หนูมีจุดขาวๆ เหมือนหัวสิว ที่หัวนม ไปอ่านมาก็เจอข้อมูลว่าเป็นไวท์ดอท แต่จะเกิดกับคนที่ให้นมบุตร แต่หนูไม่ได้ท้องนะคะ ไม่เคยมีลูกมาก่อน เกิดจากอะไรไ
... ดูเพิ่ิ่มเติมแชร์ประสบการณ์ วิธีดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์
โพสไหนที่โดนใจ Hello คุณหมอ ที่สุด และได้หัวใจ หรือคอมเมนต์มากที่สุด ลุ้นรับบัตร Lotus’s 500 บาท จำนวน 3 รางวัล จาก Hello คุณหมอ
5 ความเห็น
ล่าสุด
ทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ตัวเราเองนั้นได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่ ไม่ควรทำกิจกรรมที่ใช้แรงเยอะจนเกินไป ทั้งการยกของหนักสิ่งนี้ไม่ควรทำเลยค่ะ จะส่งผลต่อเด็กในครรภ์มาก ๆ พักผ่อนให้เต็มที่ และที่สำคัญควรระมัดระวังตัวเองมากขึ้นในการเคลื่อนไหวร่างกายค่ะสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่เราควรดูแลตัวเองในช่วงตั้งครรภ์คือการดูแลสภาพจิตใจตัวเองค่ะอย่าเครียดจนเกินไป และพยายามอย่าทำให้ตัวเราเองนั้นมีความรู้สึกดาวน์ค่ะ เพราะจะทำให้เกิดการเป็นโรคซึมเศร้า สิ่งนี้ควรระมัดระวังมาก ๆ เพราะจะส่งผลให้กับเด็กที่อยู่ในครรภ์ยิ่งถ้าหากเป็นซึมเศร้าในช่วงที่ตั้งครรภ์ยาแต่ละชนิดที่รักษาซึมเศร้านี้ค่อนข้างจะส่งผลต่อตัวเองเเละตัวของลูกในครรภ์มาก ๆ ค่ะ ดังนั้นการดูแลสุขภาพจิตจึงเป็นเรื่องหนึ่งที่สำคัญมาก ๆ ในการตั้งครรภ์ค่ะ
การดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์ต้องเตรียมพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ ด้านร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทุกเดือน (เหมือนลูกน้อยในครรภ์ที่เติบโตและมีพัฒนาการสร้างอวัยวะทุกส่วน) ต้องควบคุมอาหารให้เหมาะสมและพอดี มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาตอนท้องแก่เช่น ครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น ตอนท้อง 3 เดือน ดิฉันทานอร่อยไม่ค่อยได้ มันเหม็นไปทุกอย่าง กลัวทั้งแสงแดดและแสงไฟในบ้าน ต้องสวมแว่นกันแดดในบ้านด้วยค่ะ น้ำหนักตัวเท่าเดิมตลอด 3 เดือน พอเดือนที่ 4 อาการแพ้น้อยลงเริ่มกินได้ กินมากขึ้น น้ำหนักเริ่มมากขึ้น จนเดือนที่ 7 ย่างเดือนที่ 8 น้ำหนักขึ้นสัปดาห์ละ 2 กิโลกรัม และมีอาการครรภ์เป็นพิษ คุณหมอให้นอนอย่างเดียว ห้ามกินแป้งและน้ำตาล และให้คอยนับว่าลูกดิ้นวันละกี่ครั้ง ตอนนั้นค่อนข้างกังวลมากค่ะ นอกจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายแล้วทางด้านจิตใจก็สาหัสยิ่งกว่า เพราะฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงมาก ทำให้อารมณ์มีทั้งเศร้าน้อยใจ ร้องไห้ หงุดหงิด และอื่นๆที่อธิบายไม่ได้ แต่ด้วยความเอาใจใส่และความใจเย็นของสามีทำให้สามารถผ่านพ้นช่วงเวลานั้นมาได้ค่ะ ประสบการณ์การตั้งครรภ์ครั้งแรกนี้ทำให้รู้ว่าคนที่เป็นแม่ต้องเข้มแข็งและอดทนจริงๆค่ะ
การดูแลตัวเองขณะตั้งครรภ์ต้องเตรียมพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจค่ะ ด้านร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างทุกเดือน ( ้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้้เหมือนลูกน้อยในครรภ์ที่เติบโตและมีพัฒนาการสร้างอวัยวะทุกส่วน) ต้องควบคุมอาหารให้เหมาะสมและพอดี มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาตอนท้องแก่ เช่น ครรภ์เป็นพิษ เป็นต้น ดิฉันตอนท้อง 3 เดือน ทานอะไรไม่ค่อยได้ มันเหม็นไปทุกอย่าง กลัวทั้งแสงแดดและแสงไฟในบ้าน จะสวมแว่นกันแดดในบ้านด้วยค่ะ น้ำหนักตัวเท่าเดิมตลอด 3 เดือน พอเดือนที่ 4 อาการแพ้น้อยลง เริ่มกินได้ กินมากขึ้น น้ำหนักเริ่มมากขึ้น จนเดือนที่ 7-8 กินเก่ง กินทุกอย่างจนแน่นท้อง ไม่สบายตัว ช่วงเทศกาลไหว้พระจันทร์ จะกินวันละ 2 ลูกจนคุณหมอต้องห้าม และในที่สุดมีอาการครรภ์เป็นพิษ คือ ความดันสูง น้ำหนักขึ้นสัปดาห์ละ 2 ก.ก. คุณหมอกลัวว่าเด็กจะไม่ดิ้นและ ขอให้หยุดงาน 2 สัปดาห์ ให้นอนพักผ่อนอย่างเดียวและงดคาร์โบไฮเดรตทุกอย่าง ให้กินโปรตีนเท่านั้น และต้องนับทุกวันว่าเด็กดิ้นกี่ครั้ง มันเป็นเรื่องซีเรียสมากๆกับท้องแรก นอกจากต้องดูแลด้านร่างกายแล้ว ด้านจิตใจยิ่งหนักหนากว่าอีก เพราะฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง เราไม่สามารถควบคุมได้ เดี๋ยวเศร้า, ขี้น้อยใจ, เครียดกังวลไปทุกเรื่อง, คิดมาก, นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท เป็นต้น กว่าจะผ่านวิกฤตด้านอารมณ์จิตใจ ต้องร้องไห้และเสียใจแบบไม่มีเหตุผลสักเท่าไรไปหลายเดือนค่ะ โชคดีที่สามีเข้าใจและช่วยปลอบโยนตลอด คนเป็นแม่ทั้งแกร่งและเข้มแข็ง อดทน เพื่อลูกและครอบครัวได้เสมอค่ะ
ทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนมากๆ ดีที่เราไม่ได้ทำงานนอก บ้าน ไปฝากท้องทันทีที่รู้ว่าตั้งครรถ์ หมอจะให้แก้แพ้มาทาน ทานยาและวิตามินตามหมอสั่ง ช่วงตั้งครรถ์สามเดือนแรก อย่ายกของและทำงานหนัก ใกล้ๆคลอดนอนลำบากให้นอนตะแคง และหาหมอนนุ่มหนุนหลังช่วยได้ค่ะ
9 เดือนของการตั้งครรภ์ต้องเจอกับความเปลี่ยนแปลงมากมายเลยทีเดียว เราทำการบ้านมีข้อมูลที่ถูกต้อง มีการเตรียมตัวที่ดี ก็ทำให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะมาถึงในไม่ช้าได้อย่างมีความสุข หาข้อมูล อ่านหนังสือ ทำการบ้าน จากแหล่งความรู้หลายต่อหลายแห่ง ที่ได้นำมาปรับใช้กับชีวิตจริง
- ฝากครรภ์ทันทีตรวจสุขภาพของตัวเอง และทารกในครรภ์ว่ามีความปกติดีหรือไม่ ทำให้เราได้รับแนะนำวิธีดูแลครรภ์ รับวิตามินบำรุง -ทานสารอาหารที่มีประโยชน์ ผัก ปลา นม ผลไม้ไม่ทานของมัน และของดอง
-คุมน้ำหนักให้พอดี
-ใช้ชีวิตให้ถูกสุขลักษณะ การรักษาความสะอาดร่างกาย ดูแลสุขภาพปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ แต่งกายต้องปรับให้เหมาะสม ไม่แน่น หรืออึดอัดเกินไป อีกทั้งรองเท้าควรเลี่ยงรองเท้าส้นสูงที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ หรือรองเท้าที่แน่นเกินไปจะทำให้เท้าและขาบวมพักผ่อนให้เพียงพอ -ออกกำลังกายอย่างพอดี เราปรึกษาหมอก่อนให้หมอแนะนำว่าออกกำลังให้เหมาะสมแต่ละไตรมาส -ดูแลจิตใจให้ผ่องใส ไม่วิตกกังวล เราพยายามอารมณ์ดีเข้าไว้ เพื่อให้ทารกในครรภ์มีสุขภาพที่ดี แข็งแรง มีพัฒนาการที่ดี