backup og meta

ทารกและเด็กเล็ก เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มากแค่ไหน?

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 24/05/2021

    ทารกและเด็กเล็ก เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มากแค่ไหน?

    ด้วยสถานการณ์ของโรคโควิด-19 (COVID-19) ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ ทำให้หลายคนทั่วโลกเกิดความวิตกกังวล โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีทารกและเด็กเล็ก ผู้ปกครองมากอาจมีความกังวลยิ่งกว่า แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า ทารกและเด็กเล็ก เสี่ยงต่อการ ติดโควิด 19 มากน้อยเพียงใด วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบของคำถาม พร้อมกับวิธีรับมือหากลูกของคุณติดเชื้อไวรัสโควิด-19 มาฝากทุกคนค่ะ

    ทารกและเด็กเล็ก เสี่ยงต่อการ ติดโควิด 19 มากแค่ไหน?

    ความเสี่ยงต่อการติด เชื้อไวรัสโควิด-19 ในทารกและเด็กพบว่า มีความเสี่ยงน้อยมากเมื่อเทียบกับในวัยผู้ใหญ่ เนื่องจากทารกและเด็กไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหลัก ส่วนใหญ่มักได้รับเชื้อมาจากสมาชิกในครอบครัว และหากได้รับ เชื้อโควิด-19 ก็มักจะมีอาการรุนแรงน้อยกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเด็กสามารถปรับตัวต่อเชื้อไวรัสได้ ยกเว้นในเด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต รวมถึงเด็กที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ

    อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันเรายังไม่มีวิธีการรักษาโรคที่อุบัติขึ้นมาใหม่อย่างแน่ชัด ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรใส่ใจดูแลลูกอย่างใกล้ชิด สังเกตอาการลูกว่ามีอาการเข้าข่ายต่อการติด เชื้อโควิด-19 หรือไม่ โดยสังเกตจากอาการดังต่อไปนี้ มีไข้สูง อาการไอ หายใจไม่ออก ท้องเสีย เป็นต้น  หากพบว่ามีอาการดังกล่าวข้างต้นนี้ ควรรีบพาไปโรงพยาบาลเพื่อรับการวินิจฉัยโรค และรับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที

    วิธีดูแลลูกรัก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

    วิธีที่ดีที่สุดในการลดความเสี่ยงเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของ เชื้อโควิด-19 คือการอยู่บ้านหรือใช้หลักการที่เรียกว่าเว้นระยะห่างจากสังคม (Social-Distancing)  รวมถึงวิธีการป้องกันอื่น ๆ ดังนี้

    • ล้างมือบ่อย ๆ คุณพ่อคุณแม่ต้องฝึกสุขอนามัยที่ดีให้กับลูก ๆ เริ่มจากการสอนให้รู้จักล้างมือทุกครั้งหลังจากหยิบจับสิ่งของต่าง ๆ โดยการล้างมืออย่างถูกสุขลักษณะอนามัย คือการล้างมืออย่างน้อย 20 วินาทีด้วยสบู่และน้ำ หรือหากอยู่ข้างนอก ควรใช้เจลทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์อย่างน้อย 70% หลังจากการสัมผัสสิ่งของหรือพื้นผิวต่าง ๆ
    • หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า จมูก ปาก โดยเฉพาะเมื่อลูกมีอาการ ไอ จาม ให้ใช้ทิชชูปิดทุกครั้ง ห้ามใช้มือในการปิดจมูก ปาก โดยตรง
    • ทำความสะอาดบ้านเป็นประจำ ทำความสะอาดฆ่าเชื้อพื้นผิวสัมผัสต่าง ๆ ภายในบ้าน เช่น พื้นในห้องน้ำ อ่างล้างมือ ประตูลูกบิด รวมถึงรีโมทโทรทัศน์ สมาร์ทโฟน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคได้

    รับมืออย่างไร หากลูกของคุณติดเชื้อไวรัสโควิด-19

    หากลูกของคุณมีอาการเข้าข่ายว่าจะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ให้รีบพาลูกไปสถานพยาบาลที่ให้บริการวินิจฉัยตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ในทันที และในกรณีที่ลูกของคุณติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เนื่องจากยังไม่มีวิธีการรักษาที่ระบุได้แน่ชัด แพทย์อาจจะแนะนำให้รับประทานยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่มีสเตียรอยด์ที่เป็นกลุ่มยาที่ใช้บรรเทาอาการปวด (Nonsteroidal anti-inflammatory drug : NSAIDs) เช่น แอสไพริน (Aspirin) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen)

    นอกจากนี้ยังมีข้อควรปฏิบัติที่สามารถป้องกันสมาชิกในครอบครัวหากลูกของคุณเข้าข่ายต่อการติด เชื้อโควิด-19 ดังนี้

    • แยกตัวจากผู้อื่น ควรจัดห้องและห้องน้ำเฉพาะไว้ให้สำหรับลูกของคุณ ให้ลูกของคุณหลีกเลี่ยงการอยู่กับสมาชิกในครอบครัว
    • ทำความสะอาดบ้านบ่อย ๆ คุณควรทำความสะอาดภายในบ้านเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค โดยเฉพาะในบริเวณที่ลูกของคุณกักตัวอยู่ในห้อง
    • ติดตามอาการลูกอย่างใกล้ชิด โทรหาแพทย์ทันทีหากพบว่าลูกของคุณเริ่มมีอาการรุนแรง เช่น เจ็บหน้าอก หายใจไม่ออก เป็นต้น

    ถึงแม้ว่าเด็กจะมีความเสี่ยงน้อยต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เนื่องจากเด็กมีภูมิคุ้มกันต้านทานที่ดีกว่าผู้ใหญ่ แต่เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคอุบัติใหม่ยังไม่วิธีการรักษาหรือข้อบ่งชี้ที่แน่ชัด ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ยังควรใส่ใจดูแลลูกอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ปลอดภัย ห่างไกลจากโรคโควิด-19

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 24/05/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา