backup og meta

กรมวิทยาศาสตร์บริการ แนะวิธี ถนอมอาหาร ยืดอายุอาหารสดในยุคโควิด-19

กรมวิทยาศาสตร์บริการ แนะวิธี ถนอมอาหาร ยืดอายุอาหารสดในยุคโควิด-19

ตราบใดที่เรายังต้องเผชิญวิกฤตของเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19) เราจึงจำเป็นที่หลีกเลี่ยงการออกไปรับเชื้อ หรือสัมผัสกับเชื้อไวรัสจากนอกบ้านอย่างเคร่งครัด ยกเว้นแต่บางกรณี เช่น การเดินทางออกไปทำงาน การออกไปซื้อเครื่องอุปโภค บริโภค เป็นต้น ทั้งนี้สำหรับใครที่ต้องออกไปซื้อของสด เพื่อเป็นการกักตุนมิให้ตนเองออกไปข้างนอกบ่อยครั้ง บทความของ Hello คุณหมอ ขอนำความรู้เกี่ยวกับการ ถนอมอาหาร เบื้องต้นที่ทาง กรมวิทยาศาสตร์บริการ ออกมาเผยให้ประชาชนทุกคน ได้ทราบกันค่ะ

ถนอมอาหาร สด แสนง่าย ที่กรมวิทยาศาสตร์บริการชี้แนะ

เมื่อล่าสุดที่ผ่านมา กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงศึกษาอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ห่วงในความปลอดภัยต่อประชาชนทุกคนถึงการรักษาคุณภาพอาหาร ไร้สิ่งปนเปื้อนจากเชื้อรา ในช่วงการกักตัวอยู่บ้านจาก COVID-19 ซึ่งเป็นวิธีที่ง่าย และสามารถทำได้ด้วยตนเอง โดยไม่ผ่านขั้นตอนที่ยุ่งยากมากมาแนะนำ ดังนี้

ไข่สด

ไม่ควรนำไปล้างทำความสะอาดก่อน เพราะอาจทำให้เกิดการหล่นแตก หรือเกิดรูพรุนเล็ก ๆ จนอากาศหลุดลอดเข้าไปภายใน ทำให้ไข่เน่าเสีย ซึ่งปกติแล้วไข่ทุกประเภทจะมีโพรงอากาศด้านใน (มุมป้านของไข่) ยิ่งไข่มีอายุมากเท่าไหร่ โพรงอากาศก็จะยิ่งแคบตัวลง

ดังนั้นการแช่ไข่ใส่ในตู้เย็นที่ถูกต้อง เพื่อยืดอายุการใช้งานควรนำมุมแหลมของไข่ลง และพลิกมุมป้านของไข่ขึ้นมาแทน

เนื้อสัตว์

หั่นแบ่งในปริมาณที่พอดีสำหรับการทำอาหารแต่ละมื้อ และห่อด้วยพลาสติก หรือฟิล์มรักษาความสดของอาหารให้มิดชิดก่อนนำไปแช่ในช่องแช่แข็ง

เครื่องแกง

เมื่อคุณตำเครื่องแกงเกินปริมาณที่ต้องการ ให้แบ่งเป็นส่วน ๆ คล้าย เนื้อสัตว์ ใส่ลงในภาชนะที่ปิดมิดชิด จากนั้นนำลงไปแช่ในช่องแช่แข็งเช่นเดียวกัน

ผักสด

ควรเช็กพื้นผิวของผักเสียก่อน ว่ามีร่องรอยเน่าเสีย ช้ำ หรือไม่ ถ้าหากมีให้คุณตัดส่วนที่เน่าเสียออก แล้วนำผักไปล้างให้สะอาด จากนั้นให้แยกผักแต่ละชนิดใส่ลงในถุง ภาชนะที่ปิดมิดชิดก่อนนำไปในช่องผักของตู้เย็น

สำหรับผักบางชนิด เช่น กะเพรา โหระพา ผักชี ต้นหอม ผักสลัดอาจไม่จำเป็นต้องล้างน้ำ เพราะจะทำให้เกิดการเน่าเสียได้ไวขึ้น

เห็ดสด

ปกติแล้วเห็ดที่เรารับประทานค่อนข้างมีอายุการใช้งานในระยะเวลาสั้น หากคุณต้องการยืดอายุแล้วละก็ ควรนำเห็ดไปลวกแค่พอสุกก่อนนำไปแช่แข็ง อาจช่วยรักษาคุณภาพไว้ได้อีกประมาณ 1-2 วัน

หอม และกระเทียม

โปรดเก็บไว้ในถุงตาข่าย หรือตะกร้าที่มีการระบายอากาศได้ดี เพื่อป้องกันความชื้นจากเชื้อราที่เข้ามาเกาะกิน

ฟิล์มพลาสติกหุ้มอาหาร ที่นิยมใช้

ในการถนอมอาหาร โดยเฉพาะประเภทของอาหารสดที่เราทำการซื้อกักตุนเอาไว้ จำเป็นต้องมีการบรรจุลงภาชนะ หรือฟิล์มพลาสติกห่อหุ้มอาหารที่ดีมีคุณภาพ และอย่าลืมคำนึงหลักการใช้ของแต่ละประเภท เพราะส่วนประกอบของพลาสติกแต่ละชนิด ค่อนข้างมีคุณสมบัติแตกต่างกัน จึงทำให้นักวิทยาศาสตร์ จากกลุ่มงานพลาสติก กองวัสดุวิศวกรรม กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้ออกมาให้ข้อมูล ความรู้เพิ่มเติม ดังนี้

  • โพลีเอทิลีน (Polyethylene ; PE) มีคุณสมบัติในการให้ไอน้ำจากอุณหภูมิต่าง ๆ ซึมผ่านได้น้อย แต่สำหรับก๊าซสามารถซึมผ่านได้เป็นอย่างดี ซึ่งส่วนใหญ่มักนำพลาสติดประเภทนี้มารักษาความสดของผัก ผลไม้
  • โพลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl Chloride ; PVC) ใช้สำหรับการถนอมอาหารสด เช่น เนื้อสัตว์ เนื้อปลา เพราะมีคุณสมบัติในการยอมให้ไอน้ำ และออกซิเจนไหลผ่านได้อย่างเหมาะสม
  • โพลีไวนิลิดีนคลอไรด์ (Polyvinylidene Chloride ; PVDC) เป็นฟิล์มพลาสติกเสมือน PVC ข้างต้น แต่จะทนความร้อนได้มากกว่า ป้องกันการซึมผ่านของก๊าซ และไอน้ำ ซึ่งเป็นฟิล์มที่ช่วยรักษาอาการสดไว้ได้อย่างดี

อย่างไรก็ตามหากคุณกำลังเลือกซื้อฟิล์มรักษาสภาพอาหาร โปรดอ่านฉลากด้านข้างผลิตภัณฑ์ ถึงส่วนประกอบที่นำมาใช้ก่อนทุกครั้ง เพื่อให้เหมาะสมแก่การนำมาใช้ถนอมอาหารอย่างถูกประเภท

วิธีรักษาสุขอนามัย หากคุณต้องออกไปซื้ออาหารสด

ก่อนการเดินทางออกไปซื้ออาหาร หรือของเครื่องใช้ คุณควรวางแผนไว้ล่วงหน้าถึงสิ่งของจำเป็นที่ควรมีติดไว้ในบ้านเสียก่อน เพื่อเป็นการประหยัดเวลา และลดการอยู่ในพื้นที่ที่คนพลุกพล่าน นอกจากนั้นโปรดสวมใส่หน้ากากอนามัย ถุงมือยาง และพกเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ติดตัวอยู่เสมอ

ที่สำคัญสำหรับการเข้าคิวรอจ่ายเงิน-รอรับสินค้า ควรยืนให้ห่างจากคนด้านหน้าประมาณ 2  เมตร เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงในการรับเชื้อไวรัสที่เราไม่สามารถมองเห็นได้ และรีบชำระล้างทำความสะอาดร่างกายทันทีเมื่อคุณกลับเข้ามาภายในบ้าน พร้อมทั้งทิ้งหน้ากากอนามัยอย่างถูกต้อง หากเป็นในรูปแบบทางการแพทย์เลือกใช้ แต่ถ้าเป็นหน้ากากอนามัยแบบผ้าให้รีบถอดซัก และนำมาผึ่งแดดไว้ เพื่อฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ ที่เกาะมากับหน้ากากของคุณ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

วศ.อว. แนะวิธีเก็บอาหารสดอย่างง่าย อยู่ได้นาน ช่วงอยู่บ้านยุคโควิด-19 https://www.dss.go.th/index.php/dssnews/1419-86-2563 Accessed April 24, 2020

วศ.อว. แนะใช้ฟิล์มยืดหุ้มห่ออาหารช่วยเก็บรักษาอาหาร สดใหม่ ช่วงวิกฤติอยู่บ้านหยุดเชื้อโควิด 19  https://www.dss.go.th/index.php/dssnews/1421-88-2563 Accessed April 24, 2020

Food hygiene when shopping https://www.gov.uk/government/publications/guidance-for-consumers-on-coronavirus-covid-19-and-food/guidance-for-consumers-on-coronavirus-covid-19-and-food Accessed April 24, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

07/05/2020

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผู้เชี่ยวชาญเผย คำแนะนำถึงการป้องกันแก่ผู้สั่ง-ส่ง อาหารเดลิเวอรี่ ช่วงโควิด-19

รู้ก่อน เตรียมตัวทัน ของที่ควรกักตุน เพื่อรับมือในช่วงโรคระบาด Covid-19


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 07/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา