backup og meta

ว่ายน้ำในสระ ช่วงโควิด-19 ระบาด ทำได้ไหม ปลอดภัยหรือเปล่า

ว่ายน้ำในสระ ช่วงโควิด-19 ระบาด ทำได้ไหม ปลอดภัยหรือเปล่า

ช่วงนี้โรคติดเชื้อโควิด-19 จากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 ยังคงระบาดหนักในหลายพื้นที่ เราจึงไม่สามารถออกจากที่พักอาศัย ไม่ว่าจะเป็นบ้าน หรือคอนโดมีเนียม เพื่อไปทำกิจกรรมผ่อนคลายนอกบ้าน เช่น ช้อปปิ้ง กินอาหารในร้าน ได้อย่างที่เคย และตอนนี้เมืองไทยก็เข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว หลายคนก็อาจจะสงสัยว่า กิจกรรมคลายร้อนยอดฮิตอย่างการ ว่ายน้ำในสระ นั้น จะทำให้คุณเสี่ยงติดโควิด-19 หรือไม่ Hello คุณหมอ มีคำตอบในเรื่องนี้มาให้คุณแล้ว

ว่ายน้ำในสระ จะทำให้เป็นโรคติดเชื้อโควิด-19 ไหม

ผู้เชี่ยวชาญเผยว่า ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันชัดว่า เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 หรือโรคติดเชื้อโควิด-19 สามารถแพร่กระจายได้ผ่านน้ำ หรือการใช้สระว่ายน้ำได้

อีกทั้งสระว่ายน้ำในปัจจุบันยังมีระบบทำความสะอาดน้ำและฆ่าเชื้อด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การใช้คลอรีน ซึ่งปริมาณของคลอรีนที่ใส่ในน้ำนั้นก็มากพอที่จะฆ่าเชื้อโรคต่าง ๆ รวมถึงเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ ฉะนั้น หากคุณมั่นใจว่าสระว่ายน้ำนั้น ๆ มีการดูแลรักษา ทำความสะอาด และฆ่าเชื้อโรคตามมาตรฐาน คุณก็สามารถว่ายน้ำในสระได้อย่างปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคติดเชื้อโควิด-19

เคล็ดลับในการว่ายน้ำในสระ อย่างปลอดภัยไร้โควิด-19

  • ตรวจสอบความสะอาดของสระว่ายน้ำให้ดีก่อนลงสระ
  • หลีกเลี่ยงการว่ายน้ำในสระ หรือทำกิจกรรมรอบๆ สระน้ำ ในช่วงที่มีผู้คนแออัดเกินไป
  • หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ เช่น อุปกรณ์ว่ายน้ำ ผ้าเช็ดตัว ร่วมกับผู้อื่น หรือหากจำเป็นต้องใช้จริงๆ ควรทำความสะอาดด้วยน้ำและสบู่ให้ดีก่อนใช้งาน
  • อาบน้ำให้สะอาดก่อนลงว่ายน้ำในสระ เพราะการอาบน้ำจะช่วยชำระล้างสิ่งสกปรกหรือเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนอยู่บนตัวคุณได้
  • สำรวจตัวเองให้ดี หากเป็นแผลเปิด มีเลือดไหล คุณไม่ควรลงว่ายน้ำในสระ
  • อย่าปัสสาวะ อุจจาระ หรือปล่อยสารคัดหลั่ง เช่น น้ำมูก น้ำลาย ลงในสระว่ายน้ำ
  • หากคุณมีอาการท้องเสีย ท้องร่วง หรือรู้สึกไม่สบาย อย่าลงว่ายน้ำในสระเด็ดขาด
  • พยายามอย่ากลืนน้ำในสระ เพราะถึงแม้จะไม่มีเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 แต่การกลืนน้ำในสระว่ายน้ำเพียงหนึ่งอึก ก็อาจทำให้คุณได้รับเชื้อโรคที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย ท้องร่วงยาวนานกว่า 3 สัปดาห์
  • หลังว่ายน้ำในสระ ควรอาบน้ำให้สะอาด หรือหากคุณไม่มีเวลาอาบน้ำ อย่าลืมเช็ดตัวให้แห้งและเปลี่ยนใส่ชุดใหม่ที่สะอาด และล้างมือด้วยน้ำและสบู่อย่างน้อย 20 วินาที
  • ควรล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ในการว่ายน้ำ เช่น หมวกว่ายน้ำ แว่นตาว่ายน้ำ ชุดว่ายน้ำ รวมถึงผ้าเช็ดตัวที่คุณใช้ตอนว่ายน้ำด้วยน้ำร้อนอย่างน้อย 60 องศาเซลเซียส เพื่อฆ่าเชื้อโรค

ถึงแม้ตอนนี้หลายๆ สถานที่ รวมถึงสระว่ายน้ำบางแห่งจะปิดให้บริการ เพื่อลดการแพร่กระจายของโรคติดเชื้อโควิด-19 แต่หากสระว่ายน้ำกลับมาเปิดอีกครั้ง เคล็ดลับที่เรานำมาฝากเหล่านี้ก็จะช่วยให้คุณว่ายน้ำในสระ หรือทำกิจกรรมคลายร้อนรอบสระว่ายน้ำได้อย่างปลอดภัย และช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคติดเชื้อโควิด-19 ได้แน่นอน

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด 

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Water and COVID-19 FAQs. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/php/water.html. Accessed April 15, 2020

Can COVID-19 Spread Via Swimming Pools?. https://baptisthealth.net/baptist-health-news/can-covid-19-spread-via-swimming-pools/. Accessed April 15, 2020

Frequently Asked Questions. https://www.nea.gov.sg/our-services/public-cleanliness/environmental-cleaning-guidelines/frequently-asked-questions. Accessed April 15, 2020

How this growing pandemic may affect your swimming. https://www.usms.org/fitness-and-training/articles-and-videos/articles/coronavirus-and-swimming-what-you-need-to-know. Accessed April 15, 2020

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/faq.php. Accessed April 15, 2020

Is it possible to contract the coronavirus from swimming?. https://www.straitstimes.com/singapore/is-it-possible-to-contract-the-coronavirus-from-swimming. Accessed April 15, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/06/2021

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nopnan Ariyawongmanee


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไขข้อข้องใจ! เชื้อไวรัสโควิด-19 อาศัยอยู่บนพื้นผิว ได้นานแค่ไหน

เครียดเรื่องโรคโควิด-19 จนไม่เป็นอันทำอะไร ลองใช้ เทคนิคการผ่อนคลาย เหล่านี้สิ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 09/06/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา