำตาลยังไม่ได้รับการควบคุมให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งบางครั้งอาจจะนำไปสู่ความพิการ เสี่ยงต่อการเสียชีวิต หรือเกิดความเสี่ยงต่ออาการทางสุขภาพต่าง ๆ ดังนี้

    • โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวานทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเกี่ยวกับหลอดเลือด เช่น หลอดเลือดตีบ โรคหัวใจ
    • เส้นประสาทถูกทำลาย น้ำตาลในเส้นเลือดที่มากไปจะไปทำลายผนังของหลอดเลือดฝอยที่อยู่ตามเส้นประสาทต่าง ๆ โดนเฉพาะที่ขา จึงทำให้เกิดอาการชา ปวด และจะเป็นหนักขึ้นหากยังไม่ควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
    • ไตถูกทำลาย โรคเบาหวานจะทำลายเส้นเลือดฝอยที่กรองของเสีย ซึ่งเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการไตวาย
    • ดวงตาถูกทำลาย โรคเบาหวานจะทำลายเส้นเลือดที่ตา ซึ่งจะส่งผลต่อปัญหาในการมองเห็น และอาจทำให้ตาบอดได้
    • โรคผิวหนัง โรคเบาหวานทำให้เด็ก ๆ มีปัญหาโรคผิวหนัง เช่น ติดเชื้อแบคทีเรีย ติดเชื้อรา ทำให้เกิดอาการคัน
    • กระดูกพรุน โรคเบาหวานทำให้ความหนาแน่นของกระดูกน้อยกว่าปกติ ทำให้เด็ก ๆ เสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนเมื่อโตขึ้น

    การขอความช่วยเหลือ

    คุณหมอ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และทีมดูแลสุขภาพจะเป็นที่พึ่งหลักในการให้ความช่วยเหลือกับคุณพ่อคุณแม่ได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองก็ยังสามารถค้นหาข้อมูลได้จากแหล่งต่าง ๆ ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งข้อมูลออนไลน์

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 31/01/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา