สอนการบ้านทีไร ให้เขียน ให้สะกดคำ ไม่ยอมเขียน ไม่ยอมทำเลยคะ บอกเเค่ว่าทำไม่เป็น ทำไม่ได้ ก็นั่งร้องไห้ แล้วก็ไม่ยอมทำด้วยนะคะ บอกให้เขียนตามที่เรา
... ดูเพิ่ิ่มเติม“จะทำอย่างไรเมื่อลูก ติด มือถือ หรือ แทปเล็ต”
ร่วมตอบคำถามลุ้นรางวัลในหัวข้อ
“จะทำอย่างไรเมื่อลูก ติด มือถือ หรือ แทปเล็ต”
ผู้ที่ตอบคำถามได้โดนใจ และได้รับหัวใจและคอมเมนต์มากที่สุด ลุ้นรับรางวัลบัตร Lotus’s มูลค่า 300 บาท ฟรี จำนวน 3 รางวัล จาก Hello คุณหมอ
12 ความเห็น
ล่าสุด
หากืจกรรมที่สร้างสรรค์ให้ลูกทำ เช่นการปลูกต้นไม้ การวาดภาพ หรือหาของเล่นเสริมทักษะให้ลูกค่ะ สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในการที่จะให้ลูกเลิกเล่นโทรศัพท์ค่ะ คือ การให้ความรัก ความอบอุ่นกับเขาเสมอค่ะ เพราะการที่ลูกติดโทรศัพท์นั้นส่วนหนึ่งก็มาจากพ่อแม่นี่แหละค่ะที่ไม่ได้ใส่ใจและให้เวลากับลูกมานัก ทำให้ลูกนั้นเล่นโทรศัพท์เพราะเค้าคิดว่าสิ่งนี้คือเพื่อนของเขาค่ะ ดังนั้นพ่อแม่ควรที่จะให้เวลากับลูกด้วยค่ะ ทำกืจกรรมร่วมกันอยากปิดกรอบความคิดเด็กจนเกินไป อย่าแค่คิดแค่เพียงว่าให้เล่นโทรศัพท์เดี๋ยวเด็กก็หายร้อง และอีกหนึ่งอย่างที่สำคัญคือให้เด็กได้ไปเล่นกับเพื่อนค่ะ อย่าปืดกั้นเด็กในการเล่นกับเพื่อนของเขาค่ะ
สำหรัผมแล้วจะใช้การพูดคุยที่มีเหตุผลชี้ถึงข้อเสที่ลูกติดเกมส์ให้เขาฟังและยกตัวอย่างเช่นติดเกมส์แล้วจะเสียการเรียนเสียเวลาเสียสายตาและจะมีเวลาให้กับครอบครับน้อยลง และชักชวนให้เขาหันมาใช้เวลาว่างมาทำกิจกรรมในบ้านมากขึ้นเช่นการปลูกต้นไม้รดน้ำต้นไม้ให้อาหารปลาในบ่อและอื่นๆครับเพื่อให้เขาอยู่ห่างจากโทรศัพท์มือถือ
ต้องชวนลูกออกนอกบ้านไปทำกิจกรรมต่างๆเช่น เล่นกีฬาค่ะ เพราะเป็นกิจกรรมที่ได้วางมือถือจริงๆและเราร่วมเล่นกับลูกได้ ลูกไม่เบื่อ ได้สุขภาพที่แขด้วยค่ะ
ส่วนตัวคิดว่าเป็นเรื่องปกติเพราะนี่เป็นยุคของเทคโนโลยีและดิจิตอล เด็กยุคนี้โตมากับอุปกรณ์สื่อสารต้องเรียนรู้และใช้เป็น แต่พฤติกรรมการติดมือถือแบบจ้องดูการ์ตูนตลอดทั้งวัน เธอเป็นพฤติกรรมที่ต้องแก้ไขและจัดระเบียบ เพื่อไม่ให้กระทบต่อสุขภาพด้านสายตาและวินัยส่วนตัวของเด็ก ที่บ้านจะให้ลูกดูการ์ตูนหรือรายการทีวีจากแท็บเล็ตหรือ desktop PC โดยจัดมุมไอทีให้โดยเฉพาะ และและอนุญาตให้วันละ 1 ชั่วโมง ที่มุมไอทีนี้มีฉากกั้นเพื่อความเป็นส่วนตัว ลูกจะได้สบายใจไม่โดนพ่อแม่สอดส่อง พอครบ 1 ชั่วโมงเขาจะปิดเครื่องและอุปกรณ์ต่างๆเอง เป็นเช่นนี้จนเป็นนิสัยและมีวินัยรู้เวลา พ่อแม่ก็สบายใจแฮปปี้ทุกคนค่ะ
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือต้นแบบ ต้นแบบที่ดีคือ ตัวคุณพ่อคุณแม่เอง ถ้าคุณพ่อคุณแม่ใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ คือใช้เวลาคุณภาพกับลูกและควบคุมการใช้สื่ออย่างมีเวลาเหมือนกัน ถ้าเกิดลูกบอกมาว่าพ่อแม่อยากให้ใช้แค่ 1 ชั่วโมง อยากให้เขาใช้ 1 ชั่วโมง พ่อแม่ก็ต้อง 1 ชั่วโมง เราอาจจะมีเหตุผลบอกว่าพ่อแม่ทำงาน แต่ตัวพ่อแม่เองก็ต้องแบ่งเวลา เช่น เวลานี้กลับบ้าน อยู่ด้วยกัน กินข้าวร่วมกัน ก็ไม่ควรจะอยู่ติดกับจอ เพราะฉะนั้นเราก็จะได้แต่บอกโดยที่เรา ไม่ได้ทำพฤติกรรมนั้นให้ลูกเห็น ก็อาจจะยากต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลูก
ถ้าเป็นเหตุซึ่งหน้าก็เบี่ยงเบนความสนใจจากหน้าจอด้วยการพาออกจากจุดๆนั้น เปลี่ยนที่ไปทำกิจกรรมอื่นด้วยกัน เช่นขอให้ช่วยแม่เตรียมอาหารล้างผัก ผลไม้ ถ้าโตพอใช้มีดได้ก็ให้ช่วยเตรียมหั่นผักผลไม้ด้วย หรือช่วยแม่ทานบ้านอื่นๆที่เด็กพอทำได้ค่ะ พยายามหากิจกรรมทำด้วยกันเด็กจะได้ไม่เบื่อค่ะ😍😍 และมีข้อตกลงในการใช้มือถือ แทบเลต คอมพ์ร่วมกัน จะได้สบายใจกันทั้งครอบครัว
หากิจกรรมอื่นให้ลูกทำบ้างเช่นพาไปเที่ยวสถานที่มีกิจกรรมสันทนาการหรือให้ลูกช่วยงานบ้านง่ายๆแล้วมีรางวัลให้ลูกค่ะ
หาสิ่งที่ลูกสนใจ มาพูดคุยเบี่ยงความสนใจจากมือถือไปก่อน แล้วค่อยๆ หากิจกรรมอื่นที่ใช้เวลาไม่นานทำด้วยกัน อาจมีแบบทดสอบท้ายกิจกรรม และให้รางวัลเมื่อจบกิจกรรมหรือลูกตอบปัญหา แก้ปัญหาได้ แลละต่อไปค่อยหากิจกรรมที่มีระยะเวลายาวขึ้น เล่นแบบเพลินๆ ไปค่ะ
ทำกิจกรรมร่วมกับลูกบ่อยๆ เช้นปลูกต้นไม้ พาไปว่ายน้ำ อ่านหนังสือให้ฟัง ซื้อเรโกให้ต่อด้วยกัน เป็นต้น แต่ตัวเราจะไม่เล่นมือถือ เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับลูก และสอนการใช้โทรศัพท์ที่จำเป็นกับลูกแทน แต่จะมีการแบ่งเวลาให้ลูกดูการตูนจากมือถือ โดยกำหนดเวลาให้ เพื่อหัดให้เขาเคยชิน แต่ทุกครั้งที่สอนลูกเราจะอธิบายเหตุผลใก้ลูกเข้าใจด้วยเสมอค่ะ
1.กำหนดกติการ่วมกันในการใช้เวลากับมือถือหรือแทปเล็ต
2.หากิจกรรมอื่นๆ ทำร่วมกันเพื่อไม่ให้เค้ามีเวลามากจนนึกถึงแต่มือถือหรือแทปเล็ต
3.อธิบายถึงโทษของการติดมือถือหรือแทปเล็ตที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ เพื่อให้เค้าตระหนักและรักษาสมดุลในการใช้งานครับ