backup og meta

เคล็ดลับการเลือกอาหารฉบับง่ายสำหรับผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อการใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่

เคล็ดลับการเลือกอาหารฉบับง่ายสำหรับผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อการใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่

สำหรับผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สิ่งสำคัญที่สุด คือ การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมและคงที่ ดังนั้น การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์เรื่องการรับประทานอาหารจึงมีส่วนช่วยให้รับมือกับเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ดีขึ้น ซึ่งผู้เป็นเบาหวานจำเป็นต้องทำความเข้าใจเรื่องของสารอาหารก่อนเริ่มปรับแผนการรับประทาน โดยเฉพาะสารอาหารสำคัญที่ร่างกายจำเป็นต้องได้รับอย่างเหมาะสมอย่าง คาร์โบไฮเดรต คาร์โบไฮเดรตชนิดพิเศษ (ไฟเบอร์ซอล ซูโครมอลต์ FOS) โปรตีน แร่ธาตุ และวิตามินที่จำเป็น

คาร์โบไฮเดรต

แม้จะเป็นสารอาหารที่คุ้นเคย แต่สำหรับผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลิน (ฮอร์โมนที่ทำหน้าที่เผาผลาญคาร์โบไฮเดรต) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น ผู้เป็นเบาหวานจึงควรควบคุมการบริโภคคาร์โบไฮเดรต ด้วยวิธีการควบคุม 2 วิธี คือ การนับปริมาณคาร์โบไฮเดรตและค่าดัชนีน้ำตาล

  • การนับปริมาณคาร์โบไฮเดรต เป็นการคำนวณที่ไม่ซับซ้อน เพียงนับจากปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่บริโภคในแต่มื้อของแต่ละวัน โดยเฉลี่ยแล้วผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ควรได้รับแคลอรี่ประมาณครึ่งหนึ่งจากคาร์โบไฮเดรต1 ซึ่งหมายความว่าหากอาหารที่บริโภคใน 1 วันมีปริมาณ 1,500 กิโลแคลอรี่ คาร์โบไฮเดรตที่ได้รับไม่ควรมากกว่า 700-800 กิโลแคลอรี่ ซึ่งจะเท่ากับคาร์โบไฮเดรตประมาณ 175-200 กรัม/วัน (4 กิโลแคลอรี่/คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม)
  • ค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index หรือ GI) คือ ตัวเลขที่กำหนดให้กับอาหารแต่ละชนิด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาหารแต่ละชนิดนั้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นได้รวดเร็วเพียงใด การรับประทานอาหารที่ค่าดัชนีน้ำตาลต่ำจะช่วยให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้น2

การนับปริมาณคาร์โบไฮเดรตและการเลือกรับประทานอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำเป็นตัวช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างดี ทั้ง 2 วิธีนี้สามารถทำควบคู่กันไปได้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้มีประสิทธิภาพ

คาร์โบไฮเดรตชนิดพิเศษ 

  • ไฟเบอร์ซอล คาร์โบไฮเดรตชนิดพิเศษที่ทำจากแป้งข้าวโพด ทนต่อการย่อย ร่างกายจึงย่อยและดูดซึมได้ทีละน้อย จึงชะลอการดูดซึมน้ำตาล ส่งผลให้ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และยังช่วยลดการดูดซึมไขมันในเลือดอีกด้วย1

ยังมีการศึกษาพบว่า ไฟเบอร์ซอล ช่วยเพิ่มการหลั่งฮอร์โมน Peptide YY (PYY) และ Glucagon-Like Peptide 1 (GLP-1) ในลำไส้เล็กซึ่งมีบทบาทในการควบคุมความหิวความอิ่ม จึงช่วยยืดเวลาความอิ่มให้นานขึ้นหลังมื้ออาหาร และรู้สึกหิวช้าลง11 จึงมีส่วนช่วยในการควบคุมน้ำหนักเมื่อนำมาใช้ควบคู่กับการปรับพฤติกรรม

  • ซูโครมอลต์ คาร์โบไฮเดรตชนิดพิเศษที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำแต่ให้ความหวานเหมือนน้ำตาลปกติ จึงไม่ทำให้ค่าระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเร็ว ร่างกายย่อยและดูดซึมอย่างช้า ๆ2 ผู้รับประทานจึงไม่รู้สึกอ่อนเพลีย เมื่อเทียบกับอาหารที่มี GI สูง
  • FOS คาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่งและเป็นพรีไบโอติก ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยหรือดูดซึมได้ในลำไส้เล็ก ต้องอาศัยจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ใหญ่มาย่อย มีคุณสมบัติช่วยลดการดูดซึมน้ำตาลและไขมันเข้าสู่กระแสเลือด จึงมีส่วนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดจึงไม่พุ่งสูงขึ้นรวดเร็วเกินไป4

สรุปได้ว่า ไฟเบอร์ซอล ซูโครมอลต์ และ FOS มีคุณสมบัติในการกระตุ้นการหลั่ง GLP-1 ซึ่งมีผลกับการเพิ่มของอินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้ 

นอกจากนี้ มีการศึกษาจำนวนมากได้ยืนยันถึงคุณประโยชน์โดยรวมของ ไฟเบอร์ซอล ซูโครมอลต์ FOS ได้ส่งผลดีกับการดูแลระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้ในปัจจุบันมีการนำสารอาหารเหล่านี้มาเป็นส่วนผสมในอาหารทดแทนสูตรครบถ้วนเพื่อช่วยให้ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ดูแลเรื่องอาหารและโภชนาการได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น ซึ่งต่างจากอาหารทางการแพทย์โดยทั่วไป ตรงที่กลุ่มคาร์โบไฮเดรตพิเศษนี้ช่วยให้การปล่อยน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดเป็นไปอย่างช้า ๆ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่พุ่งสูงขึ้นเร็วแม้จะเป็นเวลาหลังมื้ออาหาร

โปรตีนชนิดดี

อีกหนึ่งสารอาหารจำเป็นสำหรับผู้เป็นเบาหวาน เพราะโปรตีนจะช่วยกระตุ้นการหลั่งอินซูลิน จึงช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ทั้งนี้ควรเลือกโปรตีนจากแหล่งสารอาหารที่มีคุณภาพและหลากหลาย เช่น ไข่ไก่ อาหารทะเล เนื้อไก่ไม่ติดหนัง ถั่วหรือเมล็ดพืชที่ไม่เติมเกลือ ในปริมาณราว 140-200 กรัม/วัน 

วิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็น

นอกเหนือจากการรับประทานอาหารมื้อหลักให้ครบ 5 หมู่แบบสมดุล ยังมีการศึกษาพบว่า วิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดมีประโยชน์โดยตรงกับผู้เป็นเบาหวานโดยเฉพาะ จึงควรจัดการมื้ออาหารรวมถึงไลฟ์สไตล์ให้ได้รับวิตามินและแร่ธาตุต่อไปนี้ครบถ้วนและสม่ำเสมอ 

  • วิตามิน B12 เป็นวิตามินที่แนะนำโดยทั่วไปสำหรับผู้เป็นเบาหวาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ทานยาเมตฟอร์มิน (ยาสำหรับโรคเบาหวาน) ในปริมาณสูงเพื่อควบคุมเบาหวานชนิดที่ 2 เนื่องจาก การใช้ยาเมตฟอร์มินมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาการขาดวิตามินบี 12 ในผู้เป็นเบาหวานจำนวนมาก1

การขาดวิตามิน B12 อาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ภาวะโลหิตจาง ปลายประสาทอักเสบ และภาวะถดถอยทางสมอง1 ก่อนรับวิตามิน B12 เสริม ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจเช็กว่ามีอาการของการขาดวิตามิน B12 หรือไม่

  • วิตามิน D หรือที่รู้จักกันดีในนาม “วิตามินแห่งแสงแดด” เชื่อกันว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างการขาดวิตามิน D และเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งในขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาวิจัย2,3 การขาดวิตามิน D เป็นสิ่งที่ขัดขวางการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด4 การรับประทานอาหารเสริมจึงมีส่วนช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดีขึ้น5

วิตามิน D มีประโยชน์ต่อผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เนื่องจากมีส่วนช่วยให้ฮอร์โมนอินซูลินในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น การลำเลียงกลูโคสไปยังส่วนต่าง ๆ ทำได้ตามปกติ และส่งผลโดยอ้อมกับการหลั่งฮอร์โมนอินซูลินโดยผ่านแคลเซียม6 วิตามิน D ยังมีส่วนสนับสนุนการทำงานตามปกติของระบบภูมิคุ้มกัน9 ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะขาดวิตามิน D มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน ซึ่งรวมถึงความเสียหายต่อระบบประสาทและดวงตา8

วิตามิน D พบมากใน เนื้อแดง ไข่แดง และปลาที่มีน้ำมัน เช่น ปลาแซลมอนและปลาซาร์ดีน 

  • สังกะสี แร่ธาตุสำคัญที่มีอยู่ในเซลล์ทุกเซลล์ของร่างกายมนุษย์ และมีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกาย การรับสังกะสีในปริมาณที่สูงขึ้นมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ เพราะจะเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องฮอร์โมนอินซูลินและเซลล์จากการถูกโจมตีโดยอนุมูลอิสระ (อะตอมไม่เสถียรที่ทำลายเซลล์) และยังมีส่วนช่วยในการทำงานตามปกติของระบบภูมิคุ้มกัน9

ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถผลิตหรือเก็บสังกะสีได้เองตามธรรมชาติ ผู้เป็นเบาหวานมักจะมีระดับสังกะสีในเลือดต่ำกว่าผู้ไม่เป็น10,11,12 นอกจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเฉพาะสำหรับผู้เป็นเบาหวานแล้ว สังกะสียังพบได้ในอาหาร เช่น ถั่วสีต่าง ๆ ถั่วเปลือกแข็ง รวมถึงอาหารทะเล เช่น ปูและล็อบสเตอร์

  • โครเมียม แร่ธาตุที่พบได้ในแหล่งอาหารทั่วไป ไม่ว่าจะเป็น ไข่แดง กาแฟ ถั่วเปลือกแข็ง ถั่วเขียว และบร็อคโคลี ผู้เป็นเบาหวานมักจะมีระดับโครเมียมในเลือดต่ำกว่าผู้ไม่เป็น10,11,12

โครเมียมมีส่วนช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ13 การใช้โครเมียมในระยะยาวยังช่วยลดโอกาสในการเกิดอาการของโรคเบาหวานได้ เช่น อาการเหนื่อยอ่อนแรง กระหายน้ำ และปัสสาวะบ่อยในผู้เป็นเบาหวาน14

กล่าวโดยสรุป คือ การเลือกรับประทานอาหารสำหรับผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อให้ร่างกายได้สารอาหารที่เหมาะสม สมดุล และสอดคล้องกับการรักษาอาการตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยให้การรักษาระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมและคงที่ ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้เป็นเบาหวาน รวมทั้งลดความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจตามมาได้เช่นเดียวกัน

Meal Plan E-Book พร้อมให้ดาวน์โหลด คลิกเลย

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

  1. Trumbo P, Schlicker S, Yates AA, Poos M, Food, Nutrition Board of the Institute of Medicine TNA. Dietary reference intakes for energy, carbohydrate, fiber, fat, fatty acids, cholesterol, protein and amino acids. J Am Diet Assoc. 2002;102(11):1621-30.
  2. Zafar MI, Mills KE, Zheng J, Regmi A, Hu SQ, Gou L, Chen LL. Low-glycemic index diets as an intervention for diabetes: a systematic review and meta-analysis. The American journal of clinical nutrition. 2019 Oct 1;110(4):891-902.
  3. American Diabetes Association. Diabetes Care. 2021;43(Suppl 1):S53-S72. doi:10.2337/dc21-S005
  4. U.S. Department of Agriculture.Sucromalt. https://www.ars.usda.gov/is/br/sucromalt/sucromalt.pdf.
  5. Dammann KW et al. Nutr Neurosci.2013, 16(2):83-95. 4. Bornet FRJ. Advanced dietary fibre technology 2001,ch41,480-93.
  6. Voss AC et al. Nutrition 2008, 24:990-997.
  7. Devitt A et al. J Diabetes Res Clin Metab 2012,1:20.
  8. Mottalib A et al. Nutrients 2016,8,443. 8. Dávila LA et al. Nutrients 2019,11,1477. 
  9. Sun J et al. Asia Pac J Clin Nutr 2008,17,514-524.
  10. Ten Bruggencate SJM et al. J Nutr 2006,136,7-74.
  11. Ye Z et al. Nutr Res 2015, 393-400. 12 Tatti P et al.Mediterr J Nutr Mettab 2010,3,65-69.
  12. Chee WSS, et al. BMJ Open Diab Res Care 2017;5:e000384.
  13. The Look AHEAD Research Group. Diabetes Care 2007.30;6:1374-1383. 15. Suh S et al. Diabetes Metab J 2015; 39:273-282.

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/01/2022

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาหารคนเป็นเบาหวาน มีอะไรบ้าง

สถิติเบาหวานในประเทศไทย ปัจจัยเสี่ยงและวิธีป้องกันเบาหวานที่ควรรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 18/01/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา