backup og meta

หญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ กับการลดความเสี่ยงในช่วงโควิด-19

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์ · โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 01/03/2023

    หญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ กับการลดความเสี่ยงในช่วงโควิด-19

    หญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ควรให้ความสำคัญในการดูแลตนเองมากกว่าปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่สถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงมีผู้ป่วยที่ต้องเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 (COVID-19) อีกทั้งคุณเเม่ที่มีภาวะเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ยังนับว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงหากติดเชื้อไวรัสโวิด-19 ดังนั้นในช่วงนี้ คุณเเม่จึงควรดูแลตนเองและปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัดเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19

    หญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ในสถานการณ์โควิด-19

    คุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์นับเป็นกลุ่มมีความเสี่ยงสูงหากติดเชื้อโควิด-19 เนื่องจากสามารถเกิดอาการรุนเเรงได้มากกว่าคนปกติ ดังนั้น คุณเเม่อาจของคำเเนะนำจากคุณหมอหรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางถึงเเนวทางการดูเเลตนเอง รวมถึงการปรับพฤติกรรมสุขอนามัยอย่างเคร่งครัดเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 เช่น ดูแลสุขอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ เว้นระยะห่างทางสังคม รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์อยู่เสมอ

    หญิงที่เป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ควรดูแลตนเองเพื่อลดความเสี่ยงในช่วงโควิด-19 อย่างไร

    ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 คุณเเม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงที่อาจมีภาวะแทรกซ้อนรุนเเรงได้มากกว่าคนทั่วไป หากติดเชื้อโควิด-19 ดังนั้น คุณเเม่จึงจำเป็นต้องดูแลสุขภาพของตนเองให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 โดยสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำ ดังต่อไปนี้

    • ดูแลรักษาสุขอนามัยของตนอยู่เสมอ โดยการล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่
    • ในกรณีที่ไม่สามารถล้างมือด้วยสบู่ได้ เเนะนำให้ทำความสะอาดด้วยเจลแอลกอฮอล์แทน
    • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับพื้นผิวหรือสิ่งเเวดล้อมต่าง ๆ โดยไม่จำเป็น เพื่อลดความเสี่ยงในการการสัมผัสเชื้อโรค
    • เว้นระยะห่างทางสังคม โดยรักษาระยะห่างจากผู้อื่นในที่สาธารณะประมาณ 2 เมตร เเละสวมหน้ากากอนามัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออยู่ในที่ชุมชน หรือในห้องที่อากาศไม่ถ่ายเท
    • เมื่อมีอาการไอ หรือจาม ให้ใช้บริเวณข้อศอกมาปิดแทนการใช้มือ
    • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 6 – 8 ชั่วโมง
    • หมั่นรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม
    • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอในแต่ละวัน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

    โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 01/03/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา