backup og meta

หน้ากากพลาสติก (Face Shield) ตัวช่วยในการป้องกันตนเองจาก เชื้อโควิด-19

หน้ากากพลาสติก (Face Shield) ตัวช่วยในการป้องกันตนเองจาก เชื้อโควิด-19

บทความนี้ Hello คุณหมอ ขอพาคุณผู้อ่านมาทำความรู้จักกับอีกหนึ่งไอเทมที่กำลังเป็นที่นิยมในการสวมใส่เพื่อป้องกันเชื้อโควิด-19 (COVID-19) อย่าง หน้ากากพลาสติก หรือ เฟซชีลด์ (Face Shield) พร้อมด้วยข้อดีและข้อเสียของหน้ากากชนิดนี้ รวมถึงวิธีการทำ หน้ากากพลาสติก แบบง่าย ๆ ที่คุณเองก็สามารถทำได้ที่บ้าน ไม่ใช่แค่ประหยัด แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย

ทำความรู้จักกับหน้ากากพลาสติก หรือ เฟซชีลด์ (Face Shield) 

หน้ากากพลาสติก หรือ เฟซชีลด์ (Face Shield) คือ อุปกรณ์พลาสติกที่ใช้สำหรับป้องกันใบหน้า ตา จมูก และปาก จากสารคัดหลั่ง หยดน้ำ หรือละอองฝอย โดยส่วนใหญ่มักใช้ทางการแพทย์ เช่น ทันตกรรม  อย่างไรก็ตามการใช้หน้ากากพลาสติก หรือ เฟซชีลด์ (Face shield) เป็นเพียงอุปกรณ์เสริมเท่านั้น จะต้องใช้ร่วมกันกับอุปกรณ์ป้องกันตัวอื่นด้วย

ข้อดีและข้อเสีย ของหน้ากากพลาสติก

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังไม่มีข้อบ่งชี้แน่ชัดในการรักษา ทุกคนจึงต้องป้องกันตนเองด้วยการรักษาสุขอนามัยให้ดี สวมหน้ากากอนามัย และหมั่นล้างมือบ่อย ๆ และสำหรับบางคน อาจสวมหน้ากากพลาสติก หรือ เฟซชีลด์ (Face shield) ด้วย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19  เราลองมาดูกันดีกว่าค่ะว่า หน้ากากพลาสติก ที่กำลังเป็นกระแสนิยมอยู่ในขณะนี้นั้น มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง

ข้อดี

  • สะดวกสบาย สวมใส่ง่าย
  • สามารถป้องกันละอองฝอย หรือสารคัดหลัง จากการ จาม ไอ ได้ทั้งใบหน้า
  • หายใจสะดวก ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ
  • ทำความสะอาด ฆ่าเชื้อได้ง่าย
  • ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

ข้อเสีย

  • หากสวมใส่หน้ากากพลาสติกในที่ที่มีแสงแดดจัด ความร้อนจากแสงอาทิตย์อาจทำให้ระคายเคืองดวงตาได้
  • ขณะใส่หน้ากากพลาสติก ละอองน้ำหรือไอน้ำที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศอาจลดประสิทธิภาพในการมองเห็นของผู้สวมใส่

5 ขั้นตอนในการทำหน้ากากพลาสติก หรือ เฟซชีลด์ (Face Shield) แบบง่าย ๆ

ขั้นตอนในการทำหน้ากากพลาสติก หรือ เฟซชีลด์ สำหรับการใช้ป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ด้วยตัวเองง่าย ๆ มีขั้นตอน ดังต่อไปนี้

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม

  • แผ่นใสอะซิเตท (Acetate Sheets)
  • แถบพลาสติก
  • กรรไกร
  • แม็กเย็บกระดาษ (ลวดเย็บกระดาษ)
  • สายยางยืดโพลียูรีเทน (Polyurethane) ขนาดความกว้าง 1 นิ้ว

วิธีการทำหน้ากากพลาสติก

  1. ตัดแผ่นใสขนาดกว้าง 12 x 9 นิ้ว โดยให้ส่วนมุมโค้งเล็กน้อย
  2. ตัดแถบพลาสติกยาว 13 นิ้ว
  3. ใช้แม็กเย็บแถบพลาสติกติดกับแผ่นใสที่ตัดไว้แล้ว (เพื่อยึดด้านบนของหน้ากากกับยางยืดทำเป็นส่วนหัว)
  4. ตัดสายยางยืดโพลียูรีเทนยาว 6 นิ้ว
  5. นำสายยางมาเย็บติดกับขอบด้านบนแผ่นใสที่มีแถบพลาสติก

เพียงเท่านี้คุณก็จะได้หน้ากากพลาสติกสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวันแล้วค่ะ

ข้อแนะนำในการใช้หน้ากากพลาสติก: ควรหมั่นทำความสะอาดและฆ่าเชื้อหน้ากากอยู่เสมอ หากพบว่ามีการชำรุดของอุปกรณ์ ไม่ควรนำมาใช้ซ้ำ

อย่างไรก็ตาม การสวมหน้ากากพลาสติก หรือ เฟซชีลด์ เพียงอย่างเดียวไม่อาจช่วยป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ คุณควรใช้ควบคู่กับหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ หรือหน้ากากผ้าทุกครั้ง และรักษาสุขอนามัยให้ดี เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Face shields for infection control: A review. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5015006/. Accessed 27 April 2020.

Acetate Face Shield. https://www.michaels.com/diy-face-masks-and-shields/acetate-face-shield/acetate-face-shield. Accessed 27 April 2020.

Curved-crease origami face shields for infection control. https://journals.plos.org/plosone/article?id=10.1371/journal.pone.0245737. Accessed on May 31, 2021

Face shields for COVID-19 infection control. https://www.textiletoday.com.bd/face-shields-covid-19-infection-control/. Accessed on May 31, 2021

Guidance for Wearing Masks. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/prevent-getting-sick/cloth-face-cover-guidance.html. Accessed on May 31, 2021

Coronavirus Face Masks & Protection FAQs. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/coronavirus/coronavirus-face-masks-what-you-need-to-know. Accessed on May 31, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/05/2021

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดโควิด ทํายังไง ต้องไปโรงพยาบาลหรือไม่ กักตัวกี่วัน

ใส่หน้ากากอนามัยป้องกันไวรัสแล้ว มา ทิ้งหน้ากากอนามัย ให้ถูกวิธีกันเถอะ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 31/05/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา