backup og meta

เบาหวานในวัยเด็ก ปัจจัยเสี่ยง และการป้องกัน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์ · โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 28/02/2023

    เบาหวานในวัยเด็ก ปัจจัยเสี่ยง และการป้องกัน

    เบาหวานในวัยเด็ก เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มักเกิดขึ้นในเด็กที่มีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน ส่งผลให้ร่างกายมีภาวะดื้ออินซูลิน จึงทำให้ร่างกายมีการจัดการกับน้ำตาลบกพร่อง และมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงตามมา ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาว ดังนั้น การได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงและวิธีการดูเเลเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน จะช่วยให้สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเเทรกซ้อนต่อสุขภาพในระยะยาวได้

    ทำความรู้จัก โรคเบาหวานในวัยเด็ก

    ในปัจจุบันได้มีเด็กและวัยรุ่นจำนวนไม่น้อยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยสาเหตุส่วนใหญ่มักเกิดจากภาวะความอ้วน ซึ่งส่งผลทำให้ร่างกายเกิดภาวะดื้ออินซูลิน หากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม หรือ ปล่อยให้มีระดับนำ้ตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงจากโรคเบาหวานได้ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต เบาหวานขึ้นตา เเละ เส้นประสาทเสื่อมจากเบาหวาน ทั้งนี้หากลูก/หลานของท่านเป็นเบาหวาน ควรรีบไปพบเเพทย์เพื่อรับกรรักษาเเละควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ตามเป้าหมาย เพื่อให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีในระยะยาว 

    ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลให้เด็กเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

    ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค เบาหวานในวัยเด็ก มีดังต่อไปนี้

    • น้ำหนักเกิน เด็กที่มีน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือ เป็นโรคอ้วน นับเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เนื่องจากทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้เซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินบกพร่อง จนนำไปสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในที่สุด
    • ปัจจัยทางพันธุกรรม หากสมาชิกในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นโรคเบาหวาน จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้
    • น้ำหนักแรกคลอด เด็กที่มีนำ้หนักเเรกคลอดมากกว่า 4 กิโลกรัม มีโอกสเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานมากขึ้นและ
    • มารดามีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เด็กที่มีคุณเเม่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ จะมีความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เมื่อเติบโตสูงกว่าเด็กทั่วไป

    การป้องกันโรคเบาหวานในวัยเด็ก

    หากผู้ปกครองมีลูก/หลานที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เเนะนำให้ให้ความสำคัญกับโภชนาการอาหารเป็นพิเศษ รวมถึงการปรับพฤติกรรมสุขภาพในชีวิตประจำวัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยอาจมีเเนวทางเบื้องต้นดังต่อไปนี้

    • เน้นเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ปรับพฤติกรรมการทานรับประทานอาหาร โดยหลีกเลี่ยงอาหารที่มีแป้งเเละไขมันสูง เลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันและแคลอรี่ต่ำ เน้นรับประทานผัก ผลไม้ ธัญพืช โปรตีนที่ไม่ติดมัน เป็นต้น
    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กระตุ้นให้ลูก/หลานหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำหรือหากิจกรรมทำร่วมกัน เพราะการออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงบุรัสกร ทวีบูรณ์

    โรคเบาหวาน · SRK BMI Center


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 28/02/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา