backup og meta

ผลการทดลองชี้! ยา เรมเดซิเวียร์ อาจนำมารักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 20/05/2021

    ผลการทดลองชี้! ยา เรมเดซิเวียร์ อาจนำมารักษาผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้

    สำหรับการรักษาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Coronavirus 2019) หรือ โควิด-19 (COVID-19) ในปัจจุบันยังไม่มียารักษาให้หายขาดเป็นทางการ เพราะขึ้นอยู่ที่ภูมิคุ้มกัน และร่างกายของผู้ป่วยแต่ละคนด้วย ว่าจะมีการต่อต้านเชื้อไวรัสชนิดนี้มากน้อยแค่ไหน ล่าสุด ทางองค์การอาหาร และยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ออกมารายงานว่า อาจอนุญาตให้ใช้ยา เรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) ในการรักษาผู้ติดเชื้อไวรัส

    เนื่องจาก นักวิทยาศาสตร์ ทีมวิจัย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลก ได้คอยวิเคราะห์ และประเมินผลมาตามระยะเวลาพอสมควร ซึ่งผลถูกชี้ไปในเชิงบวกเสียส่วนใหญ่ ถึงอย่างไรก็ยังคงจำเป็นที่ต้องคอยเฝ้าดูในระยะยาว พร้อมร่วมมือกันคิดค้นหายารักษา วัคซีนป้องกันต่อไปในอนาคต

    จากการทดลองของทางคลินิกแห่งหนึ่ง และโรงพยาบาลฮูสตันเมธอดิสต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ร่วมเข้าทดลอง โดยนำไปทดสอบกับผู้ป่วยที่มีเชื้อ COVID-19 ที่มีอาการเจ็บป่วยในระดับปานกลาง และทำการให้ยาเรมเดซิเวียร์ต่อผู้ป่วยประมาณ 5-10 วัน ตามแต่อาการ

    ผลการทดสอบพบว่า ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมีร่างกายตอบสนองต่อยา และฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว จนในที่สุดถูกปล่อยตัวออกจากโรงพยาบาล ซึ่งถือได้ว่าเป็นข่าวที่ดีอย่างมากเลยทีเดียว

    การรักษาโควิด-19 โดยใช้ยา เรมเดซิเวียร์ (Remdesivir)

    แต่เดิมยา เรมเดซิเวียร์ ถูกนำมารักษาไวรัสอีโบลา (Ebola virus) และถูกพัฒนานำมารักษาต่อในไวรัสซาร์ส (Severe acute respiratory syndrome: SARS) ที่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง และ เมอร์ส (Middle East Respiratory Syndrome : MERS) ที่อยู่ในกลุ่มอาการของโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง นับได้ว่าโรคที่กล่าวมานั้น อยู่ในตระกูลเดียวกับโควิด-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ ณ ตอนนี้

    ทางองค์การอาหาร และยายังออกมากล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ขณะนี้ทางองค์กรฯ อยู่ในระหว่างดำเนินการหารือเจรจากับ บริษัท กีเลียด ไซแอนเซส (Gilead Sciences) ที่มีความเชื่อว่าตัวยาเรมเดซิเวียร์ในการนำมารักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้ และเป็นบริษัทที่ทำการทดลองอยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมมือกันลดอัตราผู้ติดเชื้อ จำเป็นต้องมีการใช้ระยะเวลาในพัฒนาตัวยาอีกครั้ง ให้มีประสิทธิภาพที่แน่ชัด และลดผลข้างเคียงให้ได้มากที่สุด ก่อนถูกมาใช้รักษาผู้ติดเชื้อต่อไป

    อย่างไรก็ตาม ในเมื่อยังไม่มียารักษาใด ๆ ที่จะสามารถเข้ามาช่วยเหลือได้ ดังนั้นเราจึงจำเป็นที่ต้องเรียนรู้ การป้องกันตนเองเบื้องต้น อย่างการล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งเป็นเวลา 20 วินาที หลังจากสัมผัสกับวัตถุภายนอก รวมทั้งก่อนรับประทานอาหาร

    หรืออาจทดแทนด้วยการใช้เจลล้างมือที่มีส่วนประกอบของแอลกอฮอล์ตามมาตรฐานอย่างน้อย 75% ที่สำคัญในการออกไปข้างนอกพบปะผู้คนในสถานที่แออัด โปรดใส่หน้ากากอนามัยที่ทางการแพทย์ได้ให้ข้อมูลแนะนำ เพื่อป้องกันสารคัดหลั่ง เช่น ละอองน้ำลายจากการไอ น้ำมูกจากการจาม

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 20/05/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา