ตามสถิติแล้ว ประชากรมากกว่าหนึ่งในสามต้องทนทุกข์จากโรคตับ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักตรวจไม่พบในระยะแรกเริ่ม จึงนำมาสู่ภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย ต่อไปนี้คือ สัญญาณโรคตับ ที่อาจจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเร่งด่วนที่สุด
สัญญาณโรคตับ มีอะไรบ้าง
หากป่วยเป็นโรคตับ ปกติแล้วร่างกายจะแสดงอาการที่มีลักษณะของเฉพาะของโรค อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยกว่า 2 ใน 3 กลับไม่แสดงอาการ หรือไม่เช่นนั้น ก็มักจะสับสนกับสภาวะอื่นๆ โดยทั่วไปแล้ว สัญญาณที่บอกถึงอาการของโรคตับ มีดังต่อไปนี้
ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น
เรื่องธรรมดาอย่างการมีลมหายใจมีกลิ่นเหม็น อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงโรคตับได้ โดยปกติแล้วถ้าตับทำงานได้ไม่ดี ปากก็จะมีกลิ่นเหม็น สภาวะนี้เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายผลิตแอมโมเนียมากเกินไปนั่นเอง
อ่อนเพลีย
ความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย คือสัญญาณของโรคตับ ผู้ป่วยโรคตับมักมีอาการอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยร่างกาย มีการเคลื่อนไหวที่เฉื่อยชา บ่อยครั้งที่อาการนี้มักจะทำให้สับสนกับอาการของโรคอื่นๆ
โรคระบบทางเดินอาหารผิดปกติ
ตับคืออวัยวะสำคัญในระบบการเผาผลาญอาหาร ถ้าตับเกิดความเสียหาย การย่อยอาหารก็จะยากขึ้น ผู้ป่วยโรคตับมักมีอาการของโรคระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ถ้าอาการหนัก ก็อาจมีสัญญาณของอุจจาระเหลือง และปัสสาวะกลายเป็นสีเทาหรือสีคล้ำ ในผู้ป่วยโรคตับระยะสุดท้าย อาจมีภาวะหลอดเลือดแตก ในหลอดอาหาร ลำไส้ และกระเพาะอาหาร ก่อให้เกิดการอาเจียนเหรือขับถ่ายเป็นเลือด
มีไข้อ่อนๆ ในช่วงบ่าย
การเป็นไข้ คือปฏิกิริยาตอบสนองทั่วไปของร่างกายต่อสิ่งรบกวนภายนอก เช่น สภาพอากาศ การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิอย่างกะทันหัน รวมถึงสิ่งรบกวนภายในร่างกาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การมีไข้อ่อนๆ โดยเฉพาะในช่วงบ่ายบ่อยผิดปกติ ก็เป็นสิ่งที่ชะล่าใจไม่ได้ ผู้ป่วยโรคตับอาจมีอาการเหนื่อยล้าและมีไข้อ่อนๆ ในช่วงบ่ายของทุกวัน เมื่อตัวโรคพัฒนาไปสู่ระดับรุนแรงมากขึ้น ผู้ป่วยจะเป็นไข้นานกว่าปกติ และในบางรายอาจอยู่ในภาวะโคม่าได้เป็นเวลาหลายวัน
ตัวเหลือง ตาเหลือง ดีซ่าน (Jaundice)
ภาวะดีซ่าน อาการตาเหลือง คือ ลักษณะของโรคตับที่เด่นชัดที่สุด การทำงานที่ผิดปกติของตับมักนำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงของสีผิว โดยจะเริ่มจากส่วนบนของร่างกายอย่าง เช่น ดวงตา ก่อนแพร่กระจายไปยังบริเวณผิวหนังทั้งหมด ผู้ป่วยโรคตับระดับรุนแรงจึงมีอาการตัวเหลืองและตาเหลืองอย่างชัดเจน
มีเลือดออกใต้ผิวหนัง
ผู้ป่วยโรคตับระยะสุดท้ายจะมีภาวะตกเลือด ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่เนื้อเยื่อตับถูกทำลาย ส่งผลต่อกลไกการแข็งตัวของเลือดในร่างกายของผู้ป่วย
วิธีป้องกันการเกิดโรคตับ
1. ในการพบทันตแพทย์หรือการฉีดยา ถ้าอุปกรณ์ทางการแพทย์ไม่สะอาด ก็มีความเป็นไปได้ที่เชื้อโรคจะแพร่มาสู่ตับ ดังนั้น จึงควรเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือคลินิกที่ได้มาตรฐานทางการแพทย์ รวมทั้งไม่ใช้บริการกำจัดขี้หู (earwax) หรือสักในร้านที่ไม่ได้มาตรฐาน
2. ฉีดวัคซีน วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี เป็นชนิดที่สามารถหลีกเลี่ยงการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและดีได้ผลมากที่สุด หลังจากฉีดวัคซีนป้องกัน โรคไวรัสตับอักเสบบี โดสแรกแล้ว ก็จะสามารถป้องกันได้นานราว 10 ถึง15 ปีเลยทีเดียว
3. เลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ หลีกเลี่ยงการนอนดึก เพื่อให้ตับได้มีเวลาพักผ่อนอย่างเต็มที่ รับประทานไขมันให้น้อย และรับประทานผักกับผลไม้ให้มากขึ้น เช่น ผักโขม กะหล่ำปลี เห็ด แคร์รอท มะเขือเทศ เมล่อน แตงกวา รวมถึงไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด จะเป็นการดีที่สุด
4. เพิ่มความแข็งแรงให้ร่างกายเป็นประจำ ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmr]