backup og meta

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) เป็นอีกหนึ่งภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยเบาหวานซึ่งต้องใช้ยารับประทานหรือฉีดยาอินซูลินเพื่อลดภาวะน้ำตาลในเลือด จึงอาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการใจสั่น อ่อนเพลีย หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม อาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ชักและหมดสติได้ ผู้ป่วยเบาหวานรวมทั้งคนใกล้ชิดควรศึกษาและทำความรู้จักกับ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ในผู้ป่วยเบาหวานให้มากขึ้น เพื่อหาวิธีการป้องกันและรับมือได้อย่างถูกต้อง

[embed-health-tool-heart-rate]

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดขึ้นได้อย่างไร 

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดขึ้นเมื่อผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือ 3.9 มิลลิกรัม/ลิตร โดยสาเหตุส่วนใหญ่ มักเกิดจากการที่ผู้ป่วยรับประทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ เช่น ออกกำลังกายมากเกินไป รับประทานอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยเบาหวานทุกคน

สาเหตุของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ 

สาเหตุที่อาจพบได้บ่อยของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน มีดังนี้

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 
  • ออกกำลังกายมากเกินไป โดยไม่ได้ปรับภาวะโภชนาการให้เหมาะสม
  • รับประทานอาหารไม่เพียงพอ งดอาหารบางมื้อ
  • รับประทานอาหารและยาไม่ตรงเวลา
  • ใช้ยาอินซูลินหรือรับประทานยาลดระดับน้ำตาลในเลือดมากเกินไป

อาการที่พบได้บ่อยของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน

ลักษณะอาการที่อาจพบได้บ่อยของภาวะน้ำตาในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน มีดังนี้

  • หัวใจเต้นเร็ว
  • ฉุนเฉียวง่าย
  • รู้สึกสับสน มึนงง
  • รู้สึกหิวบ่อย
  • ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ
  • อาการอ่อนเพลีย 
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • พูดไม่ชัด
  • เหงื่ออกง่าย มีอาการตัวสั่น
  • หน้าซีด

อย่างไรก็ตาม อาการอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับสาเหตุและปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ดังนั้น ผู้ป่วยต้องคอยตรวจสอบระดับน้ำตาลในเลือด และสังเกตร่างกายของตนเองเป็นประจำ เพราะหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจเกิดอันตรายต่อสุขภาพ ได้แก่ ปากหรือลิ้นเป็นเหน็บชา หน้ามืดเป็นลม เกิดอาการชักหมดสติ ไม่รู้สึกตัวนานกว่า 6 ชั่วโมง

วิธีป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำในผู้ป่วยเบาหวาน

ในเบื้องต้น หากผู้ป่วยเริ่มมีอาการเข้าข่ายภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ควรรีบจดบันทึกวันและเวลาที่เกิดอาการขึ้น และปรึกษาคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อรับคำแนะนำ วางแผนในการรักษาใหม่ รวมถึงการปรับพฤติกรรม ดังนี้ 

  • รับประทานอาหารให้ตรงเวลาในปริมาณที่เหมาะสม ไม่ควรงดมื้อใดมื้อหนึ่ง หากผู้ป่วยใช้อินซูลินและรับประทานยาเพื่อรักษาเบาหวาน ควรรับประทานอาหารและยาให้ตรงเวลาตามแพทย์สั่ง
  • หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดสูบบุหรี่
  • หมั่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ 
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอย่างเคร่งครัด ไม่ปรับเพิ่มหรือลดยาเอง 
  • ผู้ป่วยเบาหวานอาจเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยการดื่มน้ำผลไม้หรืออมลูกอม 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Hypoglycemia: When Your Blood Sugar Gets Too Low. https://www.webmd.com/diabetes/guide/diabetes-hypoglycemia. Accessed January 25, 2022.

Diabetic hypoglycemia. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/diabetic-hypoglycemia/symptoms-causes/syc-20371525. Accessed January 25, 2022.

Hyperglycemia and hypoglycemia in type 2 diabetes. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK279510/. Accessed January 25, 2022.

Standards of Medical Care in Diabetes—2020 Abridged for Primary Care Providers. https://clinical.diabetesjournals.org/content/38/1/10. Accessed January 25, 2022

Low blood sugar (hypoglycaemia). https://www.nhs.uk/conditions/low-blood-sugar-hypoglycaemia/. Accessed December 21, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

21/12/2022

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในผู้ชาย

ควบคุมเบาหวาน ไม่อยู่ อาจเสี่ยงเป็น โรคหัวใจและหลอดเลือด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 21/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา